24 ต.ค. 2020 เวลา 09:30 • ประวัติศาสตร์
บันทึกในตำนาน! ชีวิตจริงของเหยื่อนาซีผู้เขียน "บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์"
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
แอนน์ แฟรงค์ (Anne Frank) หรืออันเนอ ฟรังค์ คือเด็กหญิงชาวเยอรมันเชื้อสายยิว เกิดที่เมืองแฟรงค์เฟิร์ค ประเทศเยอรมนี เมื่อ 12 มิถุนายน ค.ศ.1929 ได้เขียนบันทึกระหว่างที่หลบซ่อนตัวจากการไล่ล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กลายมาเป็นหนังสือชื่อ “บันทึกลับของแอนแฟรงค์” หนังสือที่ถ่ายทอดประสบการความโหดร้ายในสงครามโลกที่โด่งดังที่สุดเล่มหนึ่งของโลก
แอนน์ แฟรงค์ คือเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่โด่งดังที่สุดของโลก เธอเติบโตในครอบครัวชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเยอรมนีขณะที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจ แอนน์ แฟรงค์ได้พบเจอการอาชญากรรมในการแบ่งแยกเชื้อชาติด้วยตัวเอง แอนน์ แฟรงค์เขียนบันทึกขณะที่หลบซ่อนตัวอยู่ แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่สามารถรอดพ้นเงื้อมมือนาซีไปได้ เธอถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ก่อนจะเสียชีวิตในวัย 16 ปี บันทึกของเธอเป็นการเปิดเผยชีวิตของครอบครัวชาวยิวในเวลาที่มืดมนที่สุดและบันทึกของเธอนั้นยังมีรายละเอียดที่ครอบคลุมมากที่สุดที่หลงเหลือมาจากช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย
WIKIPEDIA PD
ครอบครัวของแอนน์ แฟรงค์นั้นเดิมทีอาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมนี แต่เมื่อแอนน์อายุได้ 4 ขวบ นาซีได้เข้ามาควบคุมเยอรมนี ออตโต แฟรงค์ พ่อของแอนน์กังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตจึงได้ย้ายครอบครัวไปยังเนเธอร์แลนด์ แอนน์สูญเสียสัญชาติหลังจากการย้ายประเทศ ครอบครัวของแอนน์ได้ย้ายมาตั้งรกรากทำธุรกิจและอาศัยอยู่ที่เนเธอร์แลนด์ก่อนจะถูกส่งไปยังค่ายกักกันในปี ค.ศ. 1944
WIKIPEDIA CC ARNE LIST
ในขณะที่ชาวยิวครอบครัวอื่นๆ หลายครอบครัวในอัมสเตอร์ดัมถูกพวกนาซีส่งตัวไปยังค่ายกักกัน แต่ครอบครัวของแอนน์โชคดีพอที่จะเตรียมตัวได้ทันในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาย้ายไปอยู่ยังที่ซ่อนลับในสำนักงานของออตโต แฟรงค์ และด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานของออตโตทำให้ครอบครัวแฟรงค์สามารถใช้ชีวิตในที่ซ่อนลับได้นานถึง 2 ปี ก่อนที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะไปแจ้งเจ้าหน้าที่
WIKIPEDIA PD
หากได้อ่านบันทึกของเธอ เราจะรู้ได้ทันทีว่าแอนน์ แฟรงค์เป็นนักเขียนที่มีพรสวรรค์ เธอมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักข่าวมืออาชีพหากสงครามสิ้นสุดลง ในตอนแรกเธอเก็บบันทึกไว้กับตัวเองอย่างมิดชิดโดยตั้งใจไว้ว่าจะไม่เปิดเผยให้ใครอ่าน แต่เมื่อเธอได้ยินคำพูดของเกอร์ริต โบลเกอร์สเตน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่กล่าวออกอากาศทางวิทยุเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1944 ว่าให้ผู้คนบันทึกเรื่องราวในชีวิตประจำวันของช่วงเวลานี้ไว้ คำพูดนี้เองที่ทำเป็นแรงบันดาลใจให้แอนน์ แฟรงค์มีความคิดที่จะตีพิมพ์บันทึกประจำวันของเธอหลังสงครามสิ้นสุดลง
ที่ซ่อนลับในสำนักงานของออตโต แฟรงค์นั้นมีผู้อยู่อาศัยมากถึง 8 คน 4 คนประกอบไปด้วยครอบครัวของแอนน์ แฟรงค์ ครอบครัวของฟาน แดน 3 คนและชายชาวยิวอีกคนชื่อ ฟริทซ์ เพฟเฟอร์ เมื่อทหารนาซีเจอที่ซ่อนลับแห่งนี้ ทุกคนถูกส่งไปยังค่ายกักกันและถูกแยกออกจากกัน เมื่อสงครามสิ้นสุดลง มีเพียงออตโต แฟรงค์ พ่อของแอนน์ แฟรงค์เท่านั้นที่มีชีวิตรอด
WIKIPEDIA CC MASSIMO CATARINELLA
แอนน์และมาร์กอต(น้องสาว) ต่างก็เป็นนักอ่านตัวยงและเป็นนักเรียนที่ฉลาดเฉลียว แอนน์เข้าเรียนที่โรงเรียนมอนเตสเซอรีและมีเพื่อนมากมายในโรงเรียน แต่ภายหลังต้องย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอื่นเนื่องจากการรุกรานเนเธอร์แลนด์ของนาซีกำหนดให้เด็กชาวยิวอย่างแอนและมาร์กอตต้องเข้าเรียนโรงเรียนของชาวยิวโดยเฉพาะตามนโยบายที่แบ่งแยกผู้คนอย่างเข้มข้นจนกระทั่งพวกเขาต้องหลบซ่อนตัว
WIKIPEDIA CC ALEXISRAEL
ออตโต แฟรงค์ได้ตีพิมพ์บันทึกของลูกสาวเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1950 “บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์” ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและได้มีการแปลและตีพิมพ์ไปในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงเยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งในญี่ปุ่นนี้เอง บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ทำยอดขายได้กว่า 100,000 เล่ม แอนน์ แฟรงค์ถูกจดจำในฐานะเหยื่อของสงคราม
WIKIPEDIA CC MASSIMO CATARINELLA
เมื่อบันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์ได้รับการตีพิมพ์ ที่ซ่อนลับก็มีผู้เข้าเยี่ยมชมอย่างล้นหลาม และเมื่อ ค.ศ. 1955 บริษัทของออตโต แฟรงค์ต้องย้ายสถานที่ออกไป อาคารนี้ก็จะถูกทุบทิ้งเพื่อทำเป็นโรงงาน ออตโต แฟรงค์จึงได้เริ่มรณรงค์เพื่อรักษาตึกและห้องลับที่เขาใช้ซ่อนตัว จนเมื่อปี ค.ศ. 1960 อาคารที่ครอบครัวแฟรงค์ได้ใช้เป็นที่ซ่อนตัวก็ได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ชื่อว่า “Anna Frank House” หรือบ้านแอนน์ แฟรงค์ โดยในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมกว่าล้านคน กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมเป็นอันดับ 3 ในประเทศเนเธอร์แลนด์
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา