27 ต.ค. 2020 เวลา 07:56 • สุขภาพ
Ep3 โรคออฟฟิศซินโดรม
วันนี้อยากแนะนำให้รู้จักโรคใกล้ตัวค่ะ
👩🏻‍💻โรคออฟฟิศซินโดรมเรื้อรัง รักษาหายขาดมั้ย ถ้าไม่รักษาจะเป็นอันตรายหรือทำให้เป็นอัมพาตมั้ย❓
👩🏻‍⚕️โรคออฟฟิศซินโดรม หากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคดังนี้
.
😖 หมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมเคลื่อนตัวมากดทับเส้นประสาท : ปวดแปล๊บเหมือนไฟช๊อตร้าวจากคอไปที่แขนและมือ หากเป็นมากๆ จะมีอาการชาปลายนิ้ว แขนและมืออ่อนแรงได้ มักเกิดจากท่านั่งที่ก้มศีรษะและยื่นคอต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนต่อเนื่องตลอดทั้งวัน
😖 หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท : แบ่งออกเป็นมีอาการเฉียบพลัน เช่นมีอาการปวดหลังร้าวลงขาทันทีในขณะยกของหนัก หรือยกของผิดท่า และอาการเรื้อรัง โดยมักปวดรุนแรงในท่านั่ง ที่บริเวณหลังส่วนล่าง ปวดร้าวลงขาตั้งแต่สะโพกลงไปจนถึงเท้า มีอาการชา หากเป็นมากจะมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วยได้ ซึ่งมักเกิดจากท่านั่งผิดท่าเป็นเวลานานๆ การยกของหนักซ้ำๆ การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
😖 กล้ามเนื้อหดเกร็งชนิดรุนแรง : ปวดบ่าร้าวขึ้นศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนคล้ายไมเกรน ปวดท้ายทอยจนทำให้มีอาการมึนงง ตาพร่ามัว รบกวนการทำงาน นอนไม่หลับและเป็นอุปสรรคการใช้ชีวิตประจำวัน
.
👩🏻‍💻โรคออฟฟิศซินโดรม มีวิธีรักษาให้หายขาดมั้ย ❓
👩🏻‍⚕️“มีแน่นอนค่ะ แต่ที่ผู้ป่วยยังไม่หายขาด เนื่องจากการรักษาที่ไม่ตรงจุด และยังไม่ได้ถูกวิเคราะห์หาปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้มีอาการ” ได้แก่
.
🙅🏼‍♀️ท่านั่งในการทำงานที่ไม่เหมาะสม
โดยเฉพาะผู้ที่ Work from home และใช้โต๊ะทำงานที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ ใช้โต๊ะญี่ปุ่น โต๊ะรีดผ้าหรือโต๊ะเครื่องแป้ง ก็จะทำให้มีอาการปวดล้าจากท่านั่งที่ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อที่มากเกินไป
การแก้ไขท่านั่งทำงานให้ได้สมดุลย์ร่างกาย มีเคล็ดลับ คือ
- การปรับระดับความสูงของเก้าอี้ ให้นั่งแล้วสามารถวางข้อศอกงอพอดีทำมุม 90องศากับหน้าโต๊ะโดยไม่ต้องยักไหล่ เป็นการช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อบ่าไหล่ ให้ได้พักผ่อนคลาย
- การปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา เพื่อลดการยื่นหรือก้มคอไปหาจอคอมพิวเตอร์ เป็นการลดการทำงานของกล้ามเนื้อคอไม่ให้เกร็งอยู่เป็นเวลานานและ ป้องกันโรคหมอนรองกระดูกต้นคอเสื่อมอีกด้วย
📚⌨️ Tip หากต้องทำงานผ่านโน๊ตบุ๊คเป็นเวลานาน ควรต่อคีย์บอร์ดแยกออกมา และหาหนังสือรองใต้โน๊ตบุ๊คเพื่อปรับให้ระดับจออยู่ในระดับสายตา 📚⌨️
.
🧘 การไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ
เช่นผู้ที่ต้องทำงานโดยการตอบไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานานตลอดทั้งวัน หรือผู้ที่ดูซีรีย์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ต้องก้มดูจอมือถือ กล้ามเนื้อคอทั้ง 2 ข้างจึงหดรั้ง และกล้ามเนื้อบ่าข้างที่ถือมือถือหดเกร็งอยู่เป็นเวลานานจนล้า
การปรับเปลี่ยนอิริยาบทบ่อยๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้งานเป็นเวลานานได้ผ่อนคลายบ้าง
- โดยถ้าเล่น social นานต่อเนื่อง 1 ชม ให้พักเบรกทุก 30 นาที และให้เปลี่ยนมือสลับข้างถือ
- ถ้าดูซีรีย์นานมากกว่า 2 ชม ให้ซื้ออุปกรณ์ขาตั้งสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ให้สามารถดูได้อยู่ในระดับสายตา หรือเปลี่ยนมานั่งดูผ่านหน้าจอทีวี
- ถ้าใช้งานเกิน 6 ชม ควรปรับมาใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากสามารถจัดท่านั่งให้ได้สมดุลย์ร่างกาย ลดการล้าสะสมของกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถนั่งทำงานได้นานขึ้น
.
💪🏻 ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อยๆ เล่นโยคะ หรือการออกกำลังกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนเพื่อแก้อาการออฟฟิศซินโดรมเป็นต้น
.
👩🏻‍⚕️หากปฏิบัติตามข้อแนะนำทั้ง 3 แล้ว อาการปวดยังไม่ทุเลา 😖ปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู🎓
เพื่อวินิจฉัย และแนะนำแนวทางการรักษาก็จะช่วยให้กลับไปทำงานได้มีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว🥰.
พ.ญ. อาภารัตน์ สุริยวงศ์พงศา
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
โฆษณา