27 ต.ค. 2020 เวลา 13:45 • ปรัชญา
# อูฐตัวที่สิบแปด
หากเราใช้ ‘ปัญญา’ ในการแก้ไขปัญหา ปัญหานั้นก็อาจแปรเปลี่ยนเป็นความสำเร็จและผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจได้กับทั้งสองฝ่าย อ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วคุณจะเข้าใจ
*****
พ่อค้าผู้มั่งคั่งแห่งดินแดนตะวันออกคนหนึ่ง เขาถึงแก่กรรม และด้วยความประสงค์ก่อนจากโลกนี้ไป เขาจึงได้ระบุพินัยกรรมไว้ว่า เขาจะแบ่งทรัพย์สมบัติให้กับลูกชายทั้งสามคนโดยเท่าเทียมกัน ซึ่งทุกอย่างก็ถูกแบ่งได้ตามนั้น
เว้นแต่เพียงอย่างเดียว นั้นคือ สัดส่วนในการแบ่งอูฐที่มีค่าที่สุดของเขาให้กับลูกแต่ละคน ซึ่งสิ่งนี้ถูกแบ่งออกด้วยวิธีที่ค่อนข้างยากและท้าทาย
โดยพินัยกรรมระบุไว้ว่า ลูกชายคนโตจะได้รับอูฐ ½ ตัว ,ลูกชายคนรองจะได้รับอูฐ ⅓ ตัว และส่วนลูกชายคนเล็กจะได้รับอูฐ 1/9 ตัว จากจำนวนอูฐทั้งหมด แต่ด้วยเหตุที่อูฐ มีเพียง 17 ตัวเท่านั้น
จึงทำให้ไม่สามารถแบ่งอูฐตามพินัยกรรมที่พ่อเขียนได้อย่างลงตัว เพราะหากแบ่งแล้ว ลูกชายคนรองและลูกชายคนเล็กจะได้อูฐตัวหนึ่งเพียงแค่ครึ่งตัวเท่านั้น
และด้วยเหตุนี้ ลูกชายทั้งสาม จึงเริ่มต่อสู้กันเอง เพื่อที่จะเรียกร้องความยุติธรรม และหาวิธีแบ่งอูฐให้ทุกคนได้อย่างยุติธรรมที่สุด
แต่ถึงอย่างนั้น บุตรชายทั้งสามก็ไม่สามารถแจกแจงอูฐได้เสียที พวกเขาจึงตัดสินใจไปขอคำแนะนำจากปราชญ์ท่านหนึ่ง
ซึ่งหลังจากที่ปราชญ์ท่านนั้นได้ฟังเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของบุตรทั้งสาม จนเข้าใจอย่างถี่ถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นักปราชญ์ จึงนำอูฐของเขามาหนึ่งตัว และนำไปเพิ่มให้กับอูฐที่เป็นมรดกของพ่อค้า
หลังจากนั้น เขาก็เริ่มอ่านพินัยกรรมของบิดาผู้ล่วงลับให้บุตรชายทั้งสามได้ฟังอีกครั้ง และเริ่มแบ่งอูฐให้โดย
เขาแบ่งอูฐ 9 ตัว หรือ ½ ของ 18 ตัวตามพินัยกรรม ให้กับลูกชายคนโต
ต่อจากนั้นเขาก็แบ่งอูฐ 6 ตัว หรือ ⅓ ของ 18 ตัว ให้กับลูกชายคนรอง
และแบ่งอูฐ 2 ตัว หรือ 1/9 ของ 18 ตัว ให้กับลูกชายคนเล็กไป
ซึ่งหลังจากให้อูฐ 9 ตัว , 6 ตัว และ 2 ตัว ตามพินัยกรรมแก่บุตรชายทั้งสามเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะเหลืออูฐหนึ่งตัวที่เขามอบให้ในตอนแรกไว้ เขาจึงนำอูฐของเขากลับบ้านไปอย่างสบายใจ
หลายครั้งที่ทัศนคติ ของการเจรจาต่อรอง และการแก้ไขปัญหา คือการหาอูฐตัวที่ 18 ของปัญหานั้นให้พบ ซึ่งหากเราพบส่วนที่หายไปนี้ได้ ปัญหาก็จะได้รับการแก้ไขโดยง่ายนั้นเอง
ดังคำที่กล่าวไว้ว่า “หลายครั้งปัญหา ไม่ได้อยู่ที่เหตุการณ์ แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวเรา ฉะนั้นจงเชื่อให้สนิทใจเสียก่อนว่า ทุกปัญหามีทางแก้ ทุกเรื่องแย่ ๆ มีทางออกของมันเสมอ”
แปลและเรียบเรียงโดยเรื่องเล่าจากดาวนี้
ที่มา:
อ่านบทความเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย 😄
โฆษณา