18 ก.ย. 2020 เวลา 15:30 • การเมือง
ท่านคิดอย่างไรกับแนวทางของธนาธร?
เห็นวันนี้คุณธนาธรเขาออกมาประกาศว่าเขาไม่เชื่อมั่นในรัฐสภาชุดนี้อีกต่อไปแล้ว และเสนอยืนยันว่าวิธีที่จะแสดงออกในการไม่เห็นด้วยนี้ก็คือ การออกมาชุมนุมประท้วง
ซึ่งก็หมายถึงการออกไปก่อม็อบที่จะจัดขึ้นครั้งใหญ่ในวันที่ 19 กันยายนที่จะถึงนี้นี่แหละ ที่คาดการณ์กันว่าอาจจะมีเยาวชน วัยรุ่นจำนวนมากออกมาร่วมวงกันชุมนุมประท้วงรัฐบาล
ในแง่หนึ่งก็ถูกของคุณธนาธร คือ ถ้าหากไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลหรือรัฐสภา แล้วอยากให้มีการยุบสภา ลาออก แล้วทำการปรับแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่
ก็ต้องพามวลชนลงถนนแล้วจัดขบวนม็อบกันอย่างสันติ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งให้เรียบร้อย และไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนคนกลุ่มอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วย
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ค่อยเข้าใจคือ เราจะหลีกเลี่ยงความรุนแรงกันได้อย่างไร ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีการก่อม็อบ ชุมนุมกัน มีการปราศรัยกันนั้น
ส่วนมากในหลายๆครั้งมักจะตามมาด้วยการเกิดความรุนแรงทั้งระดับเล็ก ระดับใหญ่อยู่ตลอดจากประสบการณ์ที่ผ่านๆมา จากอารมณ์ และบรรยากาศแวดล้อมที่มักพาไป
จนต้องลงเอยที่มีการปะทะกัน ไปจนถึงการก่อความรุนแรงใส่กันในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากผู้ชุมนุมมีความฮึกเหิม และอารมณ์อย่างเต็มที่จากผลของการปราศรัยโดยแกนนำ
อันนี้ไม่ได้ว่าแต่ที่ในไทยนะ ในต่างประเทศก็เป็นครับ อย่างในฮ่องกงสมัย Umbrella Movement แล้วก็การประท้วงกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนเมื่อปีก่อนเองก็เป็นตัวอย่างที่ดี
ที่การชุมนุมมันยกระดับจากการยืนฟังปราศรัยไปสู่การเข้าปะทะทำร้ายร่างกายกัน จากอุณหภูมิและความคึกภายในกลุ่มม็อบ แม้ว่าตัวแกนนำเองจะไม่ได้มีเจตนาดังว่า
แต่พอไปถึงจุดนั้นจริงๆแม้แต่แกนนำเองก็ควบคุมสถานการณ์อะไรไม่ได้อยู่ดี เนื่องจากอารมณ์คนฟังมันไปไกลแล้ว ครั้นจะห้ามก็คงไม่ฟังง่ายๆ เรื่องตรงนี้จึงเป็นเรื่องที่สมควรระมัดระวังเป็นอย่างสูง
1
ไม่ใช่เพราะผมกล่าวหาว่าม็อบจะก่อความรุนแรงนะครับ แต่การจะพูดเรื่องความรุนแรง และการประท้วงนี้มันค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่ควบคุมยากสักหน่อย ถ้าจะจัดม็อบกันวันเสาร์นี้ก็ควรจะวางมาตรการต่างๆให้รัดกุมให้ดี จะได้ไม่พลาดครับ
** เพราะเรื่องการไปชุมนุมนั้น โดยในทางปฏิบัติแล้ว มันก็ไม่ใช่วิธี หรือพฤติการณ์ที่จะสามารถหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้เด็ดขาดมากสักเท่าไรนัก การชุมนุมหลายๆครั้งก็มีความรุนแรงเกิดขึ้นให้เห็น
โฆษณา