17 ต.ค. 2020 เวลา 15:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กังหันลมแกนตั้งขนาดเล็กซึ่งติดไว้กลางถนนนี้ จะช่วยเก็บเกี่ยวพลังงานจากรถที่วิ่งไปมาเพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากลับมาให้เราได้ใช้กัน
ติดเอาไว้ช่องกลางระหว่างเลนที่รถวิ่งส่วนทางเพื่อใช้กระแสลมจากรถทั้งสองฝั่งในการผลิตไฟฟ้า
เวลายืนอยู่บนฟุตบาทแล้วมีรถวิ่งผ่านเราไปเร็ว ๆ ก็จะรู้สึกได้ถึงกระแสลมที่เกิดจากรถวิ่งแหวกอากาศกันไปใช่ไหมครับ
ทีนี้ถ้าเราเอากังหันลมแนวตั้งไปติดไว้ที่เสาไฟกลางถนนระหว่างเลนรถที่วิ่งสวนกันละ??
นี่ก็คือแนวคิดของ Barry Thomson นักธุรกิจชาวอังกฤษในการพัฒนากังหันลมใบพัดแนวตั้งเพื่อไปติดไว้ที่เสาไฟตรงกลางของถนนเลนสวน เพื่อใช้แรงลมจากรถยนต์ที่วิ่งสวนกันไปมาในการผลิตกระแสไฟฟ้า
โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งนั้นจะให้พลังงานกับหลอดไฟแสงสว่างของตัวเสาไฟเอง และหากเหลือพอก็จะส่งขายกลับเข้าไปในระบบ
ยิ่งรถวิ่งสวนกันเยอะและเร็วก็จะได้แรงลมมาก
ทั้งนี้ด้วยการเคลื่อนที่ของรถที่วิ่งสวนทางกันจะก่อนให้เกิดกระแสลมไหลในทิศตรงกันข้ามของฝั่งเสาไฟ
2
ซึ่งถ้าหากเราเอาใบพัดแนวตั้งแบบเดียวกับในพัดลมกรงกระรอกไปติดไว้ที่เสาไฟที่อยู่ระหว่างกระแสลมนี้ ก็จะสามารถเป็นต้นกำลังไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้แบบเดียวกับกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่
ทิศทางการหมุนของกังหันแบบแนวตั้งนี้
โดยเจ้า Alpha 311 กังหันลมแกนตั้งขนาดเล็กของ Thomson นี้มีต้นทุนอยู่ที่ตัวละ 800,000 บาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้กำลังไฟสูงสุดประมาณ 6 กิโลวัตต์
1
เทียบได้กับไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ขนาด 1 ตารางเมตร 24 แผงเลยทีเดียว
หน้าตาและส่วนประกอบของ Alpha 311
และจุดเด่นอีกข้อที่น่าสนใจของเจ้ากังหันลมตัวนี้คือไม่ต้องปักเสาใหม่เพื่อที่จะใช้ผลิตไฟฟ้า เพราะสามารถนำมาประกบติดกับเสาไฟส่องสว่างที่มีอยู่ข้างถนนอยู่แล้วได้เลย
1
Thomson เชื่อว่าเจ้า Alpha 311 จะช่วยให้อังกฤษสามารถบรรลุเป้าหมายในการเป็นประเทศปลอดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ภายในปี 2050
ก็นับเป็นอีกนวัตกรรมที่น่าสนใจทีเดียวครับ เก็บเกี่ยวพลังงานกลับมาจากกิจกรรมของมนุษย์เราเองนี่แหละ ช่วยลดการเผาน้ำมันได้อีกหน่อยก็ยังดี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา