6 ต.ค. 2020 เวลา 01:25 • ปรัชญา
ตัดสินใจอย่างไรให้ไม่เสียใจภายหลัง
ในชีวิตของคนเราจะต้องมีการตัดสินใจเกิดขึ้นมากมาย การตัดสินใจแบบหนึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์อีกแบบหนึ่ง ความน่าจะเป็นในการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ นั้นมีอย่างมากมายไม่จำกัด
คำถามที่ทุกๆ คนน่าจะมีอยู่ในใจอยู่ตลอดก็คือ “เราจะตัดสินใจอย่างไรให้ถูกต้อง และไม่ทำให้เราเสียใจในภายหลัง?”
คำถามนี้เป็นคำถามที่ยาก เพราะคำว่า “ถูกต้อง” ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่วันนี้ผมมีหลักคิดอันนึงที่ทำให้คุณจะตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในแบบของคุณโดยที่คุณจะไม่เสียใจภายหลังครับ 🙂
รู้จักกับ “Center” ต่างๆ ของชีวิต
หลายๆ ครั้ง การตัดสินใจของคนเรานั้นมีบางสิ่งบางอย่างเป็นจุดศูนย์กลาง
จากข้อ 2 ของหนังสือ 7 Habits of highly effective people ที่ว่าด้วยเรื่องของ “Begin with the end in mind” บอกว่าจุดศูนย์กลางของเรามีหลายแบบ
เช่นถ้าเราตัดสินใจโดย Pleasure Centered เราก็จะตัดสินใจเลือกอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขในขณะนั้นๆ
หรือถ้าเป็น Money Centered เราก็จะตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ให้เงินมากที่สุดเป็นหลัก
หรือถ้าเป็น Friend Centered เราก็จะตัดสินใจเลือกเพื่อนเป็นหลัก เห็นเพื่อนมาก่อนทุกสิ่ง
จาก blog ของ HubSpot (https://blog.hubspot.com/sales/habits-of-highly-effective-people-summary)
ซึ่งประเด็นก็คือจุดศูนย์กลาง (Center) ของเรานั้นเปลี่ยนอยู่ตลอดตามจังหวะช่วงชีวิต (หรือบางครั้งตามสถานการณ์) ถ้าเราตัดสินใจตาม Center ณ ขณะนั้นของเรา เราก็จะไม่มีหลักยึดเป็นหลักแหล่ง
สุดท้ายมันก็จะกลายเป็น ก็ฉันชอบทำแบบนั้นหรือฉันชอบคนนี้ ก็เลยตัดสินใจแบบนี้
Stephen Covey ผู้แต่งหนังสือ 7 Habits of highly effective people บอกว่าการตัดสินใจแบบนี้มันไม่ดีกับชีวิตคนเราเพราะมันไม่ได้เป็นตัวสะท้อนถึงสิ่งที่เราต้องการที่จะทำให้ได้/ที่จะเป็นจริงๆ ในชีวิต
สิ่งที่ดีกว่าคือการตัดสินใจโดยการใช้หลัก “Principle Centered”
ตัดสินใจโดยการใช้ “Principle-Centered”
การตัดสินใจแบบ Principle-Centered คือการตัดสินใจตามหลักการการใช้ชีวิต
สิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณตัดสินใจแบบ Principle-Centered ได้คือการเขียน Personal Mission Statement (https://www.andyandrews.com/personal-mission-statement/) หรือเป้าหมายในชิวิตของเราขึ้นมา (ถ้าเป็นระดับบริษัท ก็ควรจะเขียน Statement ของบริษัทหรือสร้าง Core Value (https://magnetolabs.com/blog/design-core-value-by-culture-canvas/)ขึ้นมา) พื่อที่ว่าเมื่อต้องตัดสินใจ การตัดสินใจจะมาจากสิ่งที่เราเชื่อหรือต้องการจริงๆ ในอนาคตข้างหน้า
Stephen Covey แนะนำว่าก่อนเขียน Mission Statement หรือ Core Value เราควรที่จะต้องจิตนาการถึงตอนที่เราตายและคนมางานศพของเรา (หรือถ้าเป็นบริษัท อาจจะจินตนาการถึงวันที่บริษัทของเราต้องปิดตัวลง – อันนี้ผมให้ความเห็นเพิ่มเติมเอง) และถามตัวเองว่าเราอยากให้ตัวเราและคนที่มาร่วมงานศพของเราพูด รู้สึก คิด ถึงสิ่งที่เราทำมาอย่างไร
การทำแบบนี้เหมือนทำให้ทุกอย่าง Fast forward ละทิ้งความต้องการหรือความสุขระหว่างทางไปและโฟกัสเป้าหมายสุดท้ายจริงๆ
เพราะการตัดสินใจที่ถูกต้อง (ตามหลักการ) นั้นดีกว่าการตัดสินใจด้วยความถูกใจเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราว
ผมเขียนบทความเกี่ยวกับ Entrepreneurship, Self-Development, Talent Management & Productivity เป็นประจำ
ไม่พลาดบทความดีๆ ที่จะทำให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพียงเลือกติดตามผ่านทางช่องทางด้านล่าง :)
4. LINE: https://lin.ee/ac2WqRU หรือแอด LINE ID: @sitthinunt
หรือเข้าไปอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ในเว็บไซต์อื่นของผมได้ที่ https://magnetolabs.com/blog/ และ https://contentshifu.com/author/bank/
โฆษณา