23 ต.ค. 2020 เวลา 00:30 • สุขภาพ
อาการละเมอเป็นอย่างไร?
ละเมอ (Parasomnia) คืออะไร?
ละเมอ คืออาการที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ เช่น ลุกเดินไปมา ลุกนั่งบนเตียง ลุกขึ้นมาพูดคุย โดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะอยู่ในช่วงที่หลับลึกหรือเปลี่ยนจากช่วงหลับลึกเป็นหลับตื้น ขณะที่มีอาการละเมอจึงไม่รู้สึกตัว
ละเมอ (Parasomnia) คืออะไร?
อาการละเมอเป็นอย่างไร ?
พฤติกรรม หรืออาการเมื่อละเมอ มีดังต่อไปนี้...
1
- ลุกขึ้นมาแล้วเดินไปมาในบ้าน หรือลุกขึ้นนั่งลืมตา
- ลุกมาทำกิจกรรมที่เคยทำปกติในชีวิตประจำวัน เช่น เข้าห้องน้ำ แต่งตัว หรือพูดคุย
- ขณะที่ละเมอจะไม่มีการตอบสนอง
- หลังจากละเมอแล้วกลับมานอนหลับได้อย่างรวดเร็ว
- เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสับสนมึนงงชั่วขณะหนึ่ง
- เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาไม่สามารถจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ หรืออาจจำได้เล็กน้อย
- อาจมีปัญหาในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ในระหว่างวัน เพราะการเละเมอเป็นการรบกวนการนอนหลับอย่างหนึ่ง
- บางรายอาจมีความหวาดกลัวกับการนอนหลับ เพราะละเมอบ่อยครั้ง
พฤติกรรมหรืออาการในข้างต้นอาจไม่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ
แต่ก็มีพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดอันตรายกับตนเองและผู้อื่นได้ แม้จะพบได้น้อย
เช่น...
- ออกไปนอกบ้าน
- ขับรถ
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
- มีกิจกรรมทางเพศโดยที่ไม่รู้ตัว
- ได้รับบาดเจ็บจากการตกจากที่สูง
เป็นต้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
REM sleep behavior disorder (RBD) ขณะหลับระยะ REM เป็นระยะที่มีความฝัน ปกติแล้วร่างกายจะอ่อนแรงไม่สามารถขยับได้ ทำได้เพียงหายใจและกรอกตา แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการขยับตัวได้ขณะอยู่ในระยะ REM อาจขยับตามความฝันแล้วได้รับอันตราย หรือทำร้ายผู้อื่นได้ละเมอโดยที่พฤติกรรมขณะละเมอจะคล้ายกับในฝัน (acting out dream)
ละเมออย่างไรถึงควรไปพบแพทย์?
- ละเมอมากกว่า 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
- ง่วงในระหว่างวันมากและบ่อยครั้ง
- เกิดอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บ เช่น ละเมอออกจากบ้าน ขับรถ หรือกระโดดจากที่สูง
- รบกวนการนอนหลับของผู้อื่น หรือผู้นอนละเมอเกิดความอับอาย
ละเมอมีสาเหตุมาจากอะไร?
สาเหตุที่ทำให้นอนละเมอ อาจมาจากปัจจัยเหล่านี้
- ภาวะขาดการนอนหลับ หรือถูกรบกวนการนอนหลับ
- ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า
- ความเครียด และความวิตกกังวล
- ภาวะซึมเศร้า
- เป็นไข้
- เมาเหล้า
- ใช้สาร หรือยาบางชนิด เช่น ยาระงับประสาท หรือยากล่อมประสาท
จำเป็นต้องใช้ยารักษาหรือไม่?
การรักษานอนละเมอด้วยยา จะมีความจำเป็นก็ต่อเมื่อผู้ที่นอนละเมอได้รับอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บหรือสร้างปัญหาให้กับคนในครอบครัว หรืออาจทำให้ผู้ที่นอนละเมอมีความอับอายหรือไม่สามารถนอนหลับเต็มอิ่มได้ ซึ่งยาที่แพทย์อาจใช้รักษาการนอนละเมอ เช่น ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปิน (Benzodiazepines) หรือยารักษาโรคซึ่มเศร้าบางชนิด
#สาระจี๊ดจี๊ด
การนอนละเมอเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ได้มีความรุนแรงหรือน่ากลัวอะไร แต่จะพบว่าบางรายสามารถทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ว่าจะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัว
#สาระจี๊ดจี๊ด
ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มโอกาสให้มีการละเมอ คือ กรรมพันธุ์ และ อายุ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
แหล่งที่มา
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา