28 ต.ค. 2020 เวลา 13:41 • ประวัติศาสตร์
ทำไม! ประเทศเราต้องใช้ชื่อว่า "ไทย"
ในอดีตก่อนปี พ.ศ.2482 ประเทศของเรามีชื่อว่า “สยาม” เเต่ทำไมนะเราจึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็นคำว่า “ไทย”
เริ่มต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482 ยึดตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยม การใช้ชื่อประเทศ,ประชาชน เเละสัญชาติ
เเต่ในทางกฏหมายเเล้วต้องถือเอาวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2482 อันเป็นวันที่รัฐบาลสมัยนั้นเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนุญขนานนามประเทศ ต่อ รัฐสภา” เเละผ่านวาระที่ 3 ในอีก 1 เดือนถัดมา
คำเเถลงต่อรัฐสภาบางส่วนของ พล.ตรี หลวงพิบูลสงคราม(ยศในขณะนั้น) ได้ระบุเหตุผลไว้ว่า
“...ในการที่ทางรัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญขนานนามประเทศนั้น ก็ด้วยได้พิจารณาเห็นกันเป็นเอกฉันท์ว่า นามประเทศของเราซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ที่เรียกว่า ประเทศสยามนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่ได้ตั้งขึ้นไว้ คือ ไม่มีพระราชบัญญัติ หรือมีสิ่งใดที่เป็นหลักฐาน นามประเทศของเราที่ใช้เรียกกันอยู่ทุกวันนี้ ก็ได้มาด้วยความเคยชิน หรือได้จดจำเรียกกันต่อๆมา เเละได้พยายามให้เจ้าหน้าที่ค้นในทางประวัติศาสตร์ก็ไม่ปรากฏว่า ใครเป็นผู้ตั้งขึ้นคราวเเรก เเละตั้งเเต่ครั้งใดก็ไม่ทราบ เป็นเเต่ว่าเราเรื่อยๆมา เรียกว่าประเทศสยาม เเละคำว่าประเทศสยามนั้น ก็มักจะใช้เเต่ในวงราชการ
เเละนอกากนั้นก็ในวงของชาวต่างชาติเป็นส่วนมาก ส่วนประชาชนคนไทยของเราโดยทั่วไป ฉะเพาะอย่างยิ่งตามชนบทด้วยเเล้ว เราจะไม่ค่อยใช้คำว่าประเทศสยาม เราใช้คำว่า ไทย เนื่องด้วยมีนามซึ่งประชาชนคนไทยของเราเรียกเป็นสองอย่างดังนี้...”
เเละ พล.ตรี หลวงพิบูลสงคราม ยังกล่าวต่ออีกว่า
“...การที่เราได้เปลี่ยนให้ขนานนามว่าประเทศไทยนั้น ก็เพราะเหตุว่าได้ พิจารณาดูเป็นส่วนมากเเล้ว นามประเทศนั้นเขามักใช้เรียกตามเชื้อชาติของชาติที่อยู่ในประเทศนั้น เพราะฉะนั้นของเราก็เห็นว่าเป็นภารขัดกันอยู่ เรามีเชื้อชาติเป็นชาติไทย เเต่ชื่อประเทศเราเป็น ประเทศสยาม จึงมีนามเป็นสองอย่างดังนี้…”
“...นอกจากจะไม่ตรงกับเชื้อชาติของเราเเล้ว ในต่อไปภายหน้าคนชาวต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศของเรา ก็อาจที่จะถือเอ่สิทธิประเทศของเราเป็นประเทศของเขาก็ได้ คือว่าเราเป็นชาวไทย เราก็อยู่ในประเทศสยามชาวจีนก็อยู่ในประเทศสยาม ถ้าหากว่าการที่อพยพของชาวต่างประเทศมากขึ้นในต่อไปข้างหน้าตั้งพันปี เราก็อาจไม่เข้าใจว่า ประเทศสยามนี้เป็นของไทยหรือของจีน หรือของคนอื่น…”
จากคำเเถลงต่อรัฐสภาของ พล.ตรี หลวงพิบูลสงคราม นั้นเราก็อาจจะสงสัยกันว่า เอ๊ะ? ที่มาของชื่อ ประเทศสยาม นั้นมีที่มาเเบบที่ พล.ตรี หลวงพิบูลสงครามกล่าวหรือไม่
ข้าพเจ้าก็เลยไปค้นคว้าที่มาของชื่อประเทศในอดีตตั้งเเต่กรุงศรีอยุธยาว่าเป็นยังไงกันนะ
จากบทความบางส่วนของ คุณโรม บุนนาค ในเว็บไซต์ mgronline ได้เรียบเรียงไว้ว่า
“...ประเทศของเราทุกวันนี้มีชื่อว่า ประเทศไทย เเต่คำว่า สยาม เเละ ศรีอยุธยา ก็เคยเป็นชื่อของประเทศนี้มาเเล้ว
คำว่า “สยาม” บ้างก็มาจากคำว่า “ศยามะ” ในภาษาสันกฤตที่แปลว่าดำ หรือสีคล้ำ บ้างก็ว่ามาจากคำว่า “สามะ” ในภาษาบาลีซึ่งหมายถึงสีดำ สีเหลือง หรือสีทอง เเต่ก็กล่าวกันว่าชาวสิงหลเเละมลายูเป็นผู้เรียกแผ่นดินย่านนี้มาเเต่ดึกดำบรรพ์เเล้วว่า “เซียม” ชาติอื่นๆก็เคยเรียกตาม
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนไทยยังไม่มีชื่อประเทศ คงใช้คำว่า “กรุงศรีอยุธยา” เเทนชื่อประเทศ เเต่ชาวยุโรปเรียกว่า “SIAM” บางคนยังขยายความว่า “ประเทศของคนผิวคล้ำ” เเละอธิบายว่า สำหรับคนพื้นเมืองเเล้วเรียกประเทศของตัวเองว่า “เมืองไทย”
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสนธิสัญญาต่างๆที่ทำกับต่างประเทศก็ยังใช้คำว่า
“กรุงศรีอยุธยา” มาตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีการเปิดสัมพันธไมตรีกับ
ต่างประเทศอย่างกว้างขวาง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าการจะใช้ชื่อเมืองหลวงเก่าเป็นชื่อประเทศเป็นการไม่สมควร ในปี พ.ศ. 2398 ซึ่งเป็นปีที่ 5 ในรัชกาล จึงทรงมีประกาศให้ใช้ชื่อประเทศว่า “สยาม” ตามที่ต่างประเทศนิยมเรียก
เราจึงมีชื่อประเทศว่า “สยาม” ตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ.2482…”
เเต่ในสมัยนั้น พ.ศ.2482 นั้นก็มีการให้เหตุผลคัดค้านจาก นายพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2482 ที่น่าสนใจอย่างมากคือ
“...ในแง่นโยบายปกครอง เราคงลำบากใจบางอย่าง คนในสยามมีหลายชาติ เวลานี้เขารักใคร่สยาม ถึงคราวเราพูดอะไรจะให้กินความส่วนรวมแล้วใช้ว่าไทย เกรงว่าเขาอาจจะน้อยใจได้
อนึ่ง ถ้าเราเลิกใช้คำสยาม ใช้แต่ไทย จะเกิดความรู้สึกว่าเอาพวกชาติอื่นออก เพราะไม่ใช่ไทย พวกปัตตานีก็ไม่ใช่ไทย ถ้าเราเรียกว่าสยามก็รวมพวกปัตตานีด้วย เขาก็พอใจ ถ้าเปลี่ยนไป อาจไม่ดูดพวกนี้มารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้…”
The Monarchy
โฆษณา