23 ต.ค. 2020 เวลา 10:59 • ปรัชญา
(20+โปรดใช้วิจารณญาณ) 2 จิตวิทยาการเมืองที่ทำให้ประชาชนฝ่ายรัฐบาล/ค้าน เกลียดชังกันเอง
เคยไหมครับ ที่เรามักจะเคยได้ยินคำพูดทำนองว่า "คุณคือส..ิ่ม" "คุณคือคว...ส้ม" "คุณคือพวกล้ม..." "คุณคือพวกโหน..." ซึ่งคำพูดเหล่านี้ ล้วนเป็นคำพูดเพื่อใช้ในการแบ่งแยกกลุ่มก๊วนทางการเมืองในภาคของประชาชน
และหากว่าคุณได้กล่าวคำพูดหรือประโยคใดก็ตามที่กำลังจะสื่อถึงการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คุณก็จะถูกชุดคำพูดเหล่านี้ให้ผลักไปอยู่อีกฝ่ายหนึ่งโดยทันที ไม่ว่าคุณจะให้เหตุผลหรือมีข้อมูลที่เป็นความจริงมากแค่ไหนก็ตาม เพราะการเมืองมันเป็นเรื่องของ"ความเชื่อที่มักเป็นศัตรูกับความจริง"
ผลก็คือ เราจะไม่มีทางได้รู้เลยว่า ความจริงคือสิ่งที่เราเห็นหรือสิ่งที่เราไม่เห็นกันแน่ เพราะเราไม่เคยฟังชุดข้อมูลจากฝ่ายตรงข้ามเลย เปรียบเสมือนกับโลกที่ไม่เคยบรรจบกัน
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น Near us จะอธิบายให้ฟังครับ
ในโลกยุคปัจจุบัน Social Platform ได้เข้ามามีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นของผู้คนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram YouTube Line และ Twitter ต่างที่เป็นตัวจุดฉนวนประเด็นและกระแสต่างๆที่มีความร้อนแรงในสังคมได้ในทุกๆวันอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย ซึ่งนับวัน Platform เหล่านี้ก็ได้มีการพัฒนาอัลลอริทึมหรือ AI ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อคัดกรองข้อมูลที่เราอยากรู้มากที่สุดมาไว้ที่หน้าจอของเราโดยเร็วที่สุด ทำให้เมื่อเราเปิดหน้าจอ Smart phone ขึ้นมา สิ่งแรกที่เราจะได้เห็นอยู่เสมอ มันก็ล้วนเป็นสิ่งที่เราอยากรู้ทั้งสิ้น
แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่แทบจะไม่ได้พัฒนาเลยและยังคงอยู่กับเราจวบจนปัจจุบัน นั่นก็คืออคติทางจิตวิทยานั่นเอง มาวันนี้ Near us จึงมีจิตวิทยาดีๆมาจากนักเขียนหนังสือจิตวิทยาชื่อดังในยุโรปเรื่อง 52 วิธีตัดสินใจให้ไม่พลาด ของ Rolf Dobelli ที่ได้เขียนเกี่ยวกับอคติที่ทำให้มนุษย์เรามักจะมีธรรมชาติของการแบ่งแยกโดยไม่รู้ตัวครับ
และจิตวิทยาการเมืองที่ก่อให้เกิด Digital Bias เพื่อสร้างความเกลียดชังฝ่ายตรงข้าม มีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง ได้แก่
จิตวิทยาที่ 1 อคติจากการกลัวติดเชื้อ
https://www.sentangsedtee.com/today-news/article_117993 และ https://www.ryt9.com/s/iq01/3160537
Rolf Dobelli ได้เขียนเอาไว้ว่า "คุณยินดีสวมเสื้อของฮิตเลอร์ที่ซักทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วหรือปล่าว ผมเดาว่าคุณคงไม่ค่อยอยากทำแบบนั้นหรอก เพราะนั่นแสดงว่าคุณเองก็เชื่อในพลังลึกลับเช่นกัน เพราะแม้ตอนนี้เสื้อตัวนั้นจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับฮิตเลอร์แล้ว แต่คุณก็ยังไม่อยากสวมมันอยู่ดี ความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับสิ่งของเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองข้ามได้ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าอคติจากการกลัวติดเชื้อ"
คำถามที่หลายๆคนอาจสงสัยเมื่อได้อย่างบทความข้างต้นก็คือ แล้วใงล่ะ?
งั้นผมจะลองตั้งคำถามให้คุณผู้อ่านทุกคนลองนึกภาพตามนะครับ
1.หากว่าคุณเป็นคนที่รักประ.... จันทร์....ชา และกลุ่มปกป้องสถาบันเอามากๆ คุณพร้อมที่จะออกไปชุมนุมเพื่อปกป้องสิ่งที่คุณรักอย่างสุดชีวิตและสุดหัวใจ คำถามมีอยู่ว่า
1.1 คุณกล้าที่จะจับที่ปักหมุดของคณะราษฎรเพื่อที่จะสัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงตามอุดมการณ์ของพวกเขาหรือไม่?
https://thestandard.co/vocational-students-group-overlooking-rally/
1.2 คุณกล้าที่จะใส่เสื้อตัวนี้หรือปล่าว
2.หากว่าคุณเป็นคนที่รักธนา....และกลุ่มคณะราษฎรแบบสุดๆ คุณพร้อมที่จะออไปต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและอุดมการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงของชาติให้ดียิ่งขึ้น คำถามมีอยู่ว่า
2.1 คุณพร้อมที่จะโค้งและทำความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 และ 10 เพื่อรำลึกถึงในคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างขึ้นมาและกล้าที่จะจับพระบรมฉายาลักษณ์หรือไม่?
2.2 คุณกล้าที่จะใส่เสื้อเหลืองหรือปล่าว?
หากว่าคุณยังไม่สามารถก้าวข้ามจากความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับสิ่งของในคำถามข้างต้นได้ นั่นก็แปลว่า คุณกำลังตกเป็นเหยื่อของ อคติจากการกลัวติดเชื้อ เสียแล้วล่ะครับ และเมื่อคุณตกเป็นเหยื่อของอคตินี้ อย่าว่าแต่การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายตรงข้ามเลย แค่วัตถุสิ่งของก็ทำให้คุณสามารถปิดหูปิดตาได้แล้ว....
ปล.บทความนี้ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะกล่าวหาว่าใครคือเชื้อโรคนะครับ โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ
จิตวิทยาที่ 2 อคติที่มีต่อคนในกลุ่มและคนนอกกลุ่ม
Rolf Dobelli ได้เขียนเอาไว้ว่า "ความลำเอียงและความเกลียดชังเป็นปฏิกริยาตอบสนองอัตโนมัติที่เรามีต่อคนในกลุ่ม และการรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับกลุ่มจะบิดเบือนมุมมองที่คุณมีต่อสิ่งต่างๆ"
เราลองมาดูกรณีศึกษาเกี่ยวกับ #แบนดาราส..ิ่ม กันดูดีกว่าครับว่า อคตินี้มันทำงานอย่างไร
กรณีศึกษานี้เกี่ยวกับกรณีของ อาร์ต พศุ...ม์ บ...นแ...้ม ที่ได้โพสต์เตือนสติชาวเน็ต แต่แล้วกลับโดนชาวเน็ตคอมเมนต์ด่าว่าเป็นพวก ดาราส...ิ่ม แทน
https://www.newtv.co.th/news/36306
โดยเจ้าตัวได้ออกมาโพสต์ข้อความเตือนสติชาวเน็ตผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว ถึงกรณีที่มีชาวเน็ตหลายคนลุกฮือขึ้นมาติดแฮชแท็กดัง #RIPประเเทศไทย โดยมีใจความว่า
“จะ RIP ใครก็ทำ แต่อย่า RIP ประเทศไทยเลย พี่น้อง ชาวไทย นี่แผ่นดินเรานะ สาปแช่งแผ่นดินตัวเองดีหรอ (ไม่อยู่ฝ่ายไหน อยู่ฝ่ายประเทศไทย)”
พร้อมกับแคปชั่นว่า… “เตือนสติ แผ่นดินของพวกเรา อย่าพูดอะไรไม่ดีถึงแผ่นดินเราเลย #งดดราม่า #ไม่อยู่ฝ่ายไหน”
ซึ่งในกรณีนี้มันมองได้ 2 มุมมองครับ คือ 1.เขาอยากให้ประเทศไทยไม่ต้องกลับไปนองเลือดหรือเกิดความวุ่นวายอีกครั้ง หรือ 2.เขาชอบฝ่ายรัฐบาลแต่ไม่ได้บอกตามตรง
แต่สุดท้ายก็มีชาว Social กลุ่มหนึ่งที่มีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันเข้าไปถล่มใน IG เพราะคิดว่ามันคือข้อที่ 2 จนกลายเป็นเรื่องดราม่าในที่สุด ซึ่งไม่แน่ว่า เขา"อาจจะ"อยู่ในข้อที่ 1 ก็ได้
อีกกรณีศึกษาหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณ ม...า อร...ภา ที่ค่อนข้างจะเอนเอียงไปทางกลุ่มปกป้องสถาบันได้โดนกระแสชาวเน็ตต่อต้าน หลังจากที่ไปคอมเม้นต์ถึงกลุ่มนศ.ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ว่า "นอนแหก..ีอยู่บ้านไป ไม่ต้องมาเรียน เด็กเปรต" ทำให้ต้องยุติการทำหน้าที่พิธีกรรายการ ข่าวใส่ไข่ และ 3 แซ่บ
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_4785868
แต่ดราม่ายังไม่หยุด เพราะได้มีการลามไปถึงคนรอบข้างอาทิ เหมี่ยว ปวัน... ท็อป ดาร...ีนุ... ที่ร่วมชุมนุมกปปส. และพูดบนเวทีประเด็นเรื่องมือปืนป็อปคอร์น รวมทั้งนก ส....จัย ที่เข้าไปให้กำลังใจ ม...า อร....ภา ด้วย
ซึ่งในกรณีนี้เป็นกรณีที่มีความแตกต่างจากกรณีแรกนึดหน่อยก็คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่ออกมาเตือนด้วยถ้อยคำที่ห่วงใยมากกว่าดูถูก แต่ในกรณีนี้คือเป็นการที่ใช้ถ้อยคำที่ค่อนข้างรุนแรงพอสมควรซึ่งเป็นการเน้นย้ำอคติของตัวเธอเองว่าพวกกลุ่มคณะราษฎรเป็นพวกที่ใช้ไม่ได้และในกลุ่มของพวกเธอเองที่เคยไปเป่านกหวีดด้วยคือกลุ่มที่ถูกต้องดีงามแล้ว
และสุดท้ายอคตินี้ก็ทำร้ายตัวเธอเองครับ และคนที่โดนด้วยอีกคนไม่ใช่ใครที่ไหนไกล คนนั้นก็คือ คุณแม่ของเธอเองครับ โดยชาว Social ก็ได้เข้าไปต่อว่าในเพจ ขายห่อหมกของคุณแม่ ม...า อร....ภา ทำให้คุณแม่ของเธอเองก็ต้องเดือดร้อนตามไปด้วย
Rolf Dobelli ได้เขียนทิ้งท้ายเอาไว้ว่า "คุณจะมองว่าคนที่อยู่นอกกลุ่มของคุณดูเหมือนกันไปหมดจนเกินความจริง ปรากฎการณ์นี้เรียกว่าอคติจากการมองเห็นคนนอกกลุ่มเหมือนกันไปหมด ซึ่งเป็นต้นตอของการเหมารวมและความลำเอียง"
Reference
1. หนังสือ 52 วิธีตัดสินใจไม่ให้พลาด
โฆษณา