26 ก.ย. 2020 เวลา 05:30 • ธุรกิจ
4 เรื่องที่ผู้นำควรปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤติ
ต้องยอมรับว่า จากสถานการณ์วิกฤติ COVID-19 ทำให้การดำเนินชีวิตในเวลานี้ของทุกคนยุ่งเหยิงไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ครอบครัว กิจกรรม หรืองานต่างๆ ก็ต้องถูกเลื่อนออกไป แม้ว่าเราจะยังจัดการทุกอย่างให้ลงตัวไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าสถานการณ์นี้ก็ได้ให้แง่คิดบางอย่างแก่เราเช่นกัน
บ่อยครั้งที่เราไม่ได้ตระหนักหรือเคารพถึงสิ่งที่เราเป็น เส้นทางสู่ความสำเร็จ มักถูกบดบังด้วยความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจเพื่อให้สามารถเดินต่อไปถึงจุดหมาย
วิกฤตินี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราอย่างกระทันหัน ไม่น่าเชื่อว่าเรากลายเป็นคนวิตกกังวลและหลายคนที่ถึงขั้นตื่นตระหนก
ชัดเจนว่า วิกฤตินี้ส่งผลต่อเราในหลายระดับและถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญสำหรับผู้นำทุกคน ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าพวกเขาคนเป็นอย่างไร พวกเขาตัดสินใจที่จะคว้าโอกาสนี้เพื่อจะช่วยเหลือคนอื่นๆหรือไม่
เราจึงถือโอกาสนี้ ทบทวนและนำเสนอ 4 เรื่องที่ผู้นำควรปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤติ
1.จงเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา: ปลดปล่อยศักยภาพเฉพาะตัวของคุณออกมา
คุณคิดว่าครั้งสุดท้ายที่คุณผลักดันและกระตุ้นทีมงานของคุณซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ที่ปรึกษา คือเมื่อไหร่? คุณรู้สึกอย่างไรที่มีส่วนในผลลัพธ์ที่สำคัญนั้น? เหตุการณ์อะไรที่ทำให้คุณรู้สึกได้ว่าความทุ่มเทของคุณนั้นมีค่าจริงๆ?
ศักยภาพเฉพาะตัวของคุณสามารถประเมินได้โดยการตอบ 4 คำถามต่อไปนี้ ซึ่ง 4 คำถามนี้ ถูกนำไปใช้ถามผู้บริหารบางส่วนมาแล้ว และได้คำตอบที่อาจจะเป็นแนวทางให้คุณได้ดังนี้
🔸️คำถามที่ 1 อะไรคือวิธีการคิดของคุณที่ไม่เหมือนใคร?
เช่น ความเรียบง่ายแต่เด็ดขาด
🔸️คำถามที่ 2 อะไรที่ทำให้คุณโดดเด่นกว่าคนอื่นๆในฐานะผู้นำ?
เช่น มีนิสัยกระหายใคร่รู้ ชอบเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ
🔸️คำถามที่ 3 อะไรคือสิ่งที่ผู้อื่นคาดหวังจากการมีคุณเป็นผู้นำ?
การแก้ปัญหาอย่างตรงจุด
🔸️คำถามที่ 4 วิธีการแก้ปัญหาแบบไหนที่คุณทำบ่อยๆ?
การทำให้ปัญหากระจ่างแจ้ง ชัดเจนเข้าใจตรงกัน
อย่าคิดว่าผู้นำทุกคนพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา น่าเสียดายที่ผู้นำหลายคนยังไม่รู้ตัว แต่พนักงานต่างหากที่รู้ดี
2 .จงเป็นผู้ที่มีมนุษยธรรม: แบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวของคุณ
ทุกคนล้วนอยากรู้ว่าผู้นำของพวกเขานั้นคิดอะไรและรู้สึกอย่างไร ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ และเช่นเดียวกัน พนักงานต่างก็อยากรู้ว่าหัวหน้าของพวกเขาจะรับมือและจัดการกับวิกฤตินี้อย่างไร นี่คือช่วงเวลาที่ผู้นำจะเปิดใจให้เขารับรู้ บอกเล่าแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวกับพวกเขา
เมื่อผู้นำได้แบ่งปันเรื่องราวส่วนตัวแก่พนักงาน พวกเขาจะมีมุมมองและเรียนรู้ว่าผู้นำของพวกเขาก็เป็นเหมือนมนุษย์คนหนึ่งซึ่งเป็นความสัมพันธ์พิเศษแบบคนธรรมดาสามัญไม่ใช่เจ้านายกับลูกน้อง
และในทางกลับกันอย่าคิดว่าผู้นำจะไม่สามารถช่วยเหลือพนักงานในเรื่องส่วนตัวได้ พนักงานควรคาดหวังสิ่งนี้กับผู้นำได้ด้วย ไม่อย่างนั้น คุณก็ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำ ซึ่งน่าเสียดายที่วิกฤติครั้งนี้เผยให้เห็นว่าผู้นำหลายคนที่ไม่สามารถเป็นผู้นำต่อไปได้
3. จงมีความเห็นอกเห็นใจ: ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการ
พนักงานทุกคนต่างเผชิญหน้ากับวิกฤติที่แตกต่างกันและรับมือกับมันด้วยเงื่อนไขที่แต่ละคนมี ในฐานะผู้นำ คุณอาจยังไม่รู้จักและยังไม่สนิทสนมกับพนักงานดีพอ สิ่งทีีควรทำก็คือ จงแสดงความเห็นอกเห็นใจกับพนักงานที่กำลังรับมือกับวิกฤติเหล่านั้นแม้จะเป็นวิธีที่คุณอาจไม่เห็นด้วยหรือมองว่ายากที่จะเข้าใจก็ตาม
ในช่วงวิกฤตนี้มันยากที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเหตุการณ์นี้ก็สามารถทำให้หลายคนเดินหลงทิศหลงทางไปจากสิ่งที่ควรจะเป็นได้ การสร้างความเห็นอกเห็นใจก็คือการที่คุณเปิดใจและเคารพมุมมองที่แตกต่างของพนักงานที่คุณต้องการช่วยเหลือ
ความเห็นอกเห็นใจเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีดังนี้
🔸️การเป็นผู้ฟังที่ดี (ไม่ต้องโต้ตอบก็ได้ แต่ต้องเอาใจใส่)
🔸️การให้กำลังใจ (โดยการปลอบประโลมและแสดงถึงความเข้าใจ)
🔸️การเสนอมุมมอง (ในจังหวะที่เหมาะสม)
🔸️ค้นหาความคิดที่เหมือนกัน แต่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมค่อยบอกถึงความแตกต่าง
🔸️ความเห็นอกเห็นใจจะช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณกับพนักงานค่อยๆเติบโตและพัฒนาไปด้วยกัน
4.เรียนรู้และพัฒนา: ให้สถานการณ์วิกฤติช่วยยกระดับความพร้อมของคุณสำหรับอนาคตที่จะเกิดขึ้น
Scott Lacy ผู้ซึ่งเป็นนักมนุษยวิทยาได้ให้ความกระจ่างด้วยความจริงที่ว่า
“ความสำคัญของสถานการณ์วิกฤติมีผลทำให้เราตกอยู่ในสภาวะสับสน เพราะว่าเราไม่อาจพึ่งมาตรฐานเก่าๆและสิ่งที่เคยทำให้เราสะดวกสบายได้ และมันจะไม่มีความหมายอีกต่อไป
สิ่งที่จะเข้ามาใหม่กำลังรอเราอยู่ มาตรฐานเดิมๆและความสะดวกสบายเหล่านั้นอาจจะไม่มีทางหวนกลับมาแล้ว เราต้องทำจิตใจให้สดชื่นและเติมเต็มจิตใจเราให้พร้อมปรับตัวกับวิธีคิดใหม่ๆ เราต้องใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาเหล่านี้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต”
🔴ว่าแต่ความพร้อมนั้นเป็นอย่างไร?
จะว่าไปช่วงเวลานี้คงไม่มีใครตอบได้ถูกต้อง แต่การมีวิธีคิดที่ถูกต้องจะทำให้ผู้นำคิดได้ว่าวิกฤตินี้มีผลกระทบ (หรือจะมีผลกระทบ) ต่อทีมงาน เพื่อนร่วมงาน องค์กร หรือแม้แต่ตัวเขาเองอย่างไร
มาตรฐานเก่าแบบใดบ้างที่ยังนำมาใช้อยู่และขณะนี้มันมีการอัพเดตมาแล้วกี่ครั้ง? หรือถ้าคุณยังเลือกใช้วิธีนั้น คุณมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือพวกเขาในเรื่องส่วนตัวที่นอกเหนือไปจากนั้นอีกหรือไม่? หรือคิดว่าคุณแค่จำเป็นต้อง “มีส่วนช่วยเหลือ” พวกเขาเท่านั้น?
บันทึกการตัดสินใจที่ดีครั้งนี้ของคุณไว้ ตระหนักถึงผลลัพธ์จากการตัดสินใจของคุณและอะไรที่คุณควรทำต่อไปเพื่อพัฒนาการตัดสินและผลลัพธ์ที่จะตามมาด้วย
เช่นเดียวกัน คุณก็ควรบันทึกการตัดสินใจแย่ๆของคุณด้วย ว่าตอนที่ตัดสินใจทำ คุณคิดอะไร? คุณถูกทำให้สับสนหรือเปล่า? คุณเตรียมตัวมาดีแล้วใช่หรือไม่? คุณตัดสินใจโดยที่คุณอาจยังไม่พร้อมหรือไม่? มีกี่คนที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจแย่ๆของคุณ? ใครบ้างที่ได้ประโยชน์? คุณมีความเห็นแก่ตัวหรือเปล่า? คุณเข้าใจอย่างถ่องแท้ในทุกๆแง่มุมและนัยยะของสิ่งที่คุณตัดสินใจแล้วหรือไม่? ถ้าคุณไตร่ตรองแล้ว ุคณต้องตอบให้ได้ว่า อะไรที่คุณจะทำเพื่อให้แตกต่างและทำไมถึงทำเช่นนั้น?
นำมุมมองในเรื่องของ 4 วิธีนี้ไปคิด อย่างน้อยจะช่วยให้ผู้นำจับหลักได้และช่วยในการสร้างเสถียรภาพสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีขึ้นอีกด้วย
ติดตามความรู้ดีๆ จาก SHiFT Your Future ในช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่:
LINE: @shiftyourfuture หรือ https://bit.ly/3jgkLnC
โฆษณา