2 ต.ค. 2020 เวลา 23:02 • ธุรกิจ
Online Course ต่างๆ ใช้หลักการตลาดเชิงจิตวิทยากับผู้เรียนอย่างไร ?
เมื่อความกระหายในการเรียนรู้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขายของ ยังไงนะ ?
มารู้จัก Online Course กันก่อน
เอาง่ายๆเลยก็คือการที่เพื่อนๆเลือกซื้อคอร์สเรียนออนไลน์อย่าง Coursera, Udemy
หรือเพื่อนๆจะเลือกเรียนเป็นแบบบุฟเฟ่ต์อย่าง Linkedin Learning หรือพวก Duolingo ก็ได้นะ
ประเภทของการเรียนรู้มีหลากหลายมากๆเลย
- การใช้โปรแกรมซอฟแวร์ต่างๆ อย่าง Excel, Powerpoint
- การขาย การตลาด จิตวิทยาต่างๆ
- การเงินการธนาคาร การลงทุน
- แม้กระทั่งสอนดนตรี อย่างเล่นเปียโน แต่งเพลงเนี่ย ก็มีเต็มเลย
แต่ว่า......เจ้าสื่อการเรียนออนไลน์แบบนี้เนี่ย บอกตรงๆว่าค่อนข้างแพงอยู่เลยละ
ถ้าเป็นจ่ายแบบเหมาเรียนรายเดือนเนี่ย ขั้นต่ำก็ 900+ ต่อเดือนแล้วจ้า
หรือว่าถ้าซื้อเป็น Course เรียนแบบแยกเดี่ยวไป คอร์สนึงก็ไม่ต่ำกว่า 200 บาทอย่างแน่นอน
แล้วเจ้าของแอพ หรือผู้ให้บริการสื่อกลางการเรียนรู้ออนไลน์ต่างๆ จะทำอย่างไรให้ลูกค้าเนี่ย อยากซื้อ อยากต่ออายุ อยากจ่ายเป็นรายเดือนเลยละ ?
แน่นอนว่าแค่ Content ของการเรียนรู้ที่ดีเนี่ย คงไม่เพียงพออย่างแน่นอน
งั้นเรามาดูกันว่าเทคนิคดีๆ ที่พวกเค้าใช้เนี่ย มีอะไรกันบ้าง ?
เผื่อ เพื่อนๆจะเอาไปปรับใช้กับธุรกิจของเพื่อนๆได้นะ
Funfact เกี่ยวกับ Online Course !
- ในช่วงเวลา lockdown โควิท Coursera ได้จำนวนผู้สมัครเรียนคลาสออนไลน์เพิ่มมากถึง 10 ล้านผู้ใช้งานในระยะเวลาแค่ 2 เดือน
- Udemy ปัจจุบันมีคอร์สเรียนที่มากกว่า 100,000 คอร์ส และมีผู้ใช้งานแบบแอคทีพ 24 ล้านบัญชีต่อปี
- ผลสำรวจจาก MOOCs (Mass Open Online Couse) ได้เคยกล่าวถึงเรื่องของอัตราการจบคอร์สเรียนออนไลน์ที่ต่ำ คือคนส่วนใหญ่มักจะตื่นเต้นกับตอนแรกที่ซื้อคอร์สเรียน แต่หลังจากนั้นมา ก็จะเกิดความท้อแท้ และเนื่องจากพวกเค้าต้องเรียนออนไลน์กับคอมพิวเตอร์ มันไม่มีคุณครูตัวจริงที่จะคอยมากระตุ้นพวกเค้า และนั้นทำให้พวกเค้าล้มเลิกกลางคันเยอะมากเลย
- MIT ก็ยังออกมายืนยันว่า จากจำนวนผู้ที่ลงคอร์สเรียนออนไลน์ (และได้รับใบประกาศ) เค้าพบว่า มีเพียงแค่ 4% ของผู้ลงทะเบียนเรียนสามารถเรียนจนจบคอร์สได้ ในขณะที่ 96% นั้น ใช้ระยะเวลาการเรียนที่นานอาจมากถึง 5 ปี หรือล้มเลิกไปดื้อๆเลย
นับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายของวงการนี้มากๆเลย นอกจากพวกเค้าจะได้ลูกค้าซื้อคอร์สเรียนแล้ว พวกเค้าจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนรู้สึกอยากเรียนให้จบคอร์ส ? หรือแม้กระทั่งซื้อคอร์สเรียนอันถัดไปกันนะ ?
การช่วยติดตามความคืบหน้าของการเรียนของลูกค้า/ผู้เรียน
- เริ่มต้นๆง่ายด้วยการให้ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายประจำสัปดาห์
- อย่างของ Linkedin Learning สามารถให้เรากำหนดเป้าหมายเป็นระยะเวลาของการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ เช่น 30 / 60 / 120 นาที
Linkedin Learning
- Coursera เค้าก็จะมีการใช้ Social proof ในการผลักดันให้เราเรียนรู้
Coursera
- ผลงานวิจัยของ IEEE ได้พูดถึงเรื่องของ การส่ง Push notification เชิงกระตุ้น จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าอยากกลับมาดำเนินคอร์สต่อให้จบได้มากถึง 18% !
- นอกจากการกำหนดเป้าหมายแล้ว ตัวบ่งบอกและชี้วัดถึงความคืบหน้าของการเรียน ก็ยังจะทำให้ผู็เรียนรู้สึกว่าอยากจะไปให้ถึงสุดทาง
- อันนี้ต้องบอกว่าเล่นกับจิตวิทยาล้วนๆเลย เพราะทุกคนย่อมมีความรู้สึกอยากสำเร็จ อยากทำอะไรให้เสร็จเป็นชิ้นเป็นอัน หรือได้รับรางวัล
- การติดตามความคืบหน้าแบบนี้ จะทำให้ผู้เรียนสามารถเห็นได้ว่า เหลืออีกเท่าไร ? หรือผ่านมากี่อันแล้ว ?
รางวัลและสิ่งตอบแทน เครื่องมือที่ใช้กระตุ้นความหอมหวานแห่งความสำเร็จของผู้เรียน
- ยกตัวอย่างง่ายๆจาก Linkedin Learning ก็คือ ในทุกๆครั้งที่เราเรียนจบคอร์ส เค้าก็จะมีใบประกาศมาให้ แล้วเราก็สามารถเอามาเพิ่มในโปรไฟล์ Linkedin ของเรา
- หรือแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง MIT ก็ได้นำเรื่องของ ใบประกาศนียบัตรจะออกมารองรับสำหรับผู้ที่เรียนคอร์สออนไลน์พร้อมสอบผ่าน (ซึ่งใช้เวลาเรียนค่อนข้างนานเลยละ ไม่ใช่คอร์สเรียนธรรมดาๆ)
- New York Time ยังได้ออกมาเปิดเผยผลสำรวจสำหรับคอร์สเรียนออนไลน์ที่มีการให้ใบประกาศนียบัตรที่เป็นที่รองรับจากสถาบันอื่นๆจะทำให้ผู้เรียนนั้นมีอัตราการเรียนจบคอร์สมากถึง 90% จากผู้ที่เรียนคอร์สฟรีแล้วไม่ได้ใบประกาศ
- หรือแม้กระทั่งการนำเป้าหมายความสำเร็จเข้ามาใช้เป็น Social proof อย่าง Linkedin
- เพื่อนๆจะเห็นได้ว่า Linkedin เค้าได้มีการย้ำถึง 5 ทักษะหรือมากกว่า คุณจะมีโอกาสมากที่จะดึงดูดเหล่า Recruiter (แน่นอนว่ามากได้ถึง 27 เท่าเลย)
- แค่นี่ ก็จะทำให้เราอยากเริ่มที่จะพัฒนาตัวเองแล้ว (และแน่นอน เค้าได้ลูกค้าเค้าได้เงิน)
แนวคิดเรื่อง ความรู้จะอยู่กับเราไปจนวันตาย และ การลงทุนเพื่อการศึกษาคือการลงทุนกับตัวเองที่คุ้มค่าที่สุด
- เว็ป Udemy เค้ามีกลยุทธ์แผนในการดำเนินธุรกิจในเรื่องของการเสริมสร้างมูลค่าของคอร์สเรียนแบบเสียเงิน
- ซึ่งสิ่งที่เค้าเน้นก็คือ ความแตกต่างระหว่างความรู้ที่ลูกค้าผู้เรียนจะได้รับ หากพวกเค้าเลือกซื้อคอร์สที่มีราคาแพงกว่า
- และแน่นอน กลยุทธ์ที่ Udemy ชอบใช้ก็คือ การขายคอร์สแบบ Bundle price
- ก็คือจะมีการสุ่มแนะนำคอร์สเรียนที่มีความคล้ายกันออกมาเพื่อที่จะเป็นตัวเลือกเพิ่มเติสที่ประหยัดขึ้น ก่อนที่เราจะเลือกชำระเงิน อารมณ์เหมือนเดินไปที่แคชเชียร์แล้วหยิบลูกอมติดไม้ติดมือมา
Udemy
คำสัญญาว่าจะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง กับ การเหมาซื้อ Package รายปี
- แน่นอนว่าเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
- ถ้าหยั่งงั้นก็ทำคอร์สเรียนรายปีขึ้นมาซะเลย เช่น Linkedin Premiums ที่มีฟังชั่นของการสมัครเป็นรายปี และได้รับส่วนลด 33%
- และนั้นทำให้ผู้อัพเกรดสามารถเรียนคอร์สต่างๆของ Linkedin ได้มากถึว 1 ปี ในราคาสุดพิเศษ
- แต่ก็นั้นแหละ ผู้เรียนก็ต้องมีคำมั่นสัญญาต่อตัวเองนะ เพราะจ่ายเงินแล้ว คืนไม่ได่นะจ้ะ
จบแล้วจ้าเพื่อนๆ
สรุปหลักการจิตวิทยากึ่งการตลาดที่ Online Course นิยมใช้ก็คือ
- การตั้งเป้าหมายจูงใจลูกค้า/ผู้เรียน เพื่อผูกเรากับโปรแกรมเรียน
- การโชว์ความคืบหน้าของการเรียน (Track progress) เพื่อให้เรามีกำลังใจ
- การออกแบบนั้นสามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้า และสามารถเปลี่ยนจาก "กำลังคิดดูก่อน" เป็น "ตัดสินใจ"
- การสร้างและเพิ่มมูลค่าให้กับประกาศนียบัตร เพื่อทำให้ผู้มีเรียนมีความตั้งใจที่จะเรียนจบมากขึ้น และยังสร้างโอกาสให้กับผู้เรียนคนเดิมกลับไปลงสมัครคอร์สอื่นๆเพิ่มเติม (คือได้ customer retention)
แต่ถ้านี่คือสิ่งที่ทำให้เกิด Win-Win เพื่อนๆได้ความรู้สะสมที่เพิ่มมากขึ้น ก็คุ้มที่จะจ่าย (เราเองจ่ายคง Linkedin Premieum อยู่เหมือนกัน)
สุขสันวันหยุดจ้าเพื่อนๆ :)
โฆษณา