25 ต.ค. 2020 เวลา 10:25 • ธุรกิจ
เวลาไปถามคนอื่นว่า “คิดว่างานของตัวเองยุ่งไหม?”
ร้อยทั้งร้อยมักจะตอบว่า ยุ่งดิ ยุ่งสัสๆ ยุ่งชิบเป๋ง อะไรแบบนี้แน่นอน จริงๆไม่ใช่เรื่องแปลกเลยครับ เพราะถ้าเราอยู่ในบริษัทที่มีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ไม่ยอมแพ้ พยายามแก้ไขปัญหา สร้างสิ่งใหม่ตลอดเวลา งานจะวิ่งเข้ามาหาคุณไวกว่า เอเลียด คิปโชเก อย่างแน่นอน
ประเด็นที่อยากจะชวนคุยคือว่า เราน่าจะเคยเจอคนที่ชอบบอกว่า เฮ่ย อย่าไป work hard เราต้อง work smart สิ! ฟังดูแล้วเท่มากๆ แต่ถ้าเชื่อตามนั้นจริงๆ นี่คือชีวิตเปลี่ยนเลยนะ
ที่พูดแบบนี้เพราะ ทุกคนคงยุ่งหมดครับ เรายุ่งได้มากที่สุดเท่าๆกับเวลาทำงานแต่ละวันที่เรามีได้คือ 8-12 ชั่วโมง แล้วแต่ว่าช่วงไหนจะยุ่งแบบปกติหรือยุ่งแบบหนักหนาสาหัสนั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เท่ากับว่า Work hard เป็นค่า default ของทุกคนอยู่แล้วครับ (ถ้าคุณอยู่ในองค์กรที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าน่ะนะ)
1
ซึ่งพอ Work hard ไม่ต่างกัน แต่ผลลัพธ์สุดท้ายที่เราเห็นว่าต่างกัน มันมาจากว่าใคร Work smart ได้มากกว่า
Work smart ในที่นี้คือ การมีความสามารถในการทำ 4 อย่าง คือ
1. รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องทำ/ควรทำ/และจะ(ยัง)ไม่ทำ
2. ถ้าอยู่ในหมวดว่าเออ ทำแหละ แล้ว อะไรควรทำก่อน-ทำหลัง
3. พอรู้ว่าอะไรต้องทำก่อนทำหลัง ต้องคิดต่อว่า critical point ของงานนั้นอยู่ตรงไหน (ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น สมมุติต้องทำ presentation ซักอันหนึ่ง critical point ควรจะอยู่ที่เราต้องมี story ที่เหมาะสมกับ audience ก่อน ความสวยงามของ slide การตกแต่งคือมาทีหลัง ไม่ใช่เอาเวลาไปตกแต่ง slide ก่อน แต่เนื้อหายังไม่ได้ story ไม่มี)
4. วางแผนและคิดหาวิธีว่าจะทำ critical point ให้จบก่อนได้ยังไง (ไม่ว่าจะทำเอง ให้คนอื่นช่วยทำ ทำเป็นทีม แบ่งกันไปทำ ใช้ technology อะไรก็แล้วแต่ ขอให้หา how ที่ทำให้จุด critical เสร็จให้ได้) ที่เหลือคือน้ำจิ้ม มีเวลาค่อยไปทำ (เช่นการตกแต่ง slide ให้สวยงามแบบที่เล่าไปในข้อ 3 เป็นต้น)
หลังจากนั้นค่อยไปสู่ขั้นตอนของการ work hard คือไปใช้เวลาลงมือทำมันให้เต็มที่ เพื่อให้ได้งานตามที่ต้องการครับ
กระบวนการในการทำงานที่ดีต้องเริ่มจาก work smart ก่อนเพื่อ set direction ที่ถูกต้อง หลังจากนั้นค่อย work hard และหาวิธีเพิ่ม efficiency ในสิ่งที่ทำ เพื่อให้การ work hard มันได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างชัดเจน ไม่ใช่ work hard ไปเรื่อยๆ efficiency ดูแล้วดีมากๆ แต่กลับผิดทิศผิดทาง สุดท้ายกลับไม่ได้ประโยชน์ ได้ผลลัพธ์อะไรเลย
ที่คนเก่งๆเขาพยายามพูด พยายามบอกให้เรา Work smart
เพราะ Work hard มันเป็นค่า default ของการทำงานอยู่แล้ว
และสิ่งที่จะทำให้ Work hard คุ้มค่า มีความหมาย
มันต้องตั้งต้นมาจากการ Work smart ก่อนเสมอนั่นแหละครับ
ติดตาม ช่องทางอื่นๆกันไว้ได้ครับ จะได้ไม่พลาด content ใหม่ๆหลายๆรูปแบบตามด้านล่างครับ : )
.
ช่อง Youtube: https://bit.ly/2VVg9eh
.
ช่อง Podcast
Apple podcast: apple.co/39u9zQI
#เธมส์THINKต่าง
โฆษณา