28 ก.ย. 2020 เวลา 15:05 • ไลฟ์สไตล์
เมื่อพรานทิว ชวนไปล่าปูนา
ฤดูฝน ช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน ของทุกปี ป็นช่วงที่ต้นข้าวเริ่มแตกกอ ออกรวงให้ได้ชมกัน ทุ่งนาทั้งผืนจะเป็นสีเขียวสดใส ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นสีเหลืองอร่ามในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
ในนาข้าวฤดูนี้ จะมีปูนา กับหอยเชอรี่ ที่เป็นศัตรูต่อต้นข้าว แต่ก็เป็นอาหารอันโอชะ ที่จะหาได้ตามธรรมชาติเฉพาะช่วงนี้ของปีเท่านั้น
แต่หอยเชอรี่ ที่เคยระบาดหนักเมื่อหลายปีก่อน เริ่มหายไปจากหมู่บ้านแล้ว เพราะสู้น้ำจิ้มสามรสไม่ค่อยไหว
ปูนาก็เช่นกัน ปีหลังๆมานี่ เริ่มหาได้ยากขึ้น ราคาตามท้องตลาดก็สูงขึ้น ตามหลักเศรษฐศาสตร์ พอราคาสูง คนก็เริ่มหาหนักขึ้น บางพื้นที่จนแทบจะสูญพันธุ์เลยก็มี
แต่สาเหตุหลัก ที่ปูนา ไม่ค่อยจะเพียงพอต่อปากท้องของชาวบ้านก็เพราะ "ยาฆ่าหญ้า" กับ "ยาฆ่าหอยฆ่าปูนี่แหละ" บางทีเล่นเอาเราแทบไม่กล้าจะกินปูนาเลยเหมือนกัน ถ้าไม่รู้ว่ามาจากนาของใคร ปีนี้ถึงขนาดมีข่าวว่าพบสารพาราควอตในน้ำปูด้วยแหละ น่ากลัวชิบ
(อันนี้ขอบ่น) พูดถึงเรื่องใช้ยาฆ่าหญ้าก็แอบแปลกใจ ในตรรกะของชาวบ้าน ตัวเองใช้ยาจนปูตาย หายไปหมด ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ทั้งๆที่รู้สาเหตุ ว่าปูหายไปเพราะอะไร พอถึงหน้าเก็บปู ก็บ่นอีก ว่าปูหายไป ปูมีไม่พอทำน้ำปู ก็ทำตัวเองเนาะ มนุษย์เรา
เอ้า มาเข้าเรื่องกันเถอะ
พูดถึงฤดูเก็บปู ไอ้เจ้าทิว หลานชายของผม มันก็ไม่ปล่อยให้เสียโอกาส พอถึงวันหยุดก็คว้าข้อง (ภาชนะใส่สัตว์ ของทางภาคเหนือ) มัดติดเอว สตาร์ทรถซาเล้ง ไปทุ่งนาทันที
แต่ก็ใช่ว่าจะไปเก็บสุ่มสี่สุ่มห้า เราเลือกนาที่ไม่พ่นยาฆ่าหญ้า และไม่ใช้ยาฆ่าหอยฆ่าปู เพื่อความสบายใจ ในการบริโภค
ส่วนบรรยากาศจะเป็นยังไง ให้วิดีโอเล่าเรื่องดีกว่าเนาะครับ 😁
จิ้มเข้าไปชมกันได้เล้ยยยยยยยยย แนะนำติชม ได้ครับผม 😊😊
โฆษณา