17 ต.ค. 2020 เวลา 08:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ล้ำไม่หยุด !! Google เผยหุ่นต้นติดล้อสำหรับตรวจพืชพันธ์รายต้นในไร่ เพิ่มผลผลิตต่อแปลงด้วย insight
ปัจจุบันเกษตรกรทั่วโลกเผชิญปัญหาใหญ่เดียวกันคือผลผลิตต่อไร่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ เนื่องมาจากการเพาะปลุกพืชต้องอิงจากสภาพแวดล้อม และดินฟ้าอากาศ ทาง Google เล็งเห็นถึงปัญหานี้จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ติดล้อ (ต่อจากนี้จะขอเรียกว่า Buggy นะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการบรรยายครับผม) เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ครับ
โครงการ Mineral ส่งหุ่นยนต์ Buggy ศึกษาข้อมูล
หุ่นยนต์ Buggy เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่มีชื่อว่า Mineral ครับ โดย Google คาดหวังจะสร้างสุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนโลกครับ
หุ่นยนต์ Buggy ประกอบด้วยกล้องความละเอียดสูงและ sensor ต่างๆ ติดกับตัวโครงที่เป็นรูปตัว U และล้อขนาดใหญ่เพื่อให้เจ้า Buggy สามารถจะวิ่งข้ามเหล่าพืชพันธ์ต่างๆ และเก็บข้อมูลโดยไม่เหยียบหรือทำลายมันลง เป้าหมายของหุ่นยนต์ Buggy คือการเก็บข้อมูลการเติบโตของพืชรายต้นเพื่อจะนำไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อไปครับ
คุณ Elliott Grant หัวหน้าโครงการ Mineral หวังว่าการใช้เครื่องมือที่ดีขึ้น (มาใช้หุ่นยนต์ Buggy นั่นเอง) จะช่วยให้อุตสาหกรรมการเกษตรปรับโฉมวิธีการที่อาหารจะโตขึ้น (ผมเข้าใจว่ารวมเรื่องการปรับปรุงพันธ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงด้วยครับ)
เป้าหมายสำคัญของโครงการคือเมื่ออุตสาหกรรมการเกษตรมีผลผลิตที่มากขึ้น อย่างน้อยก็จะเป็นตัวช่วยให้แก้ไขปัญหาความขาดแคลนอาหารได้อย่างยั่งยืน
ในขณะที่ชาวนามีข้อมูลของส่วนประกอบของดินที่จะทำให้ต้นไม้งอกงามหรือสภาพอากาศที่เหมาะสมกับพืชชนิดต่างๆ หุ่นยนต์ Buggy ถูกออกแบบให้ตรวจสอบเพื่อวัดผลความงอกงามของต้นไม้อย่างแม่นยำเมื่อเทียบกับดินและลมฟ้าอากาศ หากเอาองค์ความรู้ทั้ง 2 อย่าง มารวมกันแล้วต่อยอดด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมและผลักดันสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น อนาคตด้านความมั่นคงทางอาหารของโลกเราย่าจะสดใสอยู่ไม่น้อยเลยครับ
เมื่อหุ่นยนต์ Buggy ทดลองภาคปฎิบัติ
โครงการ Mineral ได้เริ่มทดลองภาคสนามโดยส่งเจ้า Buggy ไปเดินลุยสวนในที่ต่างๆ โดยเริ่มจาก US ครับ เมื่อหลายปีก่อนหุ่นยนต์ Buggy ได้ขับเคลื่อนผ่านไร่สตรอว์เบอร์รีในแคลิฟอร์เนียและต้นถั่วเหลืองทิ่อิลลินอยส์ครับ
นอกจากประเทศ US แล้ว ทาง Mineral ได้ทำการทดลองหุ่นยนต์ดังกล่าวในกับนักเพาะพันธ์และเกษตรกรในประเทศอาเจนตินา แคนาดา และอเมริกาใต้อีกด้วยครับ
โดยระหว่างทางที่ Buggyได้ถูกทดสอบในสวนต่างๆ ทางนักวิจัยได้เก็บรายละเอียดของพืชพรรณที่มีความหลากหลายผ่านทางภาพความละเอียดสูงครับ
ยิ่งไปกว่านั้นนอกเหนือจากการเก็บจำนวนของผลไม้แต่ละชนิด หุ่นยนต์ Buggy ยังเก็บข้อมูลส่วนสูงของต้นพืช ขนาดของใบ ไปจนถึงขนาดของผลด้วย และเมื่อเอาข้อมูลทั้งหมดมาต่อเข้ากับระบบ machine-learning ทำให้สามารถค้นพบรูปแบบและ insight ทั้งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์แก่เกษตรครับ
คุณ Ian Drew ผู้อำนวยการกองบรรณาธิการสื่อผู้บริโภคและกลุ่มข้อมูลกล่าวว่าการนำหุ่นยนต์มาใช้ในไร่กสิกรรมเป็นสิ่งที่เหมาะมาก เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถเก็บข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ เช่น แมลงศัตรูพืช ไปจนถึงตรวจว่าต้นกล้าขึ้นตามแนวที่ได้วางไว้ในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้หุ่นยนต์อาจช่วยถอนวัชพืชหรือขยับรั้วแทนชาวไร่ถ้ามันเก่งพอ ซึ่งมัน (การมีหุ่นยนต์ในไร่) ทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้นครับ
เกษตรกรส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี การเพิ่มรายได้ให้พวกเขาไม่ว่าจะมากหรือน้อยย่อมช่วยให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นครับ
ปัญหาของโครงการ Mineral ที่ต้องได้รับการแก้ไข
มีด้านที่ดีก็ต้องมีจุดบกพร่อง เจ้า Buggy เองจะเก็บข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปประมวลผล ซึ่งโครงการ Mineral ก็จะพบปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในทุกขั้นตอนครับ เนื่องจากข้อมูลที่ Buggy จัดเก็บมาจะมีข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสถาณที่เพื่อเทียบสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงข้อมูลความลับต่าง ๆ ที่เจ้าของข้อมูลไม่ต้องการให้เปิดเผยครับ ปัญหาด้านการจัดเก็บช้อมูลจึงต้องถูกจัดการด้วยความระมัดระวัง สิ่งสุดท้ายที่อยากจะให้เกิดขึ้นคือข้อมูลของเกษตรกรรั่วไหลออกไป
ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลเหล่านี้เป็นความมั่นคงในภาคกสิกรรมซึ่งหมายถึงอาหารที่จะใช้ภายในประเทศ เป็นเรื่องปกติที่ภาครัฐจะอยากเข้ามามีส่วนร่วมไปจนถึงกำหนดการเข้าถึงของข้อมูลอันล้ำค่าเหล่านี้ครับ
ทั้งนี้ผมเองก็หวังว่า Buggy และเทคโนโลยีอื่น ๆ จะสามารถยกระดับชิวิตของคนในโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้นครับผม
โฆษณา