4 ต.ค. 2020 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
การใช้ความรุนแรงกับเด็กนักเรียนของครูในโรงเรียนสารสาสน์ฯ
NEWS: พ้นสภาพครู! ไล่ครูทุกคนในห้องออก พร้อมมอบไฟล์วงจรปิดให้ผู้ปกครอง ที่มา https://www.parentsone.com/teacher-was-dismissed/
ข่าวเด่นประเด็นดังในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้ความรุณแรงกับเด็กนักเรียนของครูในโรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา ที่เราได้พบเห็นบนสื่อต่าง ๆ
ด้วยการใช้ชีวิตในวัยเด็ก “ยุคใหม่การตลาดของไทย” คลุกคลีอยู่กับครูมาตลอดเพราะพ่อและแม่เป็นครู พี่ชายพี่สาวก็มาเป็นครูด้วย แต่ไม่เคยมีใครเลยที่ใช้ความรุนแรงต่อนักเรียนเลย ถ้าอารมณ์เสียอาจจะมีบ้าง เพราะครูก็มนุษย์ปถุชนเหมือนกัน แต่พอเห็นข่าวรู้สึกหดหู่ใจมาก ยิ่งฟังสัมภาษณ์จากเจ้าของยิ่งห่วงอนาคตเด็กไทย
แต่“ยุคใหม่ฯ”คงไม่มาบอกว่าใครผิดใครถูก แต่จะมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงมากกว่าว่าทำไมการเรียนการสอนในโรงเรียนแห่งนี้จึงได้มีการกระทำเช่นนี้กับนักเรียนตัวเล็กๆ แม้เพียงคนเดียวครั้งเดียวก็แย่แล้ว แต่ทว่าเกิดเหตุบ่อยครั้งมาก ที่สำคัญไม่มีการห้ามปรามหรือหาทางป้องกันแก้ใขอย่างไรเลย ยิ่งทำให้ต้องเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อมาวิเคราะห์หาสาเหตที่แท้จริงต่อไป
จากข้อมูลของ MGR Online เผยแพร่: 1 ต.ค. 2563 12:05 โดย: ผู้จัดการออนไลน์ระบุว่านายพิบูลย์ ยงค์กมล เคยได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ผู้จัดการ 360 ไว้เมื่อปี 2555 โดยสรุปได้ดังนี้
ปธ. สารสาสน์ ลั่น ผมเป็นครูมาตั้งนาน ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ - รมช.ศธ. ถึงกับส่ายหัว ! ที่มา https://hilight.kapook.com/view/206874
นายพิบูลย์ เริ่มต้นชีวิตครูครั้งแรกตั้งแต่อายุ 18 ปี ที่ดรุณานุเคราะห์ หลังจากนั้นเขาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยมาเป็นครูที่โรงเรียนเปรมฤดี สอนไปด้วย เรียนไปด้วย โดยสอบเทียบวุฒิ ม.8 วัดสุทัศน์ฯ แล้วสอบเข้ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร สอนที่เปรมฤดีได้ 9 ปี พิบูลย์ตัดสินใจออกมาร่วมหุ้นกับเพื่อนทำโรงเรียนแห่งแรก คือ สารสาสน์พิทยา สาธุประดิษฐ์ เป็นทั้งผู้บริหาร ครูใหญ่ ครูน้อย ออกข้อสอบ พิมพ์ข้อสอบ ทำไปทำมาเพื่อนถอนหุ้นหมด
ปี 2512 พิบูลย์ ชวนพี่สาวมาร่วมหุ้น เช่าที่ของกรมธนารักษ์ สร้างโรงเรียนแห่งที่ 2 คือ สารสาสน์พัฒนา ทำอยู่ 2 ปี ไม่มีกำไร พี่สาวตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมด เพราะโรงเรียนสายสามัญเก็บค่าเล่าเรียนเทอมละ 450 บาท ไม่มีทางได้กำไรคืนทุนแน่ เขาหันไปลงทุนเปิดโรงเรียนพาณิชย์สาธุประดิษฐ์ เนื่องจากโรงเรียนพาณิชย์สามารถเก็บค่าเล่าเรียนได้ถึง 3,000 บาท
นายพิบูลย์มองไปไกลอีกว่า โรงเรียนต้องมีการพัฒนาด้านภาษา เขาจัดการส่งลูกชาย 2 คนไปเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งนั่นเป็นที่มาของการทดลองเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ “เอ็กซ์ตร้า” ที่ “สารสาสน์พิทยา” ก่อนเปิดเป็นโรงเรียนสองภาษาแห่งแรกใช้ชื่อว่า สารสาสน์เอกตรา เมื่อปี 2537
การเปิดโรงเรียนสองภาษาถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะหลักสูตรสองภาษาสามารถเพิ่มอัตราค่าเล่าเรียนจากไม่กี่ร้อยบาทเป็นปีละ 20,000 บาท แล้วยังปรับเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษในหลักสูตรสายสามัญ โดยคิดค่าเรียนเพิ่มจากปกติอีก 4 วิชา 4,000 บาท
จากโรงเรียนสายสามัญแห่งแรกที่สารสาสน์พัฒนา ค่าเทอมเทอมละ 450 บาท วันนี้เพิ่มเป็น 3,000 บาท บวกวิชาภาษาอังกฤษอีก 4 วิชา 4,000 บาท หลักสูตรสองภาษาจากปีละ 20,000 บาท เป็น 50,000-60,000 บาท ล่าสุด พิบูลย์เริ่มเปิดหลักสูตรนานาชาติที่สารสาสน์วิเทศบางบอน คิดค่าเล่าเรียนปีละ 1 แสนบาท เพื่อขยายตลาดในกลุ่มชนชั้นกลาง
ล่าสุดเครือสารสาสน์มีโรงเรียนทั้งหมดเเกือบ 50 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา หลักสูตรสามัญและหลักสูตรอาชีวศึกษาอีก โดยเฉพาะช่วง 20 ปีหลัง สารสาสน์ขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ทั้งการสร้างโรงเรียนและซื้อกิจการโรงเรียนเก่ามาทำใหม่
ข้อความข้างต้นหากอ่านดูแล้วจะเห็นว่านายพิบูลย์ เป็นคนที่มีความคิดก้าวหน้ามองหาโอกาสเสมอ เป็นมุมมองของนักธุรกิจโดยแท้
แต่เมื่อเราพิจารณาลึกลงไป เราจะเห็นแก่นแท้ที่มาจากแนวคิดคือ “การสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น”
ไม่ได้มาจากแกนการมอบสิ่งที่ดีต่อนักเรียนและผู้ปกครอง รวมถึงการทำให้สังคมไทยพัฒนาขึ้น แล้วจึงมองหาการทำให้ธุรกิจการศึกษาที่สร้างขึ้นมาอยู่รอด แล้วมีกำไรสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อย่างสม่ำเสมอให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
เพราะนี่คือแนวทางการทำตลาดยุคใหม่ที่จะสร้างให้เกิดความยั่งยืน ทำให้ธุรกิจของนายพิบูลย์ ยืนผงาดได้อย่างสง่างาม ผู้คนให้การยอมรับอย่างจริงใจ
ที่ผ่านมาที่ยังสามารถสร้างรายได้เป็นอย่างมาก ก็เพียงเพราะสร้างความกลัวให้ผู้ปกครอง หรือความกังวลให้ผู้ปกครองที่มีกำลังมี่จะส่งลูกให้เรียนในโรงเรียนที่มีค่าเทอมสูงๆได้ ซึ่งความกลัวที่ว่าก็คือ กลัวว่าลูกจะไม่ทันคนอื่นหรืออยากให้ลูกเหนือกว่าคนอื่น การเรียน 2 ภาษาจึงเป็นการได้เปรียบ
แต่แกนของหลักสูตรของการศึกษาของนายพิบูลย์ ไม่ได้มีอะไรที่บ่งบอกได้จากวิธิคิดทั้งจากประวัติและวิธีการให้สัมภาษณ์เลย ว่าจะเน้นการสร้างคุณค่าให้กับนักเรียน (เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากข่าวและการให้สัมภาษณ์)
“ยุคใหม่ฯ” เองเป็นหนึ่งในคนที่มีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะในการวิเคราะห์คนจากภาษาที่ใช้ ว่ามาจากวิธีคิดแบบไหน จึงมองเห็นได้ชัดว่าเป็นการมองมาจากการสร้างกำไรสูงสุดให้กับธุรกิจ ซึ่งมันก็ไม่แปลก แต่นี่เป็นเรื่องของอนาคตของเด็ดอนาคตของชาติ ที่ต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าธุรกิจอื่นๆ
“ยุคใหม่ฯ”ทั้งเชื่อมั่นและมั่นใจเลยว่าหากนายพิบูลย์ ยังมีบทบาทในการบริหารอยู่เรื่องแบบนี้จะไม่ได้รับการแก้ใข เพราะเรื่องนี้มากจากวิธีคิดของผู้บริหาร ที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่น่ารังเกียจเช่นนี้ ข้อมูลจากข่าวที่ว่าไม่มีครูคนไหนห้ามปรามหรือช่วยไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเลย ถ้าจะเปรียบเทียบคือการมองดูคนๆหนึ่งที่กำลังผลักคนตกเหว ได้แต่ยืนมองแล้วไม่ทำอะไรทั้งที่ช่วยได้ อาจจะมาจากความกลัวหรือสิ่งแวดล้อมไม่มีใครทำกัน
แต่การที่อยู่สิ่งแวดล้อมไม่มีใครทำกันในสิ่งที่ดีแล้วเราก็เป็นไปด้วย กับการที่หยัดยืนขึ้นปกป้องเด็กจากสิ่งที่คุกคามและสิ่งนี้จะทำให้เด็กจดจำเรื่องดีๆ สร้างให้เด็กรู้จักคุณค่าของการให้การช่วยเหลือปกป้องซึ่งกันละกัน แม้จะถูกต่อว่าจากสังคมนั้นหรืออาจจะถูกบีบออก จะสง่างามกว่าหรือไม่ เมื่อเทียบกับการไม่ทำอะไรเลย
ในอดีตที่“ยุคใหม่ฯ” เคยร่ำเรียนมาในช่วงประถมและมัธยมต้น ก็เคยสัมผัสความรุนแรงจากคุณครูเช่นกัน ถูกครูตีจนแทบนั่งไม่ได้ หรือตีมือจนแทบจับอะไรไม่ได้ จากความผิดที่เราทำลงในตามประสาเด็กที่ไม่ได้แยกแยะอะไรได้
แต่ทำไมคนถูกตีทั้งตัว “ยุคใหม่ฯ”เองและเพื่อนๆต่างก็รักคุณครูเหล่านั้น ไม่มีใครเลยที่เกียจครูคนที่ลงมือใช้ไม้เรียวตี ทุกคนพูดถึงเรื่องนี้ทุกครั้งด้วยความปลาบปลื้มว่า “ถ้าไม่โดนไม้เรียวครูในวันนั้นก็คงไม่มีพวกเราในวันนี้”
แล้วทำไมความรุนแรงในวันนี้ทุกคนต่างประณามกัน ลองมาดูสาเหตุที่แท้จริงกันว่าเกิดจากอะไร
สิ่งนั้นเกิดมาจากสิ่งที่ออกมาจากข้างใน ครูในอดีตลงมือตีลูกศิษย์เพื่อหวังว่าวันหนึ่งลูกศิษย์จะเป็นคนดี รักนักเรียนไม่ต่างกับลูกตนเอง ทุกครั้งที่เห็นนักเรียนตัวเองสอนไปได้ดีก็ดีใจไปด้วย
แต่ครูในปัจจุบันการลงโทษมาจากอารมณ์ล้วนๆ ไม่มีเจตนาดีแฝงไปในนั้น ไม่ได้สนใจผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่รับผิดชอบสิ่งที่ตนเองทำที่จะสร้างให้เกิดเรื่องเลวร้ายต่อไปในอนาคตจากเด็กที่มีตราบาปจากเขาเหล่านั้น
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะทำให้อาชีพครูเป็นอาชีพที่ทรงคุณค่า ไม่ใช่ใครก็เป็นได้ ต้องเป็นคนที่คู่ควรในการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และแนวคิดดีให้กับนักเรียน ที่เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่สุดของประเทศในอนาคต เป็นอาชีพที่มีรายได้สูงที่สุด มีการยอมรับของสังคมมากที่สุด ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ภูมิใจมากที่สุด
“ยุคใหม่ฯ”เห็นว่าการคัดเลือกผู้มาทำอาชีพครู ต้องมีกระบวนการที่คัดคนมีคุณภาพจริงๆ ใครจะมาเป็นครูได้ต้องเป็นคนมีศักยภาพสูงทั้งด้านวิชาการและจริยธรรม รวมถึงจิตใจที่มีความเป็นครูโดยแท้ เมื่อนั้นสังคมไทยจะก้าวไปได้ไกลอย่างแน่นอน
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
โฆษณา