21 ต.ค. 2020 เวลา 12:55 • ไลฟ์สไตล์
สวัสดีค่าา... เพื่อนๆทุกท่าน
มาแล้วค่ะตอนต่อ รึว่า ตอน๒ ของบทความที่ชวนเพื่อนๆมาร่วมฉลอง
'วันแห่งการดมยาสลบของโลก' ที่เพิ่งผ่านพ้นไปค่ะ เย้ๆๆ ⏰🎼🎶
และวันนี้ ดิชั้นกะจะให้เป็นตอนจบ แต่จะเป็นตอนจบบริบูรณ์เลยรึไม่ ก็ต้องมาลุ้นไปด้วยกัน เน้อะคะเพื่อนๆ
💕😷💒
สำหรับโพสท์ชุด 'ที่สุดของที่สุด' ... จากประสบการณ์กว่ายี่สิบปีของวิสัญญีแพทย์ ว่าที่ชีผ่านมานั้นได้เจอะกับเคสอะไรบ้างที่ยังตราไว้ในความทรงจำ
ความเดิมจากตอนที่แล้ว
มีเล่าไว้ ถึงคนไข้น้ำหนักมากที่สุดกันไป งั้นหนนี้ ย่อมมาถึงคิวของ...
'คนไข้น้ำหนักกะจิ๊ดริดที่สุด' ของการดมยา&ผ่าตัด 💝🧭☘
แบบที่เจอะกับตัวเองอยู่ออกบ่อย และยังเป็นการผ่าตัดแบบเดียวกัน นั่นก็คือ น้องตัวจิ๋วที่คลอดก่อนกำหนด
แล้วมีภาวะที่ต้องผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของเส้นเลือดแดง ที่ต่อออกมาจาก'เส้นเลือดแดงใหญ่' ( Aorta )
💉👶📚
เนื่องเพราะน้องคลอดก่อนเวลาอันควร เส้นเลือดที่เคยไหลเวียนแบบเดิมๆ
ดังเช่นที่เป็นละอ่อนน้อย เมื่อครั้งยังเป็น 'embryo' ของน้อง จึงปรับสภาพไม่ทัน ในช่วงเวลาหลังคลอด
ส่งผลให้เส้นเลือดที่ควรจะตีบตัว เพื่อปิดการไหลเวียนหลังจากที่น้องคลอดออกมาแล้ว กลับยังคงทำงานต่อไป เสมือนกับยังอยู่ในท้องแม่ 💘🧸💒
ผลก็คือ ระบบไหลเวียนทั้งหัวใจและระบบเส้นเลือดในปอดของน้องตัวจิ๋ว ก็เลยปรับไม่ได้จนถึงขั้นล้มเหลว
การรักษา คือ ต้องให้ยากระตุ้นหัวใจและเพิ่มความดันเลือด โดยรักษาใน 'ICUเด็กอ่อน'
จากนั้นหมอเด็กจะส่งตัวน้องต่อมาที่ทีมผ่าตัดของเรา เพื่อรับการผ่าตัดปิดเส้นเลือดที่ไหลเวียนแบบผิดปกติดังกล่าว
ซึ่งถ้าจะเทียบขนาดตัวของน้องจิ๋วนะคะ ก็จะเท่ากับ ๑อุ้งมือของเราโดยประมาณ นี่คือเฉพาะลำตัวไม่รวมแขนขากะจิ๋วหลิวนะคะ
นน.ตัวน้อง ก็ประมาณแค่พันกว่าๆกรัมเท่านั้นค่ะ และพอเราจะติดเครื่องตรวจใดๆ เพื่อเตรียมการดมยาฯ
ก็จะรู้สึกว่าทั้งเครื่องมือ & ทั้งมือไม้ของเรา ทำไมมันช่างใหญ่ยักษ์เกินไป สำหรับคนไข้ตัวน้อยๆ เหล่านี้ซะจริงๆค่ะ
💕🌿🥰
หลังจากให้ยาสลบที่พอเหมาะ ก็จะถึงตอนเริ่มผ่าตัด ช่วงนี้จะแอบมีสนุกสนานเล็กๆ ตรงที่ตัวของน้องก็ช่างจิ๋วกะจิ๊ดริด
ฝั่งคนดมยาหัวเตียงก็ต้องคอยตรวจตราอุปกรณ์ให้ยาที่ระโยงระยางเข้าสู่ร่างเล็กๆ ว่ายังอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมอยู่มั้ย?
เราจะต้องคอยระวังไม่ให้เกิดการเลื่อนตำแหน่ง ของทุกๆอุปกรณ์ที่อาจเกิดได้ ในขณะที่จัดท่าตะแคงตัวน้อง และในช่วงที่คลุมผ้าสเตอไรล์ถึง ๒-๓ชั้น ขณะเตรียมการก่อนลงมีดผ่าตัด
เพราะหากเกิดการเลื่อนตำแหน่งแม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม
ล้วนส่งผลเสียหายหลายแสนหลายล้านได้หมดเลยล่ะค่ะ
1
เพราะด้วยขนาดตัวอันเล็กจิ๋วของคนไข้ผ่าตัดของเรา ทุกอย่างก็เลยต้องเป๊ะสุดๆ
อย่างปริมาณยานี้ก็คิดกันเป็น ๐.๐๐๑ มก. อะไรงี้เลยล่ะค่ะ 😷💗✌
ด้านทีมหมอผ่าตัดเอง บางทีเค้าก็ต้องแอบทำตัวลีบๆด้วยนะคะ จะเผลอกางศอกกางแขนมากไปก็ไม่ได้
เพราะเนื้อที่จะให้ผ่าตัดก็ช่างน้อยนิดกะจิ๊ดริด เคยมีบ้างเหมือนกันค่ะ ที่มีมือใหม่มาช่วยถืออุปกรณ์ แค่ฮีเผลอพักแขนหย่อนลงแป๊บเดียวเท่านั้นล่ะค่ะ
เครื่องมือตรวจวัดก็ส่งเสียงalarmปี๊ดๆกันลั่นห้อง เพราะฮีดันผ่อนวางข้อมือลง ตรงกับตำแหน่งของท่อส่งอ๊อกซิเจนขนาดจิ๋วที่ช่วยหายใจคนไข้พอดิบพอดีเป๊ะ!! ☺🎶⏰
ก็บอกแล้วไงคะ เนื้อที่จะให้เข้าเคสก็มีกันเพียงเท่านี้ ทำเอาทีมงานของเราออกจะตื่นเต้ลล์ & สำราญใจมากๆ ในการผ่าตัดเจ้าตัวจิ๋วๆ
วันมอบประกาศฯหลักสูตร วิสัญญีพยบ. ของรพ. ๓ปีก่อน 🤩📚⏰
ถ้าจะเล่าความตื่นเต้นในการดมยาผ่าตัดเด็กเล็ก จริงๆแล้วยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่จะนำมาเม้าท์มอยได้อีกค่ะ
แต่สำหรับโพสท์นี้ ขอเพียงหอมปากหอมคอเท่านี้ดีกว่าค่ะ แหะๆ 🤗☘💝
และยังมีอีกเคส๑ ที่ดิชั้นถือเป็นอีก ๑ ของที่สุดในการดมยา คือเคสผ่าตัดคลอด
ที่แม่อยู่ในสภาพโคม่าและต้องช่วยยื้ออย่างเต็มที่ก่อนที่จะเสียลูกในท้องไปด้วย
และเคยโพสต์ไว้แล้วเมื่อสักเดือนก่อนนู้นน..
งั้นขอยกเป็นตอนต่อในซีรี่ย์ชุดนี้เลยก็แล้วกันค่ะ
แหะๆ แอบอุ๊บอิ๊บอีกแล้ว 😷🎶🤗
สำหรับตอน๒ ของบทความ 'ที่สุดของชีวิตวิสัญญีแพทย์'
ครั้งนี้ตั้งใจเขียนให้ซอฟท์ลง
แบบว่าเกรงใจเพื่อนๆน่ะค่ะ เดี๋ยวจะตื่นเต้ลล์กันจนเกินไป อิอิ
ส่วนจะมีตอนต่อๆๆไปอีกรึไม่? ดิชั้นยังไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ ๕๕๕ ออกแนวมึนส์งงในตัวเองซะงั้น อิอิ 💒🎶😅
งั้นขอเก็บเกี่ยวความทรงจำต่อไปอีกสักแป๊บ ก็แล้วกันค่ะเพื่อนๆ
หมดเวลาสำหรับดิชั้นของวันนี้แล้วสิคะ แล้วค่อยกลับมาเม้าท์มอยกันใหม่ค่ะ ทุกๆท่าน
c U next time kaaa..
💗😷💕
โฆษณา