20 ก.ย. 2020 เวลา 04:23 • ธุรกิจ
10 วิธีคิดของ HR ยุคใหม่เพื่อซื้อใจคนทำงาน
1. คนพันธุ์ X หรือ คนพันธุ์ Y
ไม่ใช่ Gen X หรือ Gen Y นะครับ
แต่เป็น Theory X / Theory Y ของ Douglas McGregor ที่เคยเสนอเอาไว้ตั้งแต่ยุค 1960’s
ผมเลือกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นข้อแรกเพราะมันเป็นตัวกำหนดทัศนคติของเรา และทัศนคติจะนำไปสู่การกระทำและผลลัพธ์ที่ตามมาทั้งหมด
เราคิดว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน?
X) เราไม่ชอบทำงานและอยากจะหลีกเลี่ยงงานให้ได้มากที่สุด
Y) เราเชื่อว่างานและมนุษย์เป็นของคู่กัน และการทำงานนั้นช่วยเติมเต็มเราได้
คนส่วนใหญ่จะบอกว่าตัวเองเป็นคนพันธุ์ Y
แต่ถ้าเราถามว่านโยบายของบริษัทที่เราคุ้นเคยนั้นมองพนักงานเป็นคนแบบไหน คำตอบก็คือพนักงานมักจะถูกมองว่าเป็นคนพันธุ์ X ที่พร้อมจะอู้งานและเอาเปรียบบริษัทได้ทุกเมื่อ
1
บริษัทส่วนใหญ่เชื่อใน Theory X และคิดว่าพนักงานต้องถูกขับเคลื่อนด้วยรางวัลและการลงโทษ ถ้าผู้บริหารใช้คำว่า “ผลตอบแทน”, “ควบคุม”, “กำกับ” “บังคับใช้” อยู่บ่อยๆ ก็มีแนวโน้มว่าองค์กรนั้นบริหารคนตาม Theory X
ส่วนบริษัทอีกกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งเป็นส่วนน้อย) เชื่อว่าพนักงานของตนเป็นคนพันธุ์ Y ที่มีศักดิ์ศรีของคนทำงาน
องค์กรหัวก้าวหน้าจึงไม่มีกฎเกณฑ์ยุ่บยั่บ เพราะเชื่อว่าพนักงานส่วนใหญ่มีวิจารณญาณที่ดีกันอยู่แล้ว เมื่อเราเชื่อใจพนักงาน พนักงานก็จะทำงานอย่างขยันขันแข็งและสร้างงานที่ตัวเองภาคภูมิใจโดยไม่จำเป็นต้องมีรางวัลมาล่อหรือบทลงโทษใดๆ มาขู่
1
2. ระลึกถึง The Golden Rule
“Do unto others as you would have them do unto you.” เป็นคำสอนที่มีอยู่ในทุกศาสนา
1
เราอยากให้เขาปฏิบัติกับเราอย่างไร เราก็ต้องปฏิบัติกับเขาอย่างนั้น
ในทางกลับกัน เราปฏิบัติกับเขาอย่างไร เขาก็จะปฏิบัติกับเราอย่างนั้น
ถ้าเราบังคับให้เขาต้องมาตอกบัตรให้ทัน 8 โมงเช้าทุกวัน ทั้งๆ ที่ฝนตกและรถติดจะแย่ ก็เป็นเรื่องปกติที่พนักงานจะเด้งจากโต๊ะทันทีตอน 5 โมงเย็น
ถ้าเราตำหนิเขาทุกครั้งที่ทำผิดพลาด ก็อย่าหวังว่าพนักงานจะกล้าริเริ่มอะไรใหม่ๆ
ถ้าเราขอให้พนักงานช่วยกันประหยัด แต่ผู้บริหารยังอู้ฟู่ คิดหรือว่าพนักงานจะอยากช่วย
อยากให้พนักงานมีสปิริตกับองค์กร องค์กรต้องมีสปิริตกับเขาก่อน
อย่าคาดหวังให้เขาทำในสิ่งที่เราเองก็ยังทำไม่ได
3. อย่าทำตัวเหมือนเจ้าหน้าที่สถานฑูต(บางแห่ง)
หลายคนที่เคยไปขอวีซ่ากับสถานฑูตคงเคยเจอเจ้าหน้าที่พูดจาไม่ดีใส่ ซึ่งต้นเหตุอาจเกิดจากความรู้สึกของคนที่อยู่ในตำแหน่งนี้
ความรู้สึกที่ว่า “ยังไงเขาก็ต้องง้อเรา”
เพราะอาชีพนี้ไม่มีคู่แข่ง ถ้ามีคนมาขอวีซ่ากับเราแล้วเขาไม่แฮปปี้ เขาจะไปขอกับสถานฑูตประเทศอื่นก็ไม่ได้ มันเลยเกิดความถือดีขึ้นมาว่าเราจะพูดจากับเขายังไงก็ได้ มันก็เลยเผลอตัวเผลอปาก พอเผลอมากๆ ก็ติดเป็นนิสัย
คนที่ทำงานสาย HR ก็อาจเกิดความรู้สึกนี้ได้เช่นกัน รู้สึกว่ายังไงพนักงานก็ต้องง้อเรา ถ้าอยากได้งานที่นี่ก็ต้องคุยกับเรา ถ้าอยากได้จดหมายรับรองการทำงานก็ต้องมาขอกับเราเท่านั้น ถึงเราพูดจาไม่ดีเขาก็คงไม่กล้าไปฟ้องใคร ความรู้สึกถือดีหรือไม่แคร์จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ดังนั้น HR ต้องระวังด้านมืดตรงนี้ให้จงหนัก
4. คุยกับ CEO ให้บ่อย
จะได้รู้ว่า CEO ต้องการอะไร อยากขับเคลื่อนองค์กรไปทางไหน core values และพฤติกรรมที่อยากเห็นคืออะไรบ้าง นโยบายและกิจกรรมต่างๆ ที่ HR ออกมาจะได้เกื้อหนุนให้สิ่งที่อยู่ในหัวของซีอีโอเกิดขึ้นจริง ซึ่งมันเริ่มกันตั้งแต่ Employer Branding หรือการสร้างภาพลักษณ์ในตลาดที่ดึงดูดคนที่เหมาะกับองค์กรให้มาสมัครงานกับเราเลยทีเดียว
อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือเราต้องเป็น HR ที่ CEO ไว้ใจในระดับหนึ่งด้วย ไม่อย่างนั้นสิ่งที่เราเสนอไปก็จะโดนปัดตกหรือถูก overrule ซึ่งจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะ HR นั้น(ควรจะ)รู้จักพนักงานดีกว่า CEO
5. คุยกับพนักงานให้บ่อยยิ่งกว่า
ผมเชื่อว่า HR รุ่นใหม่ต้องหน้าตารับแขกและเป็นคนเฟรนด์ลี่ระดับหนึ่ง ยิ่งจำหน้าและจำชื่อพนักงานได้เยอะๆ ยิ่งดี
HR รุ่นใหม่ต้องคุยกับพนักงานทุกระดับ จะได้รู้ว่าพนักงานกำลังทำอะไร คิดอะไร คุยอะไรกันอยู่ เราจะได้เป็น “คนวงใน” ไม่ใช่คนวงนอกที่อยู่คนละฝั่งกับพนักงาน เมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้มาก็นำไปส่งต่อให้ผู้บริหารเพื่อปรับปรุงมิติต่างๆ ในองค์กรได้
อ้อ แล้วก็อย่าหวังพึ่ง Employee Engagement Survey มากจนเกินไป เพราะฟีดแบ็คที่ได้กลับมามักจะเป็นแบบ anonymous คือไม่ได้บอกว่าใครตอบ ซึ่งเอาไป action จริงไม่ค่อยได้ หรือถึงทำออกมาก็ไม่อาจแน่ใจได้เลยว่าเราแก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือกำลังเล่นเกมกันอยู่
เทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์ แต่ไม่อาจทดแทนการสื่อสารกันแบบเห็นหน้าและพูดคุยแบบตัวเป็นๆ ได้แน่นอน นั่งอยู่ห่างกันแค่ไม่กี่เมตรทำไมต้องส่งเมลถามว่ารู้สึกยังไง เดินไปคุยเถอะ แล้วจะได้ของดี
พรุ่งนี้ผมจะมาต่อข้อ 6-10 นะครับ
Brand Inside ซึ่งอยู่ในเครือของ LINE MAN Wongnai ที่ผมทำงานอยู่ กำลังจะจัดงาน Brand Inside Forum 2020: New Workforce เพื่อตอบ 3 คำถามสำคัญ
1. องค์กรสมัยใหม่ควรเป็นแบบไหน
2. ผู้นำยุคใหม่ควรเป็นอย่างไร
3. พนักงานต้องต้องมีทักษะอะไรเพื่อความก้าวหน้าท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอันรุนแรงนี้
มี speakers เจ๋งๆ หลายท่าน เช่น พี่โจ้ ธนา เธียรอัจฉริยะ CMO ของ SCB, คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม, Chief Human Resources Officer จาก AIS และคุณชารัด เมห์โรทรา Chief Executive Officer จาก DTAC
ส่วนตัวผมเองก็จะไปเป็น moderator ในช่วง panel discussion ด้วย
งานจะจัดวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 9.00-15.30 ที่สามย่านมิตรทาวน์
ซื้อบัตรได้ที่ Eventpop บัตรราคาใบละ 1500 บาทครับ
ผมมีบัตรฟรีมาแจก 4 ใบ และโค้ดส่วนลด 500 บาทอีก 10 โค้ดครับ
ใครอยากร่วมลุ้นรางวัล เชิญตอบคำถามดังต่อไปนี้ในช่องคอมเม้นท์
“ถ้าเราได้พรวิเศษที่จะเปลี่ยนสิ่งหนึ่งในองค์กรของเราได้ทันที เราอยากจะเปลี่ยนเรื่องอะไร?”
—–
Photo by bongkarn thanyakij from Pexels
โฆษณา