28 ต.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
“อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)” นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20” ตอนที่ 3 (ตอนจบ)
ชีวิตของยอดอัจฉริยะ
ค.ศ.1913 (พ.ศ.2456) ได้มีมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งติดต่อให้อัลเบิร์ตไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยนั้น พร้อมเสนอเงินจำนวนมากให้อัลเบิร์ต
สิ่งที่อัลเบิร์ตต้องทำคือแค่มามหาวิทยาลัย และนั่งคิด ส่วนเรื่องสอน ถ้าอัลเบิร์ตอยากสอนเมื่อไรก็ค่อยสอน
ฟังดูเหมือนเป็นงานในฝัน แต่ติดปัญหาข้อเดียว
มหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่ที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
ถึงแม้ว่าอัลเบิร์ตจะจากเยอรมนีมานานกว่า 20 ปี แต่เขาก็ยังจำช่วงเวลาเลวร้ายที่เยอรมนีได้ นอกจากนั้น มิเลวาเองก็ไม่ชอบเบอร์ลินและผู้คน เนื่องจากมิเลวาคิดว่าชาวเบอร์ลินนั้นดูไม่เป็นมิตร
อีกอย่าง มิเลวายังรู้สึกอิจฉาอัลเบิร์ต เนื่องจากเธอเองก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ปราดเปรื่องเช่นกัน แต่ความสนใจทั้งหมดกลับตกไปอยู่กับอัลเบิร์ต
ยิ่งคิดอย่างนี้ ยิ่งทำให้มิเลวาไม่อยากไปจากซูริค
อัลเบิร์ตและมิเลวา
แต่สุดท้าย อัลเบิร์ตก็เลือกที่จะทิ้งครอบครัว ซึ่งนอกจากมิเลวาแล้ว ยังมีลูกชายอีกสองคน และเดินทางไปเยอรมนี
ความขัดแย้งนี้ทำให้อัลเบิร์ตและมิเลวาหย่ากันในเวลาต่อมา และอัลเบิร์ตก็แทบไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับมิเลวาหรือลูกชายทั้งสองอีกเลย
อันที่จริง มิเลวาก็มีเหตุผลที่ดีในการไม่อยากย้ายไปเบอร์ลิน
ในต้นศตวรรษที่ 20 ประเทศต่างๆ ในยุโรปต่างแก่งแย่งอำนาจ และต่างก็มีความขัดแย้งกันมาก ทั้งในเรื่องของดินแดน หรือความเชื่อทางศาสนา
เยอรมนีคือหนึ่งในประเทศที่น่ากลัว และรัฐบาลก็ส่งเสริมการสร้างกองทัพให้แข็งแกร่ง เพื่อเอาชนะศัตรู
1
เยอรมนีในปีค.ศ.1900 (พ.ศ.2443)
เมื่ออัลเบิร์ตเดินทางมาถึงเบอร์ลินในปีค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) แทบทั้งเมืองก็เต็มไปด้วยทหารที่พร้อมจะออกรบ
สถานที่นี้ไม่เหมาะกับผู้ที่รักสงบอย่างอัลเบิร์ต หากแต่ “เอลซ่า (Elsa Einstein)” ลูกพี่ลูกน้องของอัลเบิร์ตก็ทำให้อัลเบิร์ตรู้สึกผ่อนคลาย
อัลเบิร์ตและเอลซ่าตกหลุมรักกัน และประกาศว่าจะแต่งงานกัน
อัลเบิร์ตและเอลซ่า
ชีวิตกับภรรยาคนที่สองนับว่าดีมากสำหรับอัลเบิร์ต เขามีความสุขมากเวลาที่อยู่กับเอลซ่า หากแต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่าทฤษฎีหลายๆ อย่างของเขาถูกคิดขึ้นมาในขณะที่เขายังแต่งงานอยู่กับมิเลวา
หลายคนตั้งคำถามว่าทฤษฎีเหล่านั้น อัลเบิร์ตเป็นคนคิดขึ้นมาจริงหรือเปล่า บางทีอาจจะเป็นมิเลวาก็ได้
ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ในที่สุด สงครามในยุโรปก็ได้เกิดขึ้น
สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้แผนการที่จะไปเฝ้าดูสุริยุปราคาเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีเรื่องแสงของอัลเบิร์ตนั้นพังลงทันที และอัลเบิร์ตต้องรออีกกว่าห้าปีถึงจะได้พิสูจน์ทฤษฎีของตน
2
สงครามโลกครั้งที่ 1
ในช่วงแรก เยอรมนีเหมือนจะได้ชัยชนะ หากแต่ในช่วงหลัง สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยน
2
ผู้นำเยอรมันได้พยายามบอกประชาชนว่าตนต้องชนะ และสั่งให้นักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ออกมายืนยัน ซึ่งรวมถึงอัลเบิร์ต
หากแต่อัลเบิร์ตปฏิเสธ
5
การขัดคำสั่งของอัลเบิร์ต ทำให้รัฐบาลเยอรมันไม่พอใจอย่างมาก และต้องการจะจับอัลเบิร์ตเข้าคุก หากแต่เป็นโชคดีของอัลเบิร์ตที่เขายังคงถือสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้การจับกุมตัวเขานั้นลำบาก เนื่องจากการที่รัฐบาลจะจับตัวคนชาติอื่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะชาติที่รักสงบอย่างสวิตเซอร์แลนด์
1
เยอรมนีแพ้สงครามในปีค.ศ.1918 (พ.ศ.2461) และสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ได้สิ้นสุดลง
1
ในปีต่อมา ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462) จะมีสุริยุปราคาอีกครั้ง และเป็นเวลาที่จะได้พิสูจน์ทฤษฎีเรื่องแสงของอัลเบิร์ต
1
นักวิทยาศาสตร์เยอรมันหลายคนต่างต้องการให้ทฤษฎีของอัลเบิร์ตผิดพลาด ชื่อเสียงของอัลเบิร์ตจะได้พังทลาย
7 พฤศจิกายน ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462) ข่าวใหญ่ได้ออกมา
ทฤษฎีของอัลเบิร์ตถูกต้อง
1
ถึงแม้จะมีไม่กี่คนที่เข้าใจในทฤษฎีของเขา หากแต่โลกก็รับรู้ว่าเขาคืออัจฉริยะ
อัลเบิร์ตนั้นโด่งดัง กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ในเวลาชั่วข้ามคืน หากแต่เขาก็อึดอัดกับชื่อเสียงที่ถาโถมเข้ามา
ชื่อเสียงอันโด่งดังของอัลเบิร์ต ทำให้มีคนเขียนจดหมายหาเขาวันละนับพันฉบับ ซึ่งอัลเบิร์ตก็ได้ใช้ชื่อเสียงของตนในการช่วยชาวยิว
ค.ศ.1921 (พ.ศ.2464) อัลเบิร์ตเดินทางไปสหรัฐอเมริกาพร้อมด้วยชาวยิวคนอื่นๆ เพื่อระดมเงินช่วยเหลือชาวยิวที่ปาเลสไตน์
เมื่อเรือที่อัลเบิร์ตโดยสาร ได้มาเทียบท่า ผู้คนนับพัน รวมทั้งนักข่าวและช่างภาพ ต่างมารอเขาเต็มท่าเรือ และไม่ว่าเขาจะไปที่ไหน ก็จะมีผู้คนตามไปดู
1
อัลเบิร์ตได้รับการต้อนรับและได้รับเกียรติหลายอย่าง แม้แต่ประธานาธิบดี “วอร์เรน ฮาร์ดิง (Warren Harding)” ก็ได้เชิญเขาไปยังทำเนียบขาว
1
อัลเบิร์ตนั้นมีบุคลิกที่เป็นมิตร ทำให้นักข่าวชื่นชอบที่ได้สัมภาษณ์เขา
เมื่อมีนักข่าวขอให้เขาอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพ อัลเบิร์ตได้อธิบายว่า
“เมื่อชายหนุ่มนั่งอยู่กับหญิงสาวสวยเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง จะรู้สึกเหมือนเวลาผ่านไปเพียงหนึ่งนาที แต่ลองให้เขานั่งลงบนเตาไฟเพียงหนึ่งนาที จะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปยาวนานนับชั่วโมง นั่นแหละ คือสัมพัทธภาพ”
4
ถึงแม้จะเป็นคนดังที่สหรัฐอเมริกา แต่ที่เยอรมนี อัลเบิร์ตยังเป็นบุคคลอันตรายที่ทางการต้องการตัว
ถึงแม้อัลเบิร์ตจะยังมีงานสอนที่เบอร์ลิน แต่เขาก็อยู่ในเยอรมนีได้ยาก ทางการคอยหาเรื่องกลั่นแกล้ง
ในที่สุด นาซีได้กล่าวหาว่าอัลเบิร์ตเป็นสายลับ ทำให้อัลเบิร์ตและเอลซ่าต้องไปอยู่ที่อื่น และพวกเขาก็เลือกจะไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
ที่สหรัฐอเมริกา อัลเบิร์ตได้เป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ที่วิทยาลัยแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะพักอยู่กับเอลซ่าในเมืองเล็กๆ
1
ต่อมา เอลซ่าได้เสียชีวิตในปีค.ศ.1936 (พ.ศ.2479) ซึ่งทำให้อัลเบิร์ตเสียใจและโดดเดี่ยว
นอกจากนั้น สุขภาพของเขาก็เริ่มทรุดโทรม อีกทั้งยังได้ยินข่าวเพื่อนๆ ที่ถูกฆ่าที่เยอรมนี
1
อัลเบิร์ตตัดสินใจที่จะทำทุกทางเพื่อหยุดยั้งนาซี
สมการ E = mc2 สามารถสร้างอาวุธที่ร้ายแรงได้ และอัลเบิร์ตก็ได้รู้มาว่านักวิทยาศาสตร์ยุโรปกำลังเร่งพัฒนาระเบิดปรมาณู ซึ่งหากเยอรมนีสามารถทำได้สำเร็จก่อนชาติอื่น โลกคงจะไม่ดีแน่
1
อัลเบิร์ตตัดสินใจเขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และขอให้พัฒนาระเบิดปรมาณู
2
จดหมายฉบับนี้เป็นฉบับที่เขียนยากที่สุดสำหรับอัลเบิร์ต เขาเกลียดการสู้รบ แต่เขาต้องขอให้สหรัฐอเมริกาสร้างระเบิดปรมาณู เนื่องจากเขาคิดว่ามันก็ยังดีกว่าให้เยอรมนีสร้างได้สำเร็จเป็นชาติแรก
1
สหรัฐอเมริกาทำได้สำเร็จ ซึ่งอัลเบิร์ตก็รู้สึกเศร้าใจ หากแต่ก็ไม่มีทางเลือก
ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อัลเบิร์ตได้พยายามเรียกร้องการจำกัดการพัฒนาอาวุธ
ค.ศ.1940 (พ.ศ.2483) อัลเบิร์ตได้เป็นพลเมืองอเมริกัน ซึ่งเขาก็ใช้ชีวิตอย่างเงียบสงบในนิวเจอร์ซีย์
18 เมษายน ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) อัลเบิร์ตเสียชีวิตด้วยวัย 76 ปี
การเสียชีวิตของอัลเบิร์ต นับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการวิทยาศาสตร์ ในขณะที่ชาวยิวก็เสียใจต่อการจากไปของผู้นำที่ต้องการให้โลกสงบสุข
และจนถึงวันนี้ ชื่อของอัลเบิร์ต ยังคงติดอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง
1
“มีเพียงชีวิตที่อยู่เพื่อผู้อื่นเท่านั้น จึงนับเป็นชีวิตที่มีค่า”
3
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)
จบลงแล้วสำหรับซีรีส์ชุดนี้ เรื่องต่อไปที่จะตามมา
“การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 (Siamese revolution of 1932) การปฏิวัติที่เป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ไทย”
จะตามมาแน่นอนครับ
โฆษณา