17 ต.ค. 2020 เวลา 04:40 • ข่าว
3 สถานการณ์ร้อนปัจจุบัน ใน 3 ประเทศอาเซียน
จุดแตกหักระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
ตอนนี้สถานการณ์ใน 3 ประเทศอาเซียน กำลังอยู่ในจุดที่ประชาชนใกล้จะแตกหักกับรัฐบาล จากการออกกฎหมายหรือบังคับใช้กฎหมายที่ส่อไปในทางริดรอนสิทธิของประชาชน จนเกิดการชุมนุมประท้วงในหลายพื้นที่
🇹🇭 ไทย : ผู้ชุมนุมคณะราษฎรประท้วงขับไล่รัฐบาล เรียกร้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะหมวดที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ จนมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา โดยเมื่อคืนนี้มีการชุมนุมที่แยกปทุมวัน ใกล้กับย่านการค้าสยามสแควร์ ห้างสรรพสินค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามพารากอน และ MBK Center เจ้าหน้าที่สลายฝูงชนได้ทำการสลายการชุมนุมโดยฉีดน้ำผสมสี น้ำแรงดันสูง และแก๊สน้ำตา จนเกิดความวุ่นวายขึ้นในช่วงหัวค่ำ แกนนำและผู้เข้าร่วมชุมนุมบางส่วนถูกควบคุมตัว ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวประชาไทก็โดนคุกคามในปฏิบัติหน้าที่และถูกควบคุมตัวขึ้นรถไปเช่นกัน จนกระทั้งการชุมนุมสลายตัวและยุติลงในเวลา 23.00 นาฬิกา
ทั้งนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังไม่มีการทำลายทรัพย์สินแบบหนักๆ หรือมีการเผาอะไร และมีการนัดหมายชุมนุมกันอีกครั้งในทุกๆ ตอนเย็น
การชุมนุมประท้วงกฎหมาย 'RUU CIPTA KERJA' ซึ่งเป็นกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในอินโดนีเซีย แต่ในเนื้อหากฎหมายกลับลดทอนสิทธิของแรงงานในประเทศ ทำให้คนทำงานภายในกฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถจะเรียกร้องขอค่าแรงขั้นต่ำได้ ยกเลิกจ่ายชดเชยกรณีถูกเลิกจ้าง ผลักดันสิทธิพิเศษของ Outsource ให้เหนือกว่าพนักงานประจำ เป็นการเอื้อประโยชน์กลุ่มทุน ตอนนี้การชุมนุมก็ยืดเยื้อมานานนับสัปดาห์แล้ววัน ควมรุนแรงถึงขั้นเผาสถานีรถ BRT สถานีรถไฟฟ้าในกรุงจาการ์ตา เผารถยนต์ ทำลายอาคารต่างๆ ในหลายเมืองใหญ่ของประเทศตั้งแต่วันแรกที่มีการชุมนุม เจ้าหน้าที่ปราบปรามผู้ชุมนุมกันจนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เพราะเวลานี้ถึงขั้นยิงกระสุนยางกันแล้ว
โฆษกตำรวจกรุงจาการ์ตารายงานว่า ขณะนี้ได้จับกุมผู้ชุมนุมแล้ว 1,377 ราย ซึ่งหนึ่งในผู้ถูกจับกุมเป็นนักศึกษาถึง 800 คน และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีคนงานจากสหภาพแรงงานและสหพันธ์ได้นัดหยุดงานเป็นเวลา 3 วันเพื่อประท้วงการร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมามีการประท้วงรุณแล้วแล้ว 8 ครั้ง นำไปสู่การจลาจลและผู้ประท้วงมากกว่า 5,000 คนถูกควบคุมตัว
🇵🇭 ฟิลิปปินส์ : รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ผ่านพระราชบัญญัติต่อต้านการก่อการร้าย หรือ Junk Terror Bill โดยเนื้อหาที่ครอบคลุมไปถึง การชุมนุมประท้วงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมทางการเมือง หรือการชุมนุมเรียกร้องสิทธิทางกฎหมายอื่นๆ อาจถือเป็น “การก่อการร้าย” ได้ภายใต้คำจำกัดความของกฎหมายนี้ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการรุกล้ำสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง
.
ภายใต้มาตรา 4 ของ Republic Act 11479 หรือพระราชบัญญัติต่อต้านการก่อการร้ายปี 2020 ระบุว่า การก่อการร้ายจะต้องไม่รวมถึงการสนับสนุนการประท้วง ความไม่เห็นด้วยการหยุดงาน การดำเนินการทางอุตสาหกรรม และการใช้สิทธิทางกฎหมายแพ่งและทางการเมืองอื่น ๆ ที่มีคล้ายคลึงกัน ตราบใดที่การชุมนุมเหล่านี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อรัฐ และเป็นอันตรายต่อบุคคล หรือก่อให้เกิด "ความเสี่ยงร้ายแรง" ต่อความปลอดภัยสาธารณะ
.
กระทรวงยุติธรรมของฟิลิปปินส์ได้ขยายบทบัญญัตินี้โดยกล่าวว่า ผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำเหล่านี้อาจดีรับโทษในระดับการเป็นอาชญากรรมของการก่อการร้าย เมื่อจุดประสงค์ของการกระทำเข้าข่ายสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อไปนี้
• ข่มขู่ คุกคาม ความเป็นส่วนตัวของประชาชนทั่วไป
• สร้างบรรยากาศหรือเผยแพร่ข้อความที่สร้างความกลัว
• ยั่วยุหรือมีอิทธิพลโดยใช้การข่มขู่รัฐบาล หรือองค์กรระหว่างประเทศใดๆ
• สร้างสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อมั่นคงหรือทำลายโครงสร้างพื้นฐานทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมอย่างร้ายแรง
• สร้างเหตุฉุกเฉินสาธารณะ หรือบ่อนทำลายความปลอดภัยสาธารณะอย่างร้ายแรง
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ผู้กำหนดกรอบรัฐธรรมนูญ และผู้สนับสนุนสิทธิมนุษยชน ได้ขอให้ศาลฎีกายกเลิกกฎหมายดักล่าว เป็นเพราะคำจำกัดความของการก่อการร้ายที่ค่อนข้าง “คลุมเครือและกว้างเกินไป” และการชุมนุมต่างไม่ควรเป็นการก่อการร้าย
การก่อการร้ายภายใต้กฎหมายนี้ยังหมายถึงการกระทำใดๆ ที่มีเจตนาทำให้บุคคลเสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัส และสร้างความเสียหายหรือทำลายทรัพย์สินของรัฐและส่วนตัว รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างกว้างขวาง ผู้ก่อการร้ายยังรวมถึงผู้ที่พัฒนาผลิต ครอบครอง จัดหา ขนส่ง หรือใช้อาวุธหรือวัตถุระเบิด และการปล่อยสารอันตรายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดความเสียหาย
การกระทำเหล่านี้มีโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการรอลงอาญา
ส่วนบุคคลที่คุกคาม สมคบคิด เสนอ และยุยงให้กระทำการก่อการร้ายจะต้องรับโทษจำคุก 12 ปี เช่นเดียวกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการวางแผน การฝึกอบรม การเตรียมการ และการอำนวยความสะดวกในการก่ออาชญากรรม บุคคลใดก็ตามที่มีความรู้เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายแม้จะไม่มีส่วนร่วมก็จะถูกจำคุก 12 ปี
มีการกำหนดบทลงโทษเดียวกันกับทุกคนที่ "สมัครใจและรู้เท่าทัน" เข้าร่วมองค์กรก่อการร้ายหรือรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว องค์กรก่อการร้ายคือองค์กรที่ศาลอุทธรณ์สั่งห้ามหรือผิดกฎหมาย ซึ่งกำหนดโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการมีส่วนร่วมในการก่อการร้าย
ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นกลางปีที่ผ่านมาประชาชนในกรุงมะนิลา เคยออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแล้ว มีการเดินขบวนตามท้องถนน แต่สุดท้ายรัฐบาลของนายโรดริโก้ ดูเตอร์เต้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ก็ผลักดันกฎหมายนี้จนรัฐสภาประกาศให้ใช้กฎหมายดังกล่าว
โฆษณา