28 ต.ค. 2020 เวลา 03:58 • หนังสือ
#รีวิวหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ผู้เขียน Kan Sumita (คัน ซุมิตะ)
ผู้แปล ทินภาส พาหะนิชย์
235.00 บาท
240 หน้า
ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ขยัน จริงจัง และทำงานได้ดีเยี่ยมจนทั่วโลกยอมรับ แต่น้อยคนจะรู้ว่ามีชาติหนึ่งที่คนญี่ปุ่นยกย่องให้เป็น "แบบอย่าง" ของตน ชาตินั้นคือ "เยอรมัน" ซึ่งมีวิธีคิดและทำงานที่น่าทึ่ง "แต่จะดีแค่ไหน ถ้าเราได้เรียนรู้วิธีคิดทั้งเยอรมันและญี่ปุ่นในคราวเดียว?"
"ซุมิตะ คัง" เป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ทำงานในบริษัทการเงินเก่าแก่ 300 ปีของเยอรมนี เขาได้สัมผัสวิธีคิดแบบเยอรมัน และนำมาเทียบกับข้อดีของญี่ปุ่น เขาผสานสไตล์ทั้ง 2 เข้าด้วยกัน เกิดเป็นแนวทางที่มหัศจรรย์ในหนังสือ "Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น" เล่มนี้ ที่จะพาคุณไปพบกับศิลปะการเพิ่ม Productivity ที่รวมทั้งเยอรมันและญี่ปุ่น ตั้งแต่วิธีคิด การสื่อสาร การบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม ไปจนถึงการใช้ชีวิต ซึ่งจะช่วยคุณสร้างผลงาน และมีความสุขในชีวิตมากขึ้น
 
1.แนวคิดพื้นฐาน
ญี่ปุ่น พลเมือง คือผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องผู้บริโภค มองแรงงานเป็นสิ่งน่าเคารพมองความขยันเป็นคุณธรรมอันดียกให้งานมาเป็นอันดับ 1
 
เยอรมัน พลเมืองคือแรงงาน ให้คามสำคัญเรื่องสิทธิแรงงานคนเยอรมันจะไม่ทำงานมากเกินไปถึงจะขยัน ตั้งใจทำงาน แต่จะไม่ฝืนตัวเอง และยืดหยุ่นกับการทำงาน ยกให้ครอบครัวมาเป็นอันดับ 1
 
ผลิตภาพ (Productivity) คือ
- การวัดประสิทธิภาพ (Efficiency)
- ของการผลิต (Production)
- ตลอดจนทำงาน (Working)
- การบริการ (Service)
เยอรมันมีผลิตภาพสูงกว่า ญี่ปุ่น 1.5 เท่า คนญี่ปุ่นทำงานเยอะ แต่สร้างผลงานน้อยกว่า
 
เศรษฐกิจ OECD ปี 2015 ระบุว่า
- คนญี่ปุ่นทำงานปีละ 1719 ชั่วโมง
- คนเยอรมันทำงานปีละ 1371 ชั่วโมง
ญึ่ปุ่น
- GDP อันดับ 3 ของโลก
- GNP อันดับ 22 ของโลก
เยอรมัน
- GDP อันดับ 4 ของโลก
- GNP อันดับ 19 ของโลก
2.วิธีสื่อสาร
การสนทนาในชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อ Productivity แค่เปลี่ยนวิธีการสื่อสาร Productivity จะเพิ่มขึ้น
- พูดอย่างไม่ลังเล
- ถามทันทีเมื่อไม่เข้าใจ
- เมื่อทำผิดหาวิธีแก้ปัญหา
- หยุดเขียนอีเมล์ที่ถามไม่จบสิ้น
- เมื่อเข้าประชุมทุกคนต้องได้พูด
- สังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน
- กระชับความสัมพันธ์ในทีม
เทคนิคเลิกเดาใจคน คือ การถามให้มาก (ซึ่งคนญี่ปุ่นไม่ชอบ)
 
การเดาใจคนอื่นมากเกินไป ประสิทธิภาพการทำงานจะลดลง
 
หัวหน้าควรลดการให้เดาใจ โดยการบอกว่า อยากได้อะไรต้องการอะไร ต้องการแบบไหน
 
ไม่ใช้คำว่า ด่วนที่สุด เพราะจะไปลด Productivity
3.วิธีบริหารเวลา
คนเยอรมัน
- ถ้ามีสิ่งที่ต้องทำจะบริหารเวลาไม่ให้ยุ่ง
- จดจ่อกับการทำงานเต็มที่ในเวลางาน
- เขียนอีเมล์แบบเรียบง่าย
- มุ่งมั่นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- เมื่อพักก็พักเต็มที่
- แก้ปัญหาเสียงรบกวนด้วยการใส่หูฟัง
การทำเอกสาร
- เอกสารภายนอก ทำอย่างประณีต
- เอกสารภายในทำแบบง่ายๆ
การลางาน
- แยกลาพักร้อน กับการลาป่วย
- ส่วนใหญ่ใช้เวลาพักร้อนจนหมดมีใบรับรองแพทย์จะได้ค่าจ้างด้วย
คนญี่ปุ่น
- คิดมากและเสียเวลาไปกับเขียนอีเมล์
- ถ้าใส่หูฟังต่อให้บอกว่าตัดเสียงรบกวนก็โดนตำหนิอยู่ดี
การทำเอกสาร
- ออกแบบเอกสารอย่างประณีต
- จัดทำเอกสารอย่างดีทุกประเภท
การลางาน
- ใช้วันพักร้อนลาป่วย
- ใช้วันพักร้อนต่ำที่สุดในโลก 60 % รู้สึกผิดที่ลาพักร้อนเพราะได้รับอิทธิพลรอบข้าง
4.การทำงานเป็นทีม
- เพิ่มความไวในการทำงาน
- ตัดงานไร้ประโยชน์ออกไป
- ทำงานให้เสร็จในรวดเดียว
- เพิ่มทักษะพนักงาน
- ทบทวนการบริหารทีม
- ทำผิดพลาดได้ แต่ห้ามปิดบัง
- เตรียมวิธีการรับมือเสมอ
- รู้จักพลิกแพลงเวลาสั่งงาน
- จัดระเบียบอยู่เสมอ
- แบ่งปันข้อมูลในทีม
- เพิ่มความสามัคคี
ญี่ปุ่น ตีกอล์ฟกับลูกค้าเพื่อสานสัมพันธ์และทำธุรกิจ
 
เยอรมัน ตีกอล์ฟกับลูกค้าเพื่อสังสรรค์
5.การใช้ชีวิต
ญี่ปุ่น
- เผชิญปัญหาสังคมผู้สูงอายุ
- เดินตามทางสังคมที่กำหนด
- หาสิ่งที่อยากทำไม่เจอ
- ได้คะแนนความใจกว้างต่ำ
- ไม่ค่อยลางานหรือกลับก่อน
- แคร์สายตาคนรอบข้าง
ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์, จัดสภาพแวดล้อมการทำงาน, มีน้ำใจให้มากขึ้น
 
เยอรมัน
- ระบบบำนาญเพียบพร้อม
- เลือกทางเดินชีวิตได้หลายทาง
- ไม่ค่อยยิ้มแย้มแต่มีน้ำใจ
- แยกเวลางานกับเวลาส่วนตัว
- เมื่อเลิกงานกลับบ้านทันที
- ถือคติ ฉันก็คือฉัน
เปิดใจกับวิธีทำงานที่หลากหลาย, ไม่เอาชีวิตไปเกาะติดกับที่ทำงาน, ออกไปสนุก ทำสิ่งที่อยากทำ
6.7 เทคนิคทำงานแบบเยอรมัน
- คุยงานแบบตัวต่อตัว
- ตั้งเป้าหมายการประชุม
- ตัดสินใจวันนี้ ลงมือทำพรุ่งนี้
- ลิสท์ งาน 3 อย่างของวันนี้
- ลองประชุมนอกสถานที่
- เปลี่ยนเส้นทางขากลับบ้าน
- หาเวลาให้ตัวเอง
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaifranchise

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา