29 ต.ค. 2020 เวลา 05:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กฎ 3.5% วิทยาศาสตร์และการเมือง
มนุษย์ มีความเชื่อ จากข้อมูล และประสบการณ์ ที่ตนเองประสบพบมา จึงเป็นเรื่องปกติที่แต่ละคนจะมีความเชื่อไม่เหมือนกันด้วยเหตุผลข้างต้น
เมื่อความเห็น ความเชื่อที่เคยมีมา ไม่ตรงกันกับสิ่งที่เป็นอยู่ และเป็นมา จึงมีการเคลื่อนไหว เรียกร้อง ในสิทธิ์ที่พึงมี บนความเชื่อที่ว่า เส้นทางใหม่ไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
คำถามที่น่าสนใจคือ แล้วจำนวนผู้ร่วมชุมนุมที่เรียกร้อง ต้องมีจำนวนเท่าไหร่ ถึงจะสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบมีนัยยะได้
ผลการวิจัยของ เชโนเว็ธ (Erica Chenoweth)นักวิทยาศาสต์การเมืองชี้ว่า จำนวนคนราว 3.5% จากประชากรทั้งหมด ที่เข้าร่วมการชุมนุมอย่างจริงจัง จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญได้
2
การเคลื่อนไหวแบบสันตินั้นมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จกว่าการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงถึง 2 เท่า เพราะสามารถดึงดูดคนจากหลายภาคส่วนมากกว่า
1
จากการเคลื่อนไหวที่ใหญ่ที่สุด 25 เหตุการณ์ มีถึง 20 เหตุการณ์ที่เป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นไปอย่างสันติ
ในจำนวนนั้น มี 14 เหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นชัยชนะอย่างสมบูรณ์
โดยรวมแล้ว การเคลื่อนไหวแบบสันติ ดึงดูดผู้เข้าร่วมได้มากกว่าการเคลื่อนไหวแบบรุนแรงถึง 4 เท่า
1
การเคลื่อนไหว "พลังประชาชน" ต่อต้านนายพลมาร์กอสในฟิลิปปินส์ดึงดูดคนให้มาเข้าร่วมได้ถึง 2 ล้านคน
ในขณะที่ การลุกฮือในบราซิลระหว่างปี 1984 และ 1985 มีคนเข้าร่วมถึงหนึ่งล้านคน
การปฏิวัติกำมะหยี่ในเชโกสโลวาเกียในปี 1989 ดึงดูดคนได้ถึง 5 แสนคน
"ตัวเลขผู้ชุมนุมสำคัญมากในการสร้างฐานอำนาจที่จะสามารถท้าทายและข่มขู่ผู้มีอำนาจได้อย่างจริงจัง"
เมื่อมีผู้ชุมนุมคิดเป็นสัดส่วน 3.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมดก็ดูเหมือนว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนั้น ๆ จะประสบความสำเร็จ
ชโนเว็ธบอกว่า ไม่มีการชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งไหนที่ล้มเหลวหลังจากมีผู้ชุมนุมเข้าร่วมถึง 3.5% จากประชากร
ทั้งหมด นี่ทำให้เธอเรียกทฤษฎีนี้ว่า "กฎ 3.5%"
เหตุใดการชุมนุมแบบสันติจึงประสบความสำเร็จ
ชโนเว็ธ ยอมรับว่าแปลกใจกับผลการวิจัย แต่ตอนนี้ก็เข้าใจแล้วว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การเคลื่อนไหวลักษณะนี้ประสบความสำเร็จ
ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การประท้วงรุนแรงมักทำให้กลุ่มผู้คนที่รังเกียจและกลัวการนองเลือดไม่เข้าร่วม
1
ชโนเว็ธ บอกอีกว่า การประท้วงแบบสันติมีข้อจำกัดทางร่างกายน้อยกว่า ไม่ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงก็เข้าร่วมได้
1
ในขณะที่การประท้วงรุนแรงต้องอาศัยคนหนุ่มสาวที่แข็งแรงเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว มีการพูดคุยเรื่องการประท้วงแบบสันติได้ง่ายกว่า นั่นหมายความว่าข่าวคราวเรื่องการเคลื่อนไหวจะไปถึงหูคนได้กว้างกว่า
ในทางตรงข้าม การเคลื่อนไหวแบบรุนแรงต้องใช้อาวุธ และต้องใช้การวางแผนเคลื่อนไหวแบบใต้ดินซึ่งยากที่จะเข้าถึงประชากรโดยทั่วไป
ในเชิงยุทธศาสตร์ การประท้วงหยุดงานเป็นหนึ่งในการประท้วงต่อต้านแบบสันติที่ทรงพลังที่สุด (โปรดใช้วิจารณญาณ)
ถึงแม้ว่าการประท้วงแบบสันติจะมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากกว่าการประท้วงแบบรุนแรงถึง 2 เท่า
ต้องอย่าลืมว่า สัดส่วนความล้มเหลวก็มีถึง 47%
ยกตัวอย่างเช่น การประท้วงต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออกในช่วงปี 1950 มีผู้เข้าร่วมถึง 4 แสนคน แต่ก็ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้
อิซาเบล แบรมเซ็น ซึ่งเป็นผู้ศึกษาด้านความขัดแย้งนานาชาติที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน บอกว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผู้ชุมนุมประท้วงก็เป็นส่วนสำคัญ
เธอยกตัวอย่างการลุกฮือในบาห์เรนในปี 2011 ในตอนแรกมีผู้เข้าร่วมกันชุมนุมจำนวนมาก แต่ไม่นานก็มีการขัดแย้งแตกเป็นกลุ่มย่อยมาแข่งขันกันเอง และการสูญเสียความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้เองที่แบรมเซ็นมองว่าทำให้การเคลื่อนไหวล้มเหลว
"คนธรรมดากำลังมีส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหวที่กล้าหาญซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงโลกจริง ๆ อยู่ตลอดเวลา และคนเหล่านี้สมควรจะได้รับความสนใจและการสรรเสริญเช่นกัน"
สุดท้ายผู้เขียนมีความเชื่อว่า ทางออกที่ดีสุด ทุกฝ่ายตัองพูดคุย เจรจากัน เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด เป็นธรรมที่สุดสำหรับประเทศของพวกเรา...ทุกคน
อ้างอิง
Wikipedia
BBC News ไทย
โฆษณา