27 ก.ย. 2020 เวลา 02:48 • สุขภาพ
เคยมั้ย! หลุดสบถคำหยาบ
มันอาจไม่ใช่นิสัย แต่มันเป็นโรค!
โรคทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome) คืออะไร?
โรคทูเร็ตต์ อยู่ในกลุ่มโรคเดียวกับโรคติกส์ (Tic Disorder) อ่านออกเสียง “ติ๊ก”
อาการ Tics เกิดจากการที่สมองสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ (Motor Tics) โดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น กระพริบตา อ้าปาก ยักไหล่หรือแขนขากระตุก เป็นต้น หรืออาจมีการเปล่งเสียงขึ้น (Vocal Tics) จากลำคอหรือจมูก โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจเช่น ไอ กระเอม สูดจมูก ส่งเสียงในลำคอ บางครั้งอาจมีพูดซ้ำ หรือสบถเป็นคำหยาบได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการทั้งสองอย่างเลย คือ Motor Tics และ Vocal Tics จึงเรียกว่า โรคทูเร็ตต์ (Tourette)
#สาระจี๊ดจี๊ด
อาการเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก อายุตั้งแต่10ขวบ
พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง (อัตรา 3-4:1)
Tourette
โรคทูเร็ตต์เกิดจากสาเหตุใด?
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงแน่ชัดของโรค แต่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการทำงานของสมองอย่างหนึ่งที่มีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันดังนี้...
1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
หากมีประวัติโรคนี้ในครอบครัว จะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคมากขึ้น
2. ปัจจัยทางการทำงานของสมอง
พบว่ามีความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทบางตัว คือโดปามีน (Dopamine)
3. ปัจจัยทางด้านจิตใจ
เช่น ความเครียดทางด้านจิตใจ ทำให้อาการเป็นหนักขึ้น
อาการของกลุ่มอาการทูเร็ตต์
1. อาการกระตุกของกล้ามเนื้อ (Motor Tics)
+ ชนิดไม่ซับซ้อน
มักจะพบครั้งแรกบริเวณใบหน้า เช่น ตาขยิบ หน้าขมุบขมิบ เป็นต้น
+ ชนิดซับซ้อน
เช่น สัมผัสหรือดมสิ่งของ ทำท่าทางไม่สุภาพ เลียนแบบท่าทางผู้อื่น ดัด หรือบิดตัว กระโดด เป็นต้น
2. อาการทำเสียงออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ (Vocal Tics)
+ ชนิดไม่ซับซ้อน
เช่น เสียงคราง เสียงกระแอมไอ เสียงเห่า อาการสะอึก เป็นต้น
+ ชนิดซับซ้อน
เช่น พูดซ้ำ ๆ พูดทวนคำผู้อื่น โพล่งคำหยาบคาย เป็นต้น
การรักษากลุ่มอาการทูเร็ตต์
1. การใช้ยา
+ แพทย์อาจใช้ยารักษาในกลุ่มทูเร็ตที่มีโรคอื่นร่วมเช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ
+ การฉีดโบทอกซ์ เพื่อช่วยควบคุมอาการกล้ามเนื้อกระตุกและอาการทำเสียงโดยไม่ได้ตั้งใจในผู้ป่วยที่มีอาการชนิดไม่ซับซ้อน
2. การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด
การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด ที่เรียกว่า habit reversal training โดยสอนให้ผู้ป่วยรู้ทันอาการขณะเกิด tic (awareness) และฝึกควบคุมอาการด้วยการผ่อนคลาย(relaxation) และทำพฤติกรรมที่ไปด้านการเป็น ticเช่น ถ้ามีอาการคือกระพริบตาถี่ ๆ ก็ให้รู้ทันอาการผ่อนคลาย แล้วทอดสายตาไปไกล ๆ เพื่อให้ผ่อนคลาย เป็นต้น
3.การทำจิตบำบัด
การทำจิตบำบัดตัวต่อตัวกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหรือนักจิตวิทยา เพื่อบรรเทาอาการของโรคสมาธิสั้น โรคย้ำคิดย้ำทำ และโรควิตกกังวล ซึ่งเป็นอาการที่เกิดร่วมกับ Tourette Syndrome โดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาการช่วยเหลือด้านจิตใจ ลดภาวะเครียด และส่งเสริมให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ช่วยเหลือให้มีการปรับตัว และแก้ปัญหาในทางที่เหมาะสม เช่น เมื่อถูกเพื่อนล้อเลี่ยน สนับสนุนให้ได้เรียนในโรงเรียนตามความสามารถของเด็ก โดยไม่ต้องกังวลกับอาการมากเกินไป
4. การผ่าตัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยรับการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก ซึ่งเป็นการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าลงในสมอง เพื่อกระตุ้นไฟฟ้าไปยังส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังต้องการการตรวจสอบเพิ่มเติมว่าเป็นการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยโรค Tourette Syndrome จริงหรือไม่ จึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้
ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการทูเร็ตต์
ผู้ป่วยโรค Tourette Syndrome ส่วนมากมักมีอาการดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น และอาการอาจหายไปได้เองเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
โดยโรคนี้ไม่ส่งผลต่อสติปัญญาและอายุขัยของผู้ป่วย แต่มักมีผลต่อพฤติกรรมและการเข้าสังคม ซึ่งอาจทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีได้
ทั้งนี้...
แม้อาการจะลดลงไปตามอายุที่มากขึ้น แต่หากยังเกิดอาการ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา