3 ต.ค. 2020 เวลา 11:04 • ประวัติศาสตร์
เจาะลึกย้อนหลังกว่าพันปี! การสืบเชื้อสายของราชวงศ์จักรี จากชุนชนเมืองโบราณยุคทวารวดีสู่ราชวงศ์วงจักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
1
หากย้อนไปในโบราณกาลไม่ใช่ลึกถึงเพียงยุคกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น แต่ย้อนไปลึกกว่าหนึ่งพันปี เชื้อสายแห่งราชวงศ์จักรีนั้นมีมายาวนานแค่ไหน วันนี้ผมจะเล่าให้ฟังครับ
1
จากงานเขียนของอาจารย์ สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้สืบค้นข้อมูลของ "พ่อขุนศรีนาวนำถุม" มีที่มาจากชนชั้นผู้นำของตระกูลใหญ่ซึ่งมีหลักแหล่งอยู่แถบลุ่มน้ำน่าน บริเวณอุตรดิตถ์ถึงพิษณุโลก
1
บริเวณนี้มีการพัฒนาเป็นชุมชนมาราว 2,500 กว่าปีแล้วครับ
จากนั้นจึงเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่และมีการตั้งสถานีการค้าขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาในยุคทวารวดี ตั้งแต่ พ.ศ. 1,000-1,500 โดยขณะนั้นละโว้ได้มีอิทธิพลเป็นเครือข่ายทั้งอำนาจทางด้านการเมืองและการค้า
1
มีหลักฐานไม่น้อยให้ความเชื่อมโยงเกี่ยวกับตระกูลใหญ่ของพ่อขุนศรีนาวนำถุมนั้นมีศูนย์อำนาจอยู่แถวพิษณุโลก เช่น หลักฐานจากศิลาจากรึกวัดศรีชุม รวมทั้งเอกสารอื่นๆ หรือ พงศาวดารเหนือ ได้ระบุตรงกันว่าตระกูลใหญ่ของพ่อขุนศรีนาวนำถุมได้มีความสัมพันธุกันเป็นเครือญาติโยงถึงบริเวณสองฝั่งโขงตั้งแต่เมืองเชียงแสน (เชียงราย) เมืองหลวงพระบาง(ล้านช้าง) เมืองเวียงจัน(ศรีโครตบูร) และยังเป็นเครือญาติกับทางละโว้ (ลพบุรี)บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้อ่าวไทยด้วย
ศิลปะทวารวดี
แล้วราชวงศ์จักรีเกี่ยวเนื่องกับอาณาจักรโบราณเหล่านี้ได้อย่างไร ผมจะค่อยไล่ๆจากต้นสายให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันนะครับ
ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเคยมีอำนาจครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเมย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำโขง และ จรดชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน
ศูนย์กลางของราชวงศ์พระร่วงอยู่ที่เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยในลุ่มแม่น้ำยม อันเป็นเมืองศูนย์กลางราชธานีของราชอาณาจักรสุโขทัย
1
สุโขทัย
กลางพุทธศตวรรษที่ 17 อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณได้มีอำนาจครอบครองดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ได้ทั้งหมด มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลวรัฐ ต่อมาในปลายรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้น อำนาจของอาณาจักรขอมได้เริ่มอ่อนแอลง
ขุนศรีนาวนำถุม ผู้นำตระกูลใหญ่ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าท่านมีเชื้อสายกษัตริย์ทางราชวงศ์เชียงแสน ต่อมาได้มีอำนาจเป็นผู้ครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย
1
วัดศรีชุม
ข้อความจาก หลักฐานศิลาจารึกที่ 2 วัดศรีชุม มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ว่าแคว้นสุโขทัยมีพ่อขุนศรีนาวนำถุมปกครอง พ่อขุนศรีนาวนำถุมมีโอรสองค์หนึ่ง พระนามว่า “พ่อขุนผาเมือง”
พ่อขุนผาเมืองต่อมาได้อภิเษกกับ นางสิขรมหาเทวี ธิดาของกษัตริย์ขอม เท่ากับว่าพ่อขุนผาเมืองจึงมีฐานะเป็นราชบุตรเขยกษัตริย์ขอม ได้รับพระราชทานนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” พร้อมกับพระราชทานพระขรรค์ชัยศรีให้เป็นของกำนัล
2
ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์ ขุนนางขอมชื่อ “สบาดโขลญลำพง” ได้เข้ายึดกรุงสุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงมีพระนามเดิมว่า พ่อขุนบางกลางหาว ทรงเป็นปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย
ศิลาจารึกวัดศรีชุมหลักนี้มีความสำคัญมากเพราะจารึกเรื่องราวของพ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้เป็นบิดาของขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด เรื่องผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ ที่ยกลูกสาวชื่อ “นางสิงขรมหาเทวี” ให้เป็นชายาพ่อขุนผาเมือง และเรื่องราวของพ่อขุนบางกลางหาวที่มาช่วยพ่อขุนผาเมืองร่วมรบกับขอมสบาดโขลญลำพงจนชนะ และสถาปนาขุนบางกลางหาว ขึ้นเป็น “ศรีอินทรบดินทราทิตย์”
"ศรีอินทรปตินทราทิตย" เป็นพระนามเกียรติยศที่พระเจ้าแผ่นดินเขมรแต่โบราณได้สถาปนาให้แก่พ่อขุนผาเมืององค์รัชทายาท แต่ต่อมาภายหลังพ่อขุนผาเมืองทรงยกให้แก่พระสหายพ่อขุนบางกลางหาวแทนครับ
สามารถลำดับเชื้อสายได้ดังนี้
1.ขุนศรีนามนำถุม มีพระโอรสพระธิดา คือ ขุนผาเมือง นางเสือง พระยารามคำแหง
2.ขุนผาเมือง ครองเมืองราด อภิเษกกับ นางสิขราเทีย พระธิดากษัตริย์ขอม
3.นางเสือง เป็นมเหสีของ ขุนบางกลางหาว ครองเมืองบางยาง
4.พระยาคำแหงพระราม(ไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหงนะครับ) มีพระโอรส องค์หนึ่ง ชื่อ ขุนศรีลัทธา
1
และเชื้อสายของขุนศรีนาวนำถมมีบุตรธิดา คือ นางเสืองนั้น ได้อภิเสกกับพ่อขุนบางกลางหาวหรือพ่อขุนศรีอินทรปตินทราทิตย พระสหายของพ่อขุนผาเมือง ทั้งสองได้มีโอรสนามว่า "พ่อขุนบานเมือง" และ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช"
1
พ่อขุนรามคําแหง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระราชโอรส พระนามว่า "เลอไท" ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์แทนพระบิดา และเมื่อเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1866 พระยางั่วนำถุมจึงได้สืบราชสมบัติต่อมา
พระยางั่วนำถุม เป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยช่วง พ.ศ.1866 - พ.ศ.1890 เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนบานเมือง
1
สันนิษฐานกันว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม เหตุที่สันนิษฐานเช่นนั้นเนื่องจากเป็นธรรมเนียมของคนสมัยนั้น ที่นิยมเอาชื่อบรรพบุรุษมาตั้งเป็นชื่อหลานครับ
รูปแบบการสืบต่อราชบัลลังก์ของแผ่นดินสุโขทัย มีลักษณะเป็นเครือญาติระหว่างราชวงศ์ศรีนาวนำถุมและราชวงศ์พระร่วงขึ้นผลัดแผ่นดินกันเรื่อยมา
จนกระทั่งในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 2 หรือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 7 ของสุโขทัย ได้รบกับทัพกรุงศรีอยุธยาแต่ก็พ่ายแพ้และยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาไปในที่สุด
สุโขทัยมีพระมหากษัตริย์ปกครองมาจนถึงลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้ายที่ได้ครองสุโขทัย ก่อนที่ราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงศรีอยูธยาจะเข้าปกครองเมืองพิษณุโลกซึ่งได้ควบสุโขทัยเข้าไว้ด้วยกัน
และสุดท้ายอาณาจักรสุโขทัยได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาครับ
1
อาณาจักรอยุธยา
เชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัยยังคงได้รับบทบาทหน้าที่ในราชสำนักรับใช้ให้กับพระเจ้าแผ่นดินของอยุธยามาเนิ่นนาน
จนกระทั่งลูกหลานผู้สืบเชื้อสายแห่งสุโขทัยกลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่ง ก็ในสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา
1
“ขุนพิเรนทรเทพ” ผู้มีบิดาสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วงของสุโขทัย มีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมพระตำรวจขวา ได้ร่วมมือกับขุนนางของพระเฑียรราชา ร่วมกันชิงราชบัลลังก์จากขุนวรวงศาธิราชและแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์จนสำเร็จ และร่วมกันสถาปนาพระเฑียรราชาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า
2
และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ยกขุนพิเรนทรเทพขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ครองเมืองพิษณุโลก รวมทั้งตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดาเป็นพระวิสุทธิกษัตริย์ให้เป็นพระอัครมเหสี
3
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า และพระวิสุทธิกษัตริย์ ภาพจากภาพยนตร์ “สุริโยทัย”
ในกาลต่อมาพระวิสุทธิกษัตริย์ได้มีประสูติกาลพระราชโอรสธิดาตามลำดับคือ พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
1
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ภาพจาก ภาพยนตร์ ”ตำนานสมเด็จพระนเรศวร”
หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เรื่องราวเชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัยนี้ได้ขาดหายไป จนกระทั่งในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการค้นคว้าและสันนิษฐานเกี่ยวกับองค์หญิงท่านหนึ่งที่มีพระนามเรียกขานกันว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต"
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
มีการเชื่อกันว่าเจ้าแม่วัดดุสิตได้สืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเอกาทศรถ อ้างอิงหลักฐานจากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุว่า
“พวกสกุลชุมสายสืบเชื้อสายมาจากพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรพบุรุษคนแรก คือ พระยาเกียรติ แม่ทัพมอญ ได้ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมารับราชการอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ลูกหลานคนหนึ่งของพระยาเกียรติได้แต่งงานกับเจ้าแม่ดุสิต สตรีผู้สูงศักดิ์แห่งราชสำนัก เจ้าแม่ดุสิตเคยเป็นแม่เลี้ยงและแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์มาก่อน
ทั้งนี้ เพราะพระราชมารดาของพระองค์เองสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระนารายณ์มีพระชันษาได้เพียง 7 เดือน เจ้าแม่ดุสิตจึงถวายการเลี้ยงดูพระองค์มาพร้อมกับบุตรของนางเอง สมเด็จพระนารายณ์ทรงเรียกนางว่า เจ้าแม่ดุสิต ชื่อจริงของนาง คือ บัว เดิมอาศัยอยู่ใกล้วัดดุสิต ตรงคลองข้าวสาร จึงได้เรียกกันมาว่า เจ้าแม่ดุสิต”
3
ศาลเจ้าแม่วัดดุสิต
และหลักฐานอีกแหล่งหนึ่ง คือ สมุดจดบันทึกประจำวันของบรรพบุรุษของหม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย จดพระนามเดิมของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ว่า "หม่อมเจ้าบัว" รวมทั้งหนังสือเรื่อง อิศรางกูร พิมพ์ในงานฌาปนกิจ หม่อมหลวงปุย อิศรางกูร เมื่อ พ.ศ. 2517 ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้ว่า
“เจ้าแม่วัดดุสิตจะมีนามว่ากระไรแน่นั้น หลักฐานกล่าวไว้ไม่ตรงกัน บางแห่งกล่าวว่าชื่อ หม่อมเจ้าหญิงบัวมีเชื้อสายพระร่วงสุโขทัย บางหลักฐานก็กล่าวว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงอำไพ ราชธิดาของสมเด็จพระเอกาทศรถ”
1
ในส่วนของหนังสือเรื่องอิศรางกูรได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีกว่า เจ้าแม่วัดดุสิตทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวร พระองค์ที่ 1 (พระราเมศวร ครองราชย์ พ.ศ. 2148-53)
1
สอดคล้องกับหนังสือเรื่อง ปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร.กุหลาบ ที่ว่า เจ้าแม่วัดดุสิตทรงเป็น “หม่อมเจ้าหญิงในราชนิกูลพระเจ้าแผ่นดิน” อันเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวร พระองค์ที่ 3 ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พระองค์ศรีธรรมราชาธิราช พระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ 2172-2199)
1
เจ้าแม่วัดดุสิตได้วิวามงคลกับลูกหลานคนหนึ่งของพระยาเกียรติขุนนางมอญ โดยบันทึกต้องสงสัยอย่างพงศาวดารไทย จดหมายเหตุเจ้าแม่วัดดุสิต ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา ระบุว่า “พระเจ้าแม่วัดดุสิต” หรือ “หม่อมเจ้าบัว” ทรงอภิเษกสมรสกับ “หม่อมเจ้าอำไพ” ซึ่งไม่ทราบว่าพระองค์ทรงเป็นพระราชวงศ์สายใดกันแน่
หนังสือ”โครงกระดูกในตู้” โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ต่อมาเจ้าแม่วัดดุสิตได้ถวายตัวเป็น พระนมเอกสอดคล้องกับข้อเท็จจริงจากหนังสือเรื่อง "โครงกระดูกในตู้" ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งคัดมาจากหนังสือเรื่อง ราชินิกุลบางช้าง ซึ่งพิมพ์แจกในงานฉลองพระราชสมภพครบ 200 ปี ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ความว่า
“แรกเริ่มเดิมที ท่าน(พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) เกิดมาในตระกูลขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ตระกูลของท่านเป็นตระกูลขุนนางสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน นับแต่เจ้าพระยาโกศาปาน นักรบและนักการทูต ผู้มีชื่อเสียงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าพระยาโกศาปานเป็นบุตรเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์ เจ้าแม่วัดดุสิตมีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์พระมหาธรรมราชา ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย”
ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า หนังสือเรื่อง ราชินิกุลบางช้าง อิศรางกูร และโครงกระดูกในตู้ ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกว่า เจ้าแม่วัดดุสิตทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระองค์ที่ 1 (ขุนพิเรนทรเทพ) โดยพระบิดาของพระองค์ทรงเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเมืองสุโขทัย
1
ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ เจ้าแม่วัดดุสิตจึงนับเนื่องอยู่ในราชวงศ์สุโขทัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระองค์ที่ 1 ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วงเมืองสุโขทัยอีกทีหนึ่ง
แม้ว่าหนังสือเรื่อง อิศรางกูร จะให้ข้อมูลสำคัญว่า เจ้าแม่วัดดุสิตทรงเป็นพระธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ
แต่ก็เป็นเพียงคำบอกเล่าสืบต่อกันมาภายในวงศ์ตระกูลเยี่ยงนิทานปรัมปรา ยังไม่มีมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันถึงความถูกต้องในเรื่องนี้
จึงทำได้แค่เพียงตั้งสมมุติฐานว่า เจ้าแม่วัดดุสิตอาจเป็นพระราชนัดดาหรือพระธิดา อันประสูติแต่พระสนมของพระเจ้าแผ่นดินศรีอยุทธยาองค์ใดองค์หนึ่งในราชวงศ์สุโขทัยช่วงสมัยศรีอยุทธยาตอนต้น (พ.ศ. 2112-2310) จึงมีพระอิสริยศักดิ์เป็นเพียง “หม่อมเจ้า” เท่านั้น
แม้จะยังไม่อาจสืบหาความจริงในเรื่องนี้ได้ แต่ด้วยความที่เจ้าแม่วัดดุสิตทรงเป็นเจ้าราชนิกุลชั้นปลายแถว ก็ไม่น่าแปลกอะไรที่พระองค์จะทรงวิวาหมงคลกับลูกหลานของพระญาเกียรติขุนนางเชื้อสายมอญ
พระยาเกียรติ , พระยาราม ภาพจาก ภาพยนตร์”ตำนานสมเด็จพระนเรศวร”
ในความที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดนี้ จึงมีความเกี่ยวโยงกับบุตรของเจ้าแม่ดุสิตซึ่งสมรสกับสามีซึ่งเป็นเชื้อสายของพระยาเกียรติ (ขุนนางชาวมอญที่ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมารับราชการในกรุงศรีอยุธยา) และมีบุตรธิดา 3 คน คือ
1.เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพคราวไปตีนครเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
2.เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตเอก
3.แช่ม หรือ ฉ่ำ
และเชื้อสายแห่งราชวงศ์จักรีก็ได้สืบต่อมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตเอกนั่นเองครับ
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) มีบุตรชายผู้หนึ่ง นามว่า "เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง)" ซึ่งเกิดเมื่อตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
คณะฑูต
เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) มีบุตรชายต่อมา คือ พระยาราชนิกูล ซึ่งเดิมมีชื่อว่า "ทองคำ"
เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) ได้นำบุตรชาย "ทองคำ" ผู้นี้เข้ารับราชการถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งกรุศรีอยุธยา)
นายทองคำ ได้รับตำแหน่งเป็น จมื่นมหาสนิท หัวหมื่นมหาดเล็ก ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง แถบบริเวณจังหวัดอุทัยธานี
จมื่นมหาสนิท (ทองคำ)ได้มีภรรยาและให้กำเนิดบุตรชายคนโตคนหนึ่งชื่อ "ทองดี"
จากนั้นจึงได้ย้ายครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตรงบริเวณเหนือป้อมเพชร
ป้อมเพชร อยุธยา
ในส่วนของบุตรชายของท่านนั้น เมื่อมีอายุพอที่จะเข้ารับราชการได้แล้ว พระยาราชนิกูลบิดา(ทองคำ) นำบุตรชายทองดีเข้ารับราชการอยู่ที่กรมมหาดไทย คอยช่วยเหลืองานอยู่กับตนในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนได้รับแต่งตั้งเป็น "หลวงพินิจอักษร"
ครั้นอายุได้ 20 ปี หลวงพินิจอักษร(ทองดี)ได้อุปสมบทและเมื่อลาสิกขาแล้ว พระยาราชนิกูล (ทองคำ) ผู้เป็นบิดาได้สู่ขอ "ดาวเรือง" (หรือบางแห่งให้ข้อมูลว่าชื่อ "หยก") หลานสาวของพระยาอภัยราชา สมุหนายกว่าราชการแผ่นดิน และแต่งงานอยู่กินกันตามประเพณี
ต่อมาหลวงพินิจอักษร (ทองดี) ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น "พระอักษรสุนทรศาสตร์" เสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาสน์ตราต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ และรักษาพระราชลัญจกรอันเป็นตราประจำแผ่นดิน
2
และพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ท่านนี้นี่เอง คือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก บรรพบุรุษแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องด้วยทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ทองด้วง) ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์นั่นเองครับ
2
โกษาปาน > ขุนทอง > ทองคำ > ทองดี > ทองด้วง
จึงอาจกล่าวได้ว่า เชื้อสายบรรพบุรุษของราชจักรีวงศ์นั้นไม่ได้พึ่งมีมาในช่วงตอนกลางหรือตอนปลายกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
แต่พอย้อนลึกลงไปดูไล่ตามเชื้อสายและเครือญาติตามหลักฐานต่างๆ ราชวงศ์จักรีมีเชื้อสายสืบต่อกันมาอย่างยาวนานหลักพันปีเลยก็ว่าได้ครับ
1
จากยุคทวารวดีเชื้อสายของผู้นำตระกูลใหญ่ซึ่งมีกลุ่มเครือญาติเกี่ยวโยงกับหลายอาณาจักรทางเหนือเมื่อพันปีมาแล้ว จากแถบลุ่มแม่น้ำโขงเรื่อยมาจนลุ่มน้ำน่าน เรื่อยมาจนยุคก่อตั้งสุโขทัยและสิ้นอำนาจให้แก่อยุธยา
ราชวงศ์จักรี
ก่อนเชื้อสายนี้จะกลับมามีบทบาทอีกครั้งในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า หรือ ขุนพิเรนทรเทพ มีโอรสบุตรชายทั้งสองคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ
1
โยงมายังเจ้าแม่วัดดุสิตซึ่งมีพระสวามีเชื้อสายมอญ ตลอดจนบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต หรือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี(ปาน)
เชื้อสายนี้สืบต่อจนกระทั่งถึงยุครัตนโกสินทร์ จากสมเด็จพระบรมราชชนกพระราชบิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ทองด้วง)ครับ
เชื้อสายบรรพกาลแห่งราชวงศ์จักรีนี้มีบทบาทมาอย่างยาวนานมาก โดยสามารถอ้างอิงได้จากหลักฐานหลายอย่าง และนี่คงเป็นเหตุผลหนึ่งที่สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมีอิทธิพลต่อสังคมมาอย่างยาวนานตราบจนกระทั่งปัจจุบันครับ
❤️ขอบพระคุณครับ❤️
🙏กดไลค์กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ🙏
อ้างอิง
- สุจิตต์ วงษ์เทศ: คอลัมภ์พ่อขุนศรีนาวนำถุม สถาปนากรุงสุโขทัย ไม่ใช่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ตามที่บอกในตำรา
- ภาสกร วงศ์ตาวัน. เรื่องเล่าครั้งกรุงเก่า ตอน ยึดบ้านครองเมือง สร้างขื่อแปในจารึกสยาม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ สยามบันทึก, พ.ศ. 2551.
- ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. สยามประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2547
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงสุโขทัย มาจากไหน?. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2548
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
- ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. โครงกระดูกในตู้
- ปรามินทร์ เครือทอง. ศิลปวัฒนธรรม : ตามหา "เจ้าแม่วัดดุสิต" ปริศนาต้นพระราชวงศ์จักรี เจ้านายหรือสามัญชน ฉบับที่ 6 ปีที่ 26. กรุงเทพฯ
- เซอร์จอห์น เบาว์ริง. ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ
- กรมศิลปากร สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ราชสกุลวงศ์
1
โฆษณา