12 ต.ค. 2020 เวลา 06:24 • ประวัติศาสตร์
• ภาพถ่ายของคณะราชทูตพม่า ที่ได้เดินทางไปยังประเทศอังกฤษ เมื่อปี 1872
แถวล่างซ้ายไปขวา : เนเมียวสีหะสุเรน, มหามินจ่อราชา, กินหวุ่นมินจี, มหามินฮลาจ่อถิ่น / แถวบนซ้ายไปขวา : พันตรีแมคแมน, เอดมันส์ โจนส์
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อราว 150 ปีที่แล้ว ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ได้เข้ามามีอิทธิพลและแทรกแซงดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในช่วงระยะเวลานั้น นอกจากไทยหรือสยาม ที่กำลังเผชิญหน้ากับภัยอันร้ายแรงนี้ และแสวงหาทุกวิถีทางเพื่อดำรงซึ่งความเป็นเอกราช ดินแดนบ้านใกล้เรือนเคียงของไทยอย่างพม่า ก็กำลังประสบกับชะตากรรมที่ไม่ต่างจากไทยเช่นเดียวกัน
โดยในช่วงปี 1872 จนถึง 1873 (พ.ศ. 2415-2416 : ตรงกับช่วงต้นรัชกาลที่ 5 ของไทย) พม่าได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้ามินดง (Mindon Min) กษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชวงศ์คองบอง (Konbaung)
คณะราชทูตเข้าเฝ้าราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ
พระเจ้ามินดงทรงมีพระประสงค์ที่จะส่งคณะราชทูตของพม่า เดินทางไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส โดยพระองค์ทรงเชื่อว่า ภารกิจในการเดินทางสู่ยุโรปในครั้งนี้ จะสามารถช่วยให้พม่าสามารถหลุดพ้นจากภัยคุกคามล่าอาณานิคมได้
สำหรับคณะราชทูตของพม่า ที่เดินทางไปยังอังกฤษและฝรั่งเศสในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย
• มหาอำมาตย์กินหวุ่นมินจี (Kinwun Mingyi) - เป็นหัวหน้าคณะราชทูต
• เนเมียวสีหะสุเรน (Naymyo Mindin)
• มหามินจ่อราชา (Maha Minkyaw Raza)
• มหามินฮลาจ่อถิ่น (Maha Minhla Kyawhtin)
นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่จากทางอังกฤษ ได้แก่ เจ้าหน้าที่อังกฤษประจำเมืองมัณฑะเลย์ พันตรี เอ. อาร์. แมคแมน (A. R. McMahon) และ กงสุลอังกฤษประจำเมืองย่างกุ้ง เอดมันด์ โจนส์ (Edmund Jones)
1
แถวล่างซ้ายไปขวา : เนเมียวสีหะสุเรน, มหามินจ่อราชา, กินหวุ่นมินจี, มหามินฮลาจ่อถิ่น / แถวบนซ้ายไปขวา : พันตรีแมคแมน, เอดมันส์ โจนส์
ทว่าการเจรจาของเหล่าคณะทูตพม่าในอังกฤษและฝรั่งเศสครั้งนี้ ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทางการอังกฤษปฏิเสธที่จะทำสนธิสัญญาหรือเจรจาใด ๆ กับทางพม่า ส่วนทางด้านของฝรั่งเศส ก็มีการเจรจาทำการค้ากับพม่า แต่มีลักษณะที่ดูเอาเปรียบทางการพม่า
คณะราชทูตเข้าเฝ้าราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ
คณะราชทูตเจรจากับฝรั่งเศส
ท้ายที่สุดพม่า ก็ไม่อาจหลีกพ้นจากชะตากรรมในครั้งนี้ได้ ในปี 1885 (พ.ศ. 2428) พม่าก็ได้ตกเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ ยาวนานกว่า 60 ปี ก่อนที่จะได้รับเอกราชในปี 1948
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา