12 ต.ค. 2020 เวลา 08:31 • หนังสือ
4 เทคนิครับมือยังไง!!!
เมื่อเจอกับสถานการณ์ที่ “ทำให้โกรธหรือไม่พอใจ”
การที่จะรับมือกับอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจ
อาจไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย
เพราะการที่ใครสักคนสามารถทำให้เราโกรธได้นั้นไม่ใช่เรื่องปกติแน่
คุณรู้หรือไม่ว่า
การจะโกรธหรือระเบิดลงว่าหนักแล้ว
แต่การรับมือกับสถานการณ์ที่ ทำให้โกรธหรือไม่พอใจ นั้นยากกว่า
เพราะเราต้องใช้พลังเป็นอย่างมากในช่วงแรก (สำหรับคนมักโกรธนะคะ)
พลังที่ใช้คือ พลังในการควบคุมสติ ควบคุมอารมณ์ไม่ให้โกรธ
คุณลองคิดดูว่า เมื่อไรที่เราโกรธแล้ว หายนะจะมาหาเราทันที
ทั้งที่เราใช้เวลาในการคิด พูด ทำ กับเหตุการณ์นั้นเพียงไม่กี่วินาทีด้วยซ้ำ
เป็นไงล่ะ ผลเสียตามมาเยอะแยะเลย
ตัวอย่างเช่น
ถ้าตอนนี้เรากำลังขายสินค้าผ้าอยู่ คนมาซื้อของเราเยอะแยะไปหมด จนเรารู้สึกวุ่นวาย ขายไม่ทันและรู้สึกเหนื่อยมาก ๆ ณ ขณะนั้น
แล้วเราก็ดันไปพูดกับลูกค้าไม่ดี หรือตะโกนใส่ลูกค้า คนที่รอคุณมานานกว่าครึ่งชั่วโมง
คุณคิดว่าลูกค้าจะรู้สึกอย่างไร ???
แน่นอนว่าไม่พอใจ เป็นแน่ และอาจจะไม่กลับมาซื้อของคุณอีก....
แต่สำหรับหนังสือเล่มนี้ วิธีการพูดกับคน ไม่ได้มาพูดถึงวิธีการพูดยังกับลูกค้ายังไง
จะมาบอกว่าเมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ ควรรับมือยังไง!!
แล้วมาติดตามกันนะคะ
จงถามตัวเองเสมอว่า : "ถ้าเป็นเรา...เราจะรู้สึกยังไง"
การถามตัวเองว่า ถ้าเป็นเรา ... เราจะรู้สึกยังไง
เป็นการฝึกให้เราเป็นคนคิดก่อนที่จะพูดออกไป
ทุกครั้งที่เราโกรธใคร ให้เราฝึกคิดก่อนพูด จะได้ไม่เกิดผลเสียตามมาทีหลัง
และจะทำให้เราไม่มองแค่มุมของเรา แค่ด้านเดียว
เพราะการมองแค่มุมของเราแค่ด้านเดียวอาจทำให้เราไม่รู้จักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
เพื่อให้เรามองมุมของคนอื่นได้มากขึ้น เราสามารถเริ่มจากการตั้งคำถาม "ถ้าเราเป็นเขาหรืออยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับเขา เราจะรู้สึกยังไง"
จากตัวอย่างข้างต้น
เมื่อเราเจอการพูดจาไม่ดีกับเรา ขณะที่เรากำรอการซื้อของอยู่ เชื่อแน่ว่า ณ วินาทีแรกเราจะรู้สึกโมโห และถ้าเมื่อไรคุณใช้คำถามที่ว่า "ถ้าเราเป็นเขา...เราจะรู้สึกยังไง"
แน่นอนพอเราถามแบบนี้กับตัวเองเราจะเข้าใจเขามากขึ้น
และถ้าเป็นเราเจอลูกค้าเยอะขนาดนี้ เราคงจะโมโหเหมือนกัน
เห็นไหมล่ะค่ะ ว่า พอเรามีสติแล้วถามตัวเองก่อนจะพูดออกไป จะเข้าใจผู้อื่นและให้อภัยผู้อื่นมากขึ้น
#ขงจื้อ กล่าวว่า #ยิ่งคนเรารู้ความจริงมากเท่าไร #เราก็จะให้อภัยได้มากเท่านั้น
ดังนั้น การให้เวลาทำความเข้าใจต้นเหตุของพฤติกรรมไม่ดีขอคนอื่น จะเป็นจุดเริ่มต้นของการให้อภัย
หรือ ถ้าคุณถามตัวเองแล้ว ว่า
ถ้าเป็นเรา...เราจะรู้สึกยังไง
แล้วคุณรู้สึกไม่สมควรที่จะให้อภัยเขาหรือยิ่งทำให้รู้สึกโกรธเขายิ่งขึ้น
ให้เราเปลี่ยนความรู้สึกโกรธเป็นความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น
เพราะการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น จะทำให้เรามีความสุขไปด้วย
เสมือนการให้ นั้นคือ การให้อภัยน้้นเอง
เมื่อเราเลือกได้แล้ว ว่าเราเลือกจะโกรธ หรือ เลือกที่จะเห็นใจ
ถ้าคุณเลือกที่จะเห็นใจ สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากสถานการณ์นี้ คือ การเห็นคุณค่าของการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น แทนที่จะตอบโต้กลับให้สาสม แต่กลับเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในใจของผู้อื่น
โดยการพูดตอบกลับกับคนที่พูดจาไม่ดีกับเราในเชิงบวก
และเป็นมิตรต่อเขา
ถ้าเราปฎิบัติต่อผู้อื่นด้วยการให้เกียรติอย่างสม่ำเสมอ ผลกระทบที่มีต่อตัวเราและสังคงโดยรวมจะดีอย่างน่าประหลาดใจ
-เฮนรี ชาร์ล ลิงค์-
คุณอยากรู้ไหม มีคำถามง่าย ๆ 1 คำถาม ที่ช่วยให้เราสามารถลืมและให้อภัยกับคนที่ไม่ดีกับเราได้
เพียงเราถามคำถามกับตัวเองว่า "ทำไมพวกเขาถึงเป็นเช่นนั้น"
ถ้าเราไม่ได้เข้าใจเขาตั้งแต่แรกเราคงตอบกลับไปโดยใช้คำพูดที่ไม่ดีและไม่เกิดประโยชน์ เช่น อ้าว... ขอโทษนะ... ฉันนึกว่าที่นี่เป็นร้านขายเสื้อผ้าซะอีก" #คำพูดเสียดสีประชดประชั้นเหล่านี้มันไม่ได้ทำให้ใครรู้สึกดีขึ้นมาเลย รวมทั้งฉันและเขาคนนั้น
ดังนั้น ฉันจึงปิดปากตัวเองซะก่อนที่จะพูดไม่ดีออกไป และถามตัวเองว่า "ทำไมเขาถึงพูดแบบนั้นออกมา เขาอาจจะอ่อนล้าเพราะเจออะไรมาทั้งวันแล้ว หรือ เขาอาจอยู่ในช่วงมีประจำเดือน อาจทำให้เธอรู้สึกหงุดหงิดง่าย"
cr.วิธีพูดกับคน
#KHEM
#มาเพิ่มจุดพัฒนาตนเองไปพร้อมๆกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา