23 ก.ย. 2020 เวลา 00:16 • สุขภาพ
ไทรอยด์ คืออะไร?
ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ ลักษณะคล้ายปีกของผีเสื้อ โดยทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ และหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปออกฤทธิ์ทำหน้าที่ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมองและต่อมไฮโปธาลามัส
สาเหตุของไทรอยด์?
+ ไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมาก
+ ไทรอยด์อักเสบจึงปล่อยฮอร์โมนที่เก็บไว้ออกมามาก
+ ได้รับฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินขนาดจากยา หรือผสมในอาหารเสริมบางชนิด
+ การกินยาบางชนิด
+ ภาวะแพ้ท้องรุนแรงหรือเนื้องอกรังไข่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์มาก
+ เนื้องอกต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ แต่พบได้น้อยมาก
#สาระจี๊ดจี๊ด
หากมีความผิดปกติของไทรอยด์ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติตามมา
1
ไทรอยด์ (click 2 ครั้ง เพื่อขยาย🔍)
ประเภทของโรคของไทรอยด์
1. กลุ่มโรคต่อมไทรอยด์โตแบบเป็นพิษ หรือ ทำงานมากเกินไป
ปัจจุบันเชื่อว่า ร่างกายมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารแอนติบอดีต่อตนเอง ซึ่งสารนี้ก็ไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ก็จะสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายทำงานมากขึ้นและเร็วขึ้น กระบวนการเมตาบอลิซึมสูงขึ้น
2. โรคต่อมไทรอยด์ ทำงานน้อยเกินไป
1
คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดมีค่าต่ำกว่าปกติ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากได้รับการรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนหรือการผ่าตัดที่ต่อมไทรอยด์มาก่อน ส่วนสาเหตุส่วนน้อยเกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง
3. โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ปรากฏอาการ
1
มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ทำงานน้อยเกินไปและชนิดที่ทำงานมากเกินไป โดยที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น การวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจเลือดเท่านั้น ซึ่งมักพบเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี
4. โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ
ต่อมไทรอยด์อักเสบกึ่งเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ต่อมไทรอยด์โต คลำที่ต่อมไทรอยด์จะรู้สึกเจ็บ โรคนี้สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาสเตียรอยด์ ต่อมไทรอยด์จะยุบลงภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยต้องติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง มีสาเหตุจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการคอโต กดไม่เจ็บ หรือมีประวัติคอโตแล้วยุบไปแล้วโดยไม่เคยรับการรักษามาก่อน
5. โรคต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ
1
คือการที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่การสร้างฮอร์โมนยังปกติ มีทั้งชนิด ต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียวและ ต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน(โดยทั้งสองชนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องตรวจด้วย
6. โรคมะเร็งไทรอยด์
1
มีทั้งชนิดที่มีความรุนแรงน้อยซึ่งรักษาหายขาดได้และชนิดรุนแรงมากจนถึงแก่ชีวิตได้ภายในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ยังมีชนิดที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งชนิดหลังนี้มักมีประวัติคนในครอบครัว และเกิดในคนอายุน้อยวิธีการดูดเซลล์จากก้อนเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นจึงพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
อาการของไทรอยด์?
1.ไฮโปไทรอยด์ คือ ต่อมไทรอยด์ทำงาน น้อยผิดปกติ
1
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นรวดเร็ว
- ขี้หนาว
- ง่วงนอน
- อ่อนเพลีย
- ผมร่วง
- ผิวแห้ง
- ซึมเศร้า
- เป็นตะคริวง่าย
- หัวใจเต้นช้า
- ท้องผูก
- ใบหน้า ตา และตัวบวม
- ต่อมไทรอยด์โต
2.ไฮเปอร์ไทรอยด์ คือ ต่อมไทรอยด์ทำงาน มากผิดปกติ
- น้ำหนักลดลง
- มือสั่น
- ขี้ร้อน
- แขนขาไม่มีแรง
- เหงื่อออกมาก
- ตาโปน
- เหนื่อย
- ต่อมไทรอยด์โต
- ผิวด่างขาว
- ความจำไม่ดี
- กระสับกระส่าย
- ขาดสมาธิ
- ผมร่วง
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ท้องเสีย
- ประจำเดือนน้อยลง
วิธีรักษาต่อมไทรอยด์
1. ยาต้านไทรอยด์การรักษาด้วยยาต้านไทรอยด์
จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายของผู้ป่วย ทั้งนี้ผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบได้ก็คือ อาการแพ้ยาที่อาจทำให้เกิดผื่น มีไข้ และปวดตามข้อ ผลข้างเคียงรุนแรงคือ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
2. กลืนแร่รังสีไอโอดีน
เป็นการรักษาด้วยการรับประทานสารรังสีไอโอดีน ซึ่งเป็นสารที่มีความปลอดภัย โดยสารชนิดนี้จะถูกดูดซึมโดยต่อมไทรอยด์ และทำลายเนื้อต่อม ทำให้ต่อมไทรอยด์หดตัวลงและอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 3-6 เดือน ผลข้างเคียงคือ ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อยลงจนเกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ
3. การผ่าตัดต่อมไทรอยด์
การผ่าตัดก็จะช่วยรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษได้ แต่เกิดในกรณีที่น้อยมาก โดยในการผ่าตัด แพทย์จะนำต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ออกเพื่อรักษาอาการ แต่ความเสี่ยงในการผ่าตัดก็คืออาจทำลายเส้นเสียงและต่อมพาราไทรอยด์ได้ และหลังจากทำการผ่าตัดแล้ว ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาเพื่อรักษาระดับฮอร์โมนไปตลอดชีวิต
4. ยาต้านเบต้า
1
ยาต้านเบต้าจะช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลง บรรเทาอาการใจสั่น และอาการวิตกกลังวล และมักใช้กับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียง เช่น ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดหัว ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องผูก ท้องเสีย หรือวิงเวียนศีรษะ
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
#สาระจี๊ดจี๊ด
สามารถมีบุตรได้กรณีเป็นโรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ แต่ถ้าหากอยู่ในกรณีเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษยาที่รักษาสามารถผ่านรกไปสู่ลูกได้ และขณะที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้นจะเกิดผลเสียกับการตั้งครรภ์ได้ เช่น ครรภ์เป็นพิษ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา