26 ต.ค. 2020 เวลา 11:49 • การศึกษา
โลกโซเชียลได้เผยแพร่ภาพ ในหลวง ร.9 จอดรถบนสะพานไม้ จนมีหลายคนสงสัยว่า ทำไมถึงจอดรถตรงนั้น มันดูปลอดภัยหรอ สะพานก็พึ่งสร้างเพราะไม้ใหม่มาก ช่างภาพที่เป็นคนถ่ายรูปดังกล่าว จึงตอบสงสัย ระบุ เมื่อเช้านี้ ได้รับคำถามมาแบบนี้
อยากตอบ แต่พอลงนั่ง ก็นึกไม่ออกว่าจะตอบอะไร เพราะคำถามแค่สงสัย ว่าไปจอดรถกลางสะพานทำไม ? ถ้าอย่างนั้น ขอเป็นเล่าเรื่องให้ฟังดีกว่า บังเอิญว่า ผมเป็นคนถ่ายรูปที่เด็กๆ นำมาถาม
“จอดรถกลางสะพานทำไม ?” ในหลวงท่านไม่ได้จอดรถกลางสะพานหรอกครับ พระองค์ท่านขับรถ Jeep สีฟ้า – น้ำเงิน รถที่เห็นในภาพ เป็นรถในขบวนเสด็จฯ ที่พวกผมนี่แหละที่นั่งมาพร้อมกับสิ่งของพระราชทาน และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ผ้าปูพื้น ยา ฯลฯ ที่ต้องใช้ หากมีการหยุดเยี่ยมขบวนเพื่อเยี่ยมราษฎร แล้วฝนตก
1.ขบวนรถ (ต่อจากภาพแรก) ดูเอิกเกริกยาวเหยียด แต่ความจริงไม่ใช่รถของในวัง (ที่ทะเบียน ร.ย.ล.) ซึ่งจะจบแค่คันสีขาวทางด้านซ้ายของภาพ – เป็นรถปิดขบวนของทหารมหาดเล็ก รวมๆ แล้วก็สัก 10 คัน ส่วนคันต่อๆ มา เป็นรถของหน่วยราชการต่างๆ เช่น กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน ฯลฯ ที่ตามเสด็จฯ มาในขบวนด้วย
เล่าถึงที่มาก่อน ในแต่ละปี ในหลวง จะแปรพระราชฐานไปประทับเพื่อปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในภูมิภาคต่างๆ เริ่มที่ภาคใต้ ในช่วงเดือน สิงหาคม – กันย ายน ภาคอีสาน เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน และภาคเหนือ เดือนธันวาคม – มีนาคม ภาคกลาง เดือนเมษายน
กิจกรรม ก็จะเกิดขึ้นแบบนี้ทุกวัน (ตามภาพ เกิดขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส ใน พ.ศ. 2525) คือ พอสักบ่ายโมงเศษๆ ผู้ตามเสด็จฯ ก็จะมาเตรียมตัวคอยกันอยู่ตามที่ต่างๆ ที่กำหนดไว้ พอเสด็จฯ ลง พระองค์ท่านก็จะขับรถลงมาเป็นคันแรก ต่อขบวนด้วยรถพวกเรา แล้วก็รถหน่วยราชการต่างๆ ไม่มีใครรู้หรอกว่า พระองค์ท่านจะเสด็จไปไหน? (โดยเฉพาะที่ภาคใต้ เพราะสถานการณ์ในขณะนั้นไม่ปลอดภัยเลย)
พอมาถึงหน้าวัง รถนำของตำรวจที่จอดรออยู่ก็จะพุ่งปราดออกไปทั้งสองด้าน ซ้าย – ขวา
ถ้ารถพระที่นั่งเลี้ยวซ้าย ไปทางตากใบ รถที่ออกไปทางขวา (เข้าเมือง) ก็จะเบรกตัวโก่ง แล้วกลับรถ รอจนรถขบวนหมดแล้ว จึงตามไปเป็นรถปิดขบวน
ในวันนั้น รถพระที่นั่งเลี้ยวไปทางตากใบ
2.ใกล้จะถึง อ.ตากใบ พระองค์ท่านก็ขับรถแยกออกจากทางหลวงลงไปในทางลูกรังบด ขับไปจนหมดถนนตรงสะพานนี่แหละ หยุดอยู่นานเลย แล้วจึงเสด็จฯ ลงมา ช่างภาพตามเสด็จ วิ่งลงมาก่อนอยู่แล้ว จึงมีเวลานานมาก ที่จะถ่ายอะไรๆ ที่อยากถ่าย
3.นำภาพนี้มาแสดงในตอนต้น ทั้งที่เป็นภาพเกือบจะหลังสุด คือ ประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากขบวนหยุด จะเห็นว่าภาพนี้ ในหลวง ประทับนั่งพิงยางรถยนต์แลนด์โรเวอร์ (พระองค์ท่านก็คงเมื่อยเหมือนกัน) *เห็นท่อนไม้ในคลองไหมครับ นั่นเป็นเป้าหมายที่ผมตั้งใจลงไปยึดครองเลย
4.มุมถ่าย จากจุดที่ยืนเอียงไปเอียงมาบนท่อนไม้ริมคลอง ทำให้ผมได้ภาพนี่แปลกกว่าช่างภาพคนอื่น
5.หลังจากที่พระองค์ท่านจอดรถ และทอดพระเนตรแผนที่อยู่สักพัก ก็ทรงพระดำเนินไปหาชาวบ้านที่ยืนอยู่ตรงนั้นคนเดียว คงจะสอบถามถึงตำแหน่งแห่ง
6.อย่างภาพนี้ละ ที่ผมถึงบอกว่า ไม่ค่อยอย ากลงในรายละเอียดของความทรงจำของตัวเอง เพราะอาจจะไม่ตรงกับข้อมูลทางราชการ คือ ผมก็จะเล่าตามตาเห็น แต่พอเวลาเปลี่ยนไป ข้อมูลจากแหล่งอื่นตามมา กลายเป็นอีกเรื่องไปเลย เช่น เหตุการณ์ที่นี่ (ทราบภายหลังว่าเป็นบ้านปูโยะ อ.ตากใบ) ก็ว่ากันว่าเป็นที่หมายที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว ซึ่งผมว่าไม่ใช่ เพราะเหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นเสมอๆ
7.ทรงพระดำเนินไปกับชาวบ้านเลยลงไปถึงในนา รับสั่งซักถามนานมากเลย ผมก็ตามเสด็จฯ ไปใกล้ๆ
8.ผ่านไปครึ่งชั่วโมง พระองค์ท่านก็กลับมาที่สะพาน และประทับนั่งพิงย างรถยนต์ในขบวน ทอดพระเนตรแผนที่ และสอบถามชาวบ้าน (ทราบภายหลังว่าชื่อลุงพร้อม
สุดท้าย กลับรถทั้งขบวน ทุลักทุเล ย้อนกลับไปที่ชุมชนบ้านปูโยะ แล้วตั้งหน่วยแพทย์พระราชทานกันเป็นการโกลาหล วันนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ ฉลองพระองค์สีส้ม ผมได้ถ่ายภาพสวย เพราะมีชาวบ้านนำลูกค่างแว่นมาถวาย เอาไว้หาเจอค่อยนำมาอวด
รูปที่ 7 – 8 สีสวยกว่ารูปอื่น เพราะนำไปขยาย จัดแสดงในงานนิทรรศการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ เมืองทองธานี
ที่มา Napan Sevikul
โฆษณา