14 ต.ค. 2020 เวลา 00:07 • การศึกษา
ไม่ใช่เอกภพเท่านั้น ที่เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล
ครั้งหนึ่ง ชาวปอมเปอีเคยใช้วัตถุที่เรียกว่า "ลึงค์" ตกแต่งตามท้องถนน กำแพงและทางเข้าบ้าน จนถูกอาณาจักรอื่น ๆ มองว่า ปอมเปอี คือดินแดนแห่งรสเพศ ทั้งที่แท้จริงแล้ว ชาวเมือง ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอย่างนั้นเลย ความจริงเป็นอย่างไร ผู้เขียนจะแรงค์ให้ฟัง ใน 16 ข้อ ต่อไปนี้ครับ
ภาพวาดนักบุญคอสมาสและดาเมียน
1 ในชั่วโมงเรียนวิชาศีลธรรม หลายคนคงจะทราบดีว่า ไอ้จ้อนน้อยของท่านชายทั้งหลาย ควรสงบเสงี่ยม เจียมตัว อยู่ภายในบังเกอร์ ไม่ควรอย่างยิ่ง ที่จะเสนอหน้าออกมายิ้มแป้นให้ชาวโลกเห็น เนื่องจากมันเป็นสิ่งไม่ควร ไม่งาม แถมยังบัดสี บัดเถลิงอีกด้วย
2 แต่เชื่อหรือไม่ มนุษย์เราในอดีต กลับมองว่าลึงค์ (หรือร่างอวตารของไอ้จ้อน) คือศูนย์กลางแห่งจักรวาล ทุกสรรพสิ่งล้วนถือกำเนิดมาจากสิ่งนี้ โดยเฉพาะตำนานของเทพโอซิริส ซึ่งนอกจะเป็นเทพแห่ง โน่น นี่ นั่นแล้ว ยังควบตำแหน่ง เป็นเทพแห่งลึงค์ ของชาวอียิปต์ อีกด้วย
3 ฝั่งของชาวกรีก ลึงค์นั้นถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวพัน กับเทพอีกหลายองค์ ทั้ง เทพไพรอาปุส ไดโอไนซัส รวมไปถึง แอร์เมส ชาวโรมันก็ใช่จะน้อยหน้า มีเทพบาคคัส เป็นเทวลึงค์ ของชาวอียิปต์ก็อย่างที่กล่าวไปแล้ว คือเทพโอซิริส ส่วนอินเดียน่ะเหรอ ก็พระศิวะ ผู้เป็นเจ้าของศิวะลึงค์ อันเลื่องลือนั่นไง
4 ในยุคหนึ่ง มีนักบุญชื่อ ฟูแตง (Foutin) ชาวโปรวองซ์และชาวฝรั่งเศสศรัทธา จนสร้างรูปปั้นไว้เพื่อเคารพบูชา ความแปลกอยู่ตรงที่ยุคนั้น เมื่อมีการสร้างเทวรูป จะมีผู้คนแกะสลักท่อนไม้ รูปร่างคล้ายลึงค์ นำไปวางไว้กับเทวรูปนั้น ๆ เสมอ
5 ในกรณีรูปปั้นของ ฟูแตง เมื่อหญิงสาวผู้ใดมาขอพร หรือขอให้มีบุตร มักจะนำมีดมากรีดบนแท่งไม้แกะสลัก เพื่อนำเอาเศษไม้ชิ้นเล็ก ๆ กลับไปผสมน้ำดื่มด้วยเสมอ โดยมีความเชื่อว่า จะส่งผลให้ตั้งครรภ์ หรือแม้แต่ผู้เป็นสามี หากได้ดื่มน้ำนั้นแล้ว จะเพิ่มกำลัง วังชาให้องคชาตเป็นยิ่งนัก
6 นักบุญสายนี้ รู้จักกันในชื่อ Phallic Saints หรือนักบุญสายลึงค์ ผู้คนส่วนมากสมัยนั้น นิยมไปขอโชคลาภ และขอให้มีบุตร แล้วก็ไม่ได้มีเพียงแค่องค์เดียวเท่านั้น ในอิตาลีที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เห็นจะมี นักบุญคอสมาสและดาเมียน ที่เมืองอีแซร์เนีย ใกล้ ๆ กับเมืองเนเปิ้ลส์
7 ในยุคแห่งความรุ่งโรจน์ โชติช่วง ลึงค์ปรากฎเป็นหลักฐานมากมาย ยกตัวอย่างลึงค์ของชาวอียิปต์ ที่ไม่จำเป็นจะต้องสร้างขึ้น ให้เห็นเป็นรูปเสมือนจริงเป๊ะ ๆ เพียงแค่อาศัยรูปร่างทางเรขาคณิต ในแนวดิ่ง ก็สามารถสร้างเป็นอนุสาวรีย์แห่งลึงค์ได้ หรือที่เรียกว่า เสาโอเบลิส ก็มีให้เห็นอยู่มากมาย
8 เสาโอเบลิส ที่ยังคงตั้งตระหง่าน หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันก็มี Creopatra's Needle แปลว่า เข็มของคลีโอพัตรา อยู่ในเซ็นทรัลปาร์ค แห่งมหานครนิวยอร์ค หรืออีกเสาหนึ่งก็ Washington Monument ซึ่งก็อาศัยรูปลักษณ์แบบโอเบลิส ปักหลักเด่นอยู่ในวอซิงดัน
ภาพวาดนักบุญคอสมาสและดาเมียน
9 ยังมีตำนาน การถือกำเนิดของเทพวีนัส หรือเทพอะโพรไดต์ ที่เกี่ยวโยงกับลึงค์ คือ ครั้งเมื่อเทพโครโนส ซึ่งเป็นลูกของเทพไททัน และเทพีไกอา เกิดความไม่ลงรอยกัน เทพโครโนสจึงจัดการ "ตอน" อวัยวะส่วนหนึ่ง ของผู้เป็นบิดา แล้วทิ้งลงไปในทะเล จนเมื่อในที่สุด น้ำทะเล ทำปฎิกริยากับลึงค์ของเทพไททัน จึงก่อเกิดเป็นเทพอะโครไดต์ในที่สุด
10 เทพที่ถือเป็นผู้สร้างของอียิปต์อีกองค์ ชื่อว่า อะมุน (Amun) วิหารของเทพอะมุนนั้น อยู่ที่เมืองคาร์นัก สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสตกาล และเสียหายอย่างหนักในช่วงสงครามนโปเลียน เมื่อศตวรรษที่ 19 แต่ก็ยังเหลือเสาโอเบลิส น้ำหนักกว่า 330 ตัน ปักตัวลอยเด่น เป็นสง่า อยู่ด้านหน้าของวิหาร
11 ตำนานของชาวอียิปต์ เชื่อว่าเทพอะมุนสร้างโลกในแต่ละวัน ด้วยการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง นั่นทำให้เกิดกระแสน้ำไหลหลากไปทั่วแผ่นดิน ตามเรื่องเล่ายังระบุอีกว่า เทพอะมุน จะกลืนกินน้ำที่ตนเองสร้าง ก่อนจะบ้วนออกมาในภายหลัง
12 ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เทพผู้สร้างของอียิปต์องค์นี้ ทำมิดี มิร้ายตนเอง ด้วยมือของตัวเอง หรือเป็นด้วยปากของตัวเอง เพราะนอกจากรูปปั้นที่พบภายในวิหาร ยังมีภาพวาดหนึ่ง แสดงถึง ชายที่นอนงอเข่าอยู่บนพื้น และสอดใส่องคชาต ผ่านทางปากของตนเอง แต่ก็ไม่มีใครยืนยันได้ชัดเจน ว่านี่คือภาพของเทพอะมุน
13 เมืองที่เคยได้รับการขนานนามว่า เป็นเมืองคนบาป หรือนครปอมเปอี เคยใช้ลึงค์ตกแต่งหน้าบ้าน บนกำแพง หรือแม้แต่ทางเดิน พวกเขาไม่ได้มีความลุ่มหลงในเพศรสแต่อย่างใด แต่ชาวเมืองเชื่อว่า ลึงค์จะเป็นสิ่งที่ปกป้อง คุ้มครองตนและครอบครัวให้ปลอดภัย คล้าย ๆ กับปลัดขิกในบ้านเรา
14 อีกประการหนึ่ง ที่น่าสนใจคือ ในการแข่งขันใด ๆ ก็แล้วแต่ภายในอาณาจักรโรมัน ลึงค์ชิ้นโตจะถูกนำมาวางโชว์ไว้ที่หน้ารถม้า พร้อมกับผู้ชนะ มีความเชื่อว่า จะทำให้ชัยชนะครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งเดียว และครั้งสุดท้าย ในภายหลังถูกเปลี่ยนจากรูปลึงค์ ไปเป็นรูปนิ้วกลางแทน
15 อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้น ช่วงยุคกลาง รูปปั้นของนักบุญองค์ต่าง ๆ ได้รับอิทธิพลความเชื่อมากมาย ไม่เว้นแม้กระทั่ง การนำไปใช้ในพิธีแต่งงาน เพื่อเบิกโรงเจ้าสาว ก่อนที่เจ้าบ่าวจะปฎิบัติการ ฟิตเจอริ่งกับเธอ ทั้งนี้เชื่อว่าลึงค์ของนักบุญ จะนำพามาซึ่งเรื่องโชคดี ลูกหลาน และความอุดมสมบูรณ์
16 อิงจากหนังสือของ โทมัส ไรท์ ชื่อหนังสือ The Worship Of The Generative Power กล่าวไว้ว่า เขาเชื่อว่าหญิงที่ไม่มีโอกาส เปิดพรมจรรย์ด้วยลึงค์ของนักบุญ จะหันไปใช้สิ่งของอย่างอื่นแทน สิ่งที่จะนำพามาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ คงจะหนีไม่พ้น พืชผักและผลไม้ ตามที่หาได้ง่ายทั่วไป
กดไลค์หากถูกใจ
แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์
คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม
พูดคุย และทักทายผ่านอีเมลล์หรือ HangOut ที่
แหล่งข้อมูล ภาพ และสื่อประกอบ
หนังสือ ประวัติศาสตร์ใต้สะดือ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา