29 ต.ค. 2020 เวลา 01:51 • ธุรกิจ
10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! ลี คุนฮี
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2563 Lee Kun Hee (ลี คุนฮี) ประธานบริษัท ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 78 ปี ที่โรงพยาบาลในกรุงโซล หลังจากที่เข้ารับการรักษาโรคหัวใจตั้งแต่ปี 2557 จากการเสียชีวิต Forbes ประเมินว่า ลี คุนฮี มีสินทรัพย์กว่า 654,000 ล้านบาท ซึ่งในวันนี้เขาคือตำนานผู้พลิกแบรนด์ซัมซุงในท้องถิ่นเล็กๆ จนผงาดขึ้นมาแถวหน้าของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โลก จนกลายเป็นคู่ปรับตลอดกาลของแอปเปิล
 
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้จักเกี่ยวกับ “ลี คุนฮี” เขาเป็นใคร มาติดตามกันครับ
 
1. เป็นทายาทผู้ก่อตั้งซัมซุง
ภาพจาก bit.ly/2G660Xc
ลุ คุนฮี เป็นบุตรชายคนที่สามของ Lee Byung-chul ผู้ก่อตั้ง Samsung และได้เริ่มเข้ามามีบทบาทการบริหารธุรกิจของ Samsung หลังจากที่คุณพ่อเขาได้จากโลกนี้ไป เขาเกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1942 มีทรัพย์สินกว่า $12.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับการจัดอันดับที่ 41 เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลต่อโลกในปี 2013 โดยนิตยสาร Forbes
 
และยังดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล เขามีความสามารถพูดได้สามภาษาคือเกาหลี อังกฤษและภาษาญี่ปุ่น โดยในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้น ซัมซุงได้เน้นไปที่การส่งออกสินค้า แปรรูปอาหาร และสิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี ค.ศ.1960
 
2. ชอบอยู่เบื้องหลังอย่างมีพลัง
 
ลี คุนฮี เป็นบุคคลที่ไม่ค่อยนำเสนอตัวเองนัก เมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์ของ Apple อาจจะเพราะวัฒนธรรมของเอเชียที่เน้นการเก็บงำประกายความสามารถ แต่ดำเนินขับเคลื่อนธุรกิจอยู่เบื้องหลังเงียบๆ อย่างมีพลัง ดังนั้น น้อยคนที่จะรู้ว่าซัมซุงถูกบริหารและกำหนดทิศทางโดย ลี คุนฮี นั่นเอง
3. วิสัยทัศน์ไม่หยุดอยู่กับสำเร็จ
ภาพจาก bbc.in/3dZh70x
สิ่งที่เป็นความสามารถที่น่ายกย่องของ ลี คุนฮี อีกอย่างก็คือ วิสัยทัศน์ และการไม่ยอมหยุดยั้งอยู่กับความสำเร็จ ซึ่งเห็นได้จากความก้าวหน้าของแบรนด์ซัมซุงในแต่ละช่วงเวลา ที่มีสินค้าคุณภาพออกมาเรื่อยๆ และดีขึ้นทุกปีจากการค้นคว้าและพัฒนาของทีมงานออกแบบและวิศวกรฝ่ายผลิตที่เขายอมลงทุนในส่วนนี้เพื่อพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้น
 
4. สินค้าไม่มีคุณภาพ สั่งเผาหมด
 
มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง ลี คุนฮี ได้เดินทางไปสำรวจตลาดที่สหรัฐอเมริกา เขาพบว่าสินค้าของเขาถูกวางจำหน่ายในสภาพโลว์เกรด จึงคิดรูปแบบการปฏิวัติแบรนด์ครั้งใหญ่ ด้วยการเผาสินค้าที่ดูไม่มีคุณภาพ โดยให้พนักงานในบริษัทช่วยกันรวบรวมโทรศัพท์และเครื่องแฟกซ์ประมาณ 150,000 เครื่องที่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพมากองสุมรวมกันและสั่งเผาทิ้งให้หมด
 
5. ผลิตสินค้าที่จำเป็นต่อมนุษย์
ภาพจาก bit.ly/2HB3M2j
ซัมซุงเกิดวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ในปี 1997 ในขณะนั้น Samsung เองไม่ได้ขายเพียงมือถืออย่างเดียว มีทั้งโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศอีก จึงต้องคิดว่าจะทำธุรกิจอะไรต่อไปดี เพื่อเอาดีทางด้านนั้นไปเลย เขาได้เล็งเห็นว่ามือถือกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดของมนุษย์ นับจากนั้นเป็นต้นมา ลี คุนฮี จึงหันมาเน้นธุรกิจด้านนี้มากขึ้น โดยพัฒนาทั้งคุณภาพและเทคโนโลยีเพื่อก้าวให้ทันคู่แข่งอย่าง Apple
 
6. เปลี่ยนเพื่อก้าวสู่แบรนด์ระดับโลก
 
ในปี 1993 ลี คุนฮี ตัดสินใจเปลี่ยนทิศทางธุรกิจอีกครั้ง โดยเน้นที่ฝีมือและคุณภาพให้มากยิ่งขึ้นไปอีก พนักงานคนไหนฝีมือไม่ดี ส่งกลับบ้านให้หมด เพื่อผลักดันให้ซัมซุงเป็นแบรนด์ระดับโลกให้ได้ โดยเขาได้คัดเลือกหนุ่มสาวในบริษัทที่มีหน้าตาดูดีจำนวน 4,700 คน
และขนานนามให้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้คือ ‘Regional Specialist’ เพื่อส่งให้ไปอาศัยในต่างประเทศทั้งหมด 80 ประเทศเป็นเวลา 15 เดือน เสมือนถูกส่งไปอยู่ค่าย พนักงานเหล่านั้นจะถูกฝึกทางด้านภาษา วัฒนธรรม และประเพณีของแต่ละประเทศ เพื่อไปซึมซับวิถีชีวิตของคนในแต่ละประเทศ ไปสร้างคอนเน็คชั่น แล้วทำรายงานกลับมาที่เกาหลีใต้
 
7. ปี 2012 นำพาซัมซุงแซงหน้าแอปเปิล
ภาพจาก bit.ly/34wMKeH
หลังจากที่ ลี คุนฮี ได้ส่งพนักงานหนุ่มสาวหน้าตาดีไปเรียนต่างประเทศ โดยเขามองเห็นประโยชน์ว่า กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศมากขึ้น ซึ่งทำให้ซัมซุงสามารถเจาะตลาดได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง
จนใช้เวลาเพียง 10 ปี แบรนด์ซัมซุงจึงก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ที่ทรงพลังที่สุดในตลาดโลกได้ ตามที่เขาตั้งเป้าเอาไว้ด้วยส่วนแบ่งตลาด 22.9% มียอดขาย 98 ล้านเครื่องใน 9 เดือนแรกของปี 2012 นำหน้าแบรนด์นิยมเจ้าดังอย่างแอปเปิลไปอย่างขาดลอย
 
8. ใช้คำดูถูกเป็นแรงผลักดันให้ประสบความสำเร็จ
 
แม้ซัมซุงจะเป็นแบรนด์ที่หลายคนมองว่าขอบลอกเลียนแบบแอปเปิล แต่ ลี คุนฮี ไม่ย่อท้อต่อคำสบประมาทใดๆ ทั้งสิ้น เขามุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อให้แบรนด์ซัมซุงเป็นที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด
ซึ่งรุ่น Note ของซัมซุงถือเป็นรุ่นที่เป็นจุดขายของแบรนด์ ด้วยดีไซน์ที่หรูหรา และราคาที่จับต้องได้ แม้ว่าจะขึ้นมาเป็นแบรนด์ติดอันดับโลกได้ตามเป้าหมายแล้วนั้น ซัมซุงยังคงเดินหน้าพัฒนาเพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำทางด้านสมาร์ตโฟนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
 
9. เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ยกเว้นลูกและเมีย
ภาพจาก bit.ly/3dZhh89
ลี คุนฮี ยังได้เปลี่ยนหรือปฏิวัติเวลาการทำงานใหม่ โดยเริ่มเวลาทำงานให้เร็วขึ้น และเลิกไว โดยเริ่ม 7 โมงเช้า เลิก 4 โมงเย็น ซึ่งภายใต้ปรัชญาการปรับเวลาให้เร็วขึ้นนี้ เปรียบเสมือนการตบหน้าพนักงานให้ตระหนักถึงการที่บริษัทต้องเปลี่ยนแปลง
หากไม่ต้องการให้บริษัทเจ๊ง และ ลี คุนฮี ยังตระหนักว่า ถ้าพนักงานมีเวลาเลิกงานที่เร็วขึ้นบ่าย 4 โมงเย็น พนักงานจะมีเวลาไปเรียนภาษา ออกกำลัง หรืออยู่กับครอบครัวมากขึ้น พร้อมมีเวลาในการไปพัฒนาตัวเองด้านอื่นๆ
 
เพราะ ลี คุนฮี เชื่อว่าในอนาคตผู้เชี่ยวชาญจะมีความรู้ด้านเดียวไม่เพียงพอ เพราะในอนาคตต้องเชี่ยวชาญด้านอื่นด้วย จนในที่สุดเขาสามารถนำพาซัมซุงก้าวผ่านช่วงเวลาของการเปลี่ยนเทคโนโลยี จากอนาล็อกมาสู่ยุคดิจิตอลได้โดยไม่โดนคลื่นของความเปลี่ยนแปลงกลืนกินไปเสียก่อน “Samsung เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะโดนเปลี่ยนหรือบังคับให้เปลี่ยน
10. ไม่ยึดติดกรอบ กล้าเปิดรับสิ่งใหม่ๆ
ภาพจาก bit.ly/34u8hVk
ลี คุนฮี เป็นผู้นำซัมซุงที่มีใจกว้างในการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ทั้งจากผู้บริหารและพนักงาน ลดขั้นตอนต่างๆ ที่ทำให้การตัดสินใจล่าช้าออกไป นอกจากนี้เขายังไม่ปิดกั้นตัวเอง แต่กลับส่งพนักงานชาวเกาหลีไปทำงานที่สาขาต่างประเทศ และรับชาวต่างประเทศมาทำงานในบริษัทที่เกาหลีใต้ เพื่อผนวกมุมมองจากบุคคลสองกลุ่มเข้าด้วยกัน
นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้นำที่ไม่ยึดติดกับกรอบหรือความคิดของตัวเอง แต่เชื่อในพลังของทีมและเชื่อในมันสมองของคนที่มีความเก่งกาจ จนสามารถพัฒนาและนำพาซัมซุงก้าวขึ้นขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำด้านสมาร์ทดีไวซ์และ Consumer Electronics ได้อย่างมั่นคง
 
หาก ลี คุนฮี ไม่เดินทางสำรวจสินค้าในสหรัฐอเมริกาในครั้งนั้น เชื่อว่า ซัมซุง คงไม่มายืนอยู่ในจุดนี้ในวันนี้ เขากล้าที่ทำลายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพของตัวเอง เพื่อพัฒนาให้มันดีขึ้นกว่าเดิม และกล้าที่จะเปลี่ยนทุกอย่าง เพื่อให้สินค้าตอบโจทย์ผู้บริโภค แล้วผู้ประกอบการไทยกล้าที่จะทำแบบ ลี คุนฮี ได้หรือเปล่า หากไม่ยึดติดกับกรอบเดิมๆ คุณก็จะเจอสิ่งที่กว่า
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaisme
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaifranchise
โฆษณา