21 ต.ค. 2020 เวลา 00:00 • ประวัติศาสตร์
เจ้าชายย็อนซัน เป็นประมุของค์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์โชซอน (ค.ศ. 1494 - ค.ศ. 1506) ได้ชื่อว่าเป็นพระมหากษัตริย์เกาหลีที่ทรงอื้อฉาวที่สุด รัชสมัยของพระองค์ทรงมีแต่ความวุ่นวาย บ้ากาม จนถูกกระทำรัฐประหารยึดอำนาจในค.ศ. 1506 ถูกถอดพระยศจากพระมหากษัตริย์ลงมาเหลือเพียงเจ้าชายธรรมดา
ฆ่าล้างหมู่นักปราญ์ปีมูโอ (ปี ค.ศ. 1498)
ในสมัยพระเจ้าย็อนซันนั้นมีขั้วอำนาจขุนนางใหม่ขึ้นมาคือ ขุนนางกลุ่มซาริม ซึ่งเป็นปรปักษ์กับขุนนางดั้งเดิมที่รับใช้ราชสำนักมาแต่สมัยพระเจ้าซองจง เรื่องเริ่มขึ้นเมื่อขุนนางกลุ่มซาริมชื่อ คิมอิลซุน ได้อ้างอิงบทความจากคิมจงจิผู้เป็นอาจารย์ของตน ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการยึดอำนาจของพระเจ้าเซโจจากองค์ชายโนซานว่าเป็นการไม่ชอบธรรม นำมาเขียนในบันทึกประวัติศาสตร์ของราชวงศ์
1
เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงพระเจ้ายอนซัน ก็ทรงพิโรธมากที่คิมอิลซุนกล่าวหาพระเจ้าเซโจผู้เป็นทวด ถึงขั้นทรงเอาบันทึกราชวงศ์มาอ่านดูว่าคิมอิลซุนนั้นเขียนอะไรลงไปบ้าง ซึ่งตามกฏของราชสำนัก พระราชาไม่มีสิทธิอ่านบันทึกของราชวงศ์ อันเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์
1
ตราประจำราชวงศ์โชซอน
ขุนนางกลุ่มดั้งเดิม จึงทูลยุยงให้พระเจ้าย็อนซันลงโทษขุนนางกลุ่มซาริม โดยให้เหตุผลว่า การกล่าวหาของคิมอิลซุนนั้น ส่อถึงว่า พระเจ้าเซโจไม่มีความชอบธรรมในการครองราชย์ สิ่งที่เกิดตามมาคือ ขุนนางกลุ่มซาริมทุกคนถูกประหารชีวิต บางคนต้องเนรเทศออกจากเมืองหลวง แม้แต่คนที่ตายไปแล้วอย่าง คิมจงจิก อาจารย์ของ คิมอิลซุน ยังถูกขุดศพขึ้นมาทำลายอีกด้วย
2
ฆ่าล้างหมู่นักปราญ์ปีคัปจา (ปี ค.ศ. 1504)
หลังการประหารชีวิตอดีตมเหสีโซฮวา (พระมารดาของพระเจ้ายอนซัน) จากราชโองการจากพระเจ้าซองจง (พระบิดาของพระเจ้ายอนซัน) ที่ถูกบังคับจากสมเด็จพระพันปีหลวงอินซู (ย่า) ให้สั่งประหารอดีตมเหสีโซฮวา จากนั้นพระเจ้าซองจงได้ออกกฏหมายห้ามใครพูดเรื่องนี้ต่อไปเป็นเวลา 100 ปี
2
แต่แล้ว ก็มีขุนนาง ลิมซาฮง และ ชินซูกึน ทูลเรื่องนี้ออกมาให้พระเจ้าย็อนซันรับรู้ ซึ่งนำความหายนะครั้งใหญ่มาสู่ราชวงศ์โชซอน
ภาพการประหารชีวิตในภาพยนตร์
เมื่อทรงทราบเรื่องพระมารดา พระเจ้ายอนซันจึงรับสั่งให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการให้ร้ายพระมารดาจนทำให้นางถูกปลดและประหารชีวิต ไม่ว่าคนๆ นั้นจะมีเอี่ยวมากหรือน้อยก็ตาม ซึ่งคนกลุ่มแรกที่ถูกจัดการคือกลุ่มขุนนาง โดยเฉพาะขุนนางอาวุโสหรือขุนนางผู้ใหญ่ที่เป็นขุนนางเก่าของพระเจ้าซองจง ต่างถูกจับตัวมาประหารชีวิตทั้งหมด และเหมือนเดิม ใครที่เสียชีวิตไปแล้ว จะถูกขุดศพขึ้นมาเพื่อทำลายทิ้ง
นับแต่นั้นมาราชสำนักก็เข้าสู่กลียุค ใครก็ตามที่ขัดพระทัยของพระเจ้าย็อนซันเพียงเล็กน้อยก็ล้วนถูกประหารชีวิต พระเจ้าย็อนซันทรงเลิกสนพระทัยกิจการบ้านเมืองและประพฤติตนแหลวแหลกใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ทรงให้นางโลมหเข้ามาอยู่ในพระราชวังเพื่อหลับนอน
สมเด็จพระอัยยิกาอินซู (ย่า) ในฐานะผู้อาวุโสสูงสุด เริ่มรับไม่ได้กับพฤติกรรม ทรงตักเตือนพระเจ้าย็อนซันอยู่หลายครั้ง แต่ยิ่งเตือนก็เหมือนยิ่งยุ นอกจากจะกวาดล้างขุนนางที่มีส่วนให้ร้ายมเหสีโซฮวาผ่านไปแล้ว พระเจ้ายอนซันจึงมีรับสั่งว่าจะคืนยศพระมเหสีให้กับพระมารดา แต่ถูกคัดค้านอย่างหนักจากสมเด็จพระอัยยิกาอินซู
นั่นทำให้เกิดเหตุการณ์ฆ่าล้างหมู่อีกครั้งหนึ่งในปีเดียวกัน..
1
เมื่อพระเจ้าย็อนซันทรงทราบว่า คนของฝ่ายใน ทั้งซังกุง นางใน รวมไปถึงสนมเอกของพระเจ้าซองจงผู้เป็นพระบิดา ต่างก็มีส่วนในการให้ร้ายพระมารดา ก็สั่งประหารบรรดานางในและซังกุง หนึ่งในนั้นเป็นซังกุงคนสนิทของสมเด็จพระอัยยิกาอินซูเสียด้วย สมเด็จพระอัยยิกาเจ้าอินซู ทรงขัดขวางพระเจ้ายอนซันถึงที่สุด จนถูกพระเจ้าย็อนซันทำร้ายร่างกาย จนพระองค์ตรอมพระทัยจนล้มป่วยในที่สุด
1
อนุสาวรีย์หินหน้าหลุมฝังศพของสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าอินซู
จากบันทึกประวัติศาสตร์กล่าวว่า พระเจ้ายอนซันทรงสั่งประหารในเวลาต่อมา โดยการตัดแขน-ขา ผู้เป็นเสด็จย่าแท้ๆ ของพระองค์เอง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าอินซู ทำให้เกิดความหวาดกลัวไปทั่วราชสำนัก ไม่ว่าข้าราชบริพารคนใดก็ไม่กล้าทูลเตือนพระเจ้าย็อนซันอีกต่อไป เพราะต่างกลัวโดนโทษประหารกันทั้งสิ้น
1
แต่แล้วมีขุนนางกลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นแล้วว่า หากเป็นเช่นนี้ต่อไป บ้านเมืองจะถึงคราวหายนะอย่างแท้จริงแน่นอน จึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อที่จะโค่นล้มพระเจ้าย็อนซัน โดยแกนนำหลักมี 3 คนคือ ปาร์ควอนจง, ซองฮีอัน และ ยูชูซอง
คณะรัฐประหารจึงก่อการขึ้นในปี ค.ศ. 1506 โดยบุกเข้าพระราชวังคย็องบกในตอนกลางดึก สังหารขุนนางและลิ่วล้อที่คอยยุยงพระเจ้าย็อนซันจนหมดสิ้น ก่อนที่จะคุมตัวพระเจ้าย็อนซันไว้ภายในตำหนักใหญ่ และนำตราหยกส่วนพระองค์ของพระราชา ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระพันปีหลวงจาซุนพร้อมกัน
2
พระราชวังคย็องบก
แน่นอนว่าสมเด็จพระพันปีหลวงจาซุนรู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เนื่องจากพระเจ้าย็อนซันก็เป็นโอรสบุญธรรมของพระนาง แม้ทรงรู้อยู่แก่ใจว่าสิ่งที่คณะรัฐประหารทำไป ก็เพื่อเห็นแก่บ้านเมืองที่กำลังวิกฤติอยู่ในตอนนี้ แต่เมื่อคณะรัฐประหารรายงานสถานการณ์ว่าตอนนี้พวกเขาคุมวังหลวงไว้ได้ทั้งหมดแล้ว เสมือนเป็นการบีบให้สมเด็จพระพันปีหลวงจาซุนต้องทำตาม
พระเจ้าย็อนซันถูกปลดและลดฐานะให้เป็นเพียงองค์ชายย็อนซัน พร้อมกันนั้นแม้แต่มเหสีของพระเจ้ายอนซัน สมเด็จพระราชินีมุนซอง ให้ลดฐานะเป็นเพียงองค์หญิงมุนซอง และองค์รัชทายาท ก็ให้ถูกปลดด้วย และเนรเทศทั้งหมดไปยังเกาะคังฮวา
องค์ชายย็อนซันใช้ชีวิตอยู่ที่เกาะคังฮวาไม่นานก็สิ้นพระชนม์ ทรงไม่ได้รับพระนามกษัตริย์เขียนไว้ที่ป้ายสุสาน และ ทรงเป็นที่จดจำในฐานะกษัตริย์ที่อื้อฉาวที่สุดของราชวงศ์โชซอน
เกาะคังฮวาในปัจจุบัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : BioMan@KKU
โฆษณา