29 ต.ค. 2020 เวลา 14:17 • ข่าว
ECONOMY : ประเทศในกลุ่ม G-20 วางแผนการประชุมวิสามัญเพื่อหารือเกี่ยวกับการบรรเทาหนี้
รัฐมนตรีทางด้านการคลังและนายธนาคารกลางจากประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่งวางแผนที่จะจัดการประชุมพิเศษในวันที่ 13 พ.ย. เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินการที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนซึ่งกำลังต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ และเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนการประชุมประจำปีของหัวหน้ารัฐบาลในวันที่ 21-22 พฤศจิกายน
การประชุมครั้งนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนการบรรเทาหนี้ทั่วโลก โดยการประสานงานระหว่างเจ้าหนี้ของรัฐบาลในการปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศที่ยากจนซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
หลังจากมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่นำโดยจีนซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้รายใหญ่ที่สุดของโลกได้เห็นพ้องกับกรอบการทำงานร่วมกันในการปรับโครงสร้างหนี้แบบทวิภาคีในการประชุมรัฐมนตรี G-20 ครั้งล่าสุดในเดือนนี้
กลยุทธ์ร่วมกันหมายถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ Paris Club of Creditors ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทของประเทศเจ้าหนี้รายใหญ่ที่มีบทบาทคือการหาทางออกที่เกิดจากการร่วมมือกันอย่างยั่งยืนเพื่อขจัดความยากลำบากในการชำระหนี้ พร้อม ๆ กับที่รัฐบาลของประเทศทางฝั่งตะวันตกหวังว่าจะสามารถโน้มน้าวให้จีนเพิ่มบทบาทในการบรรเทาหนี้ได้
David Malpass ประธานของ World Bank ก็ได้เรียกร้องให้จีนมีส่วนร่วมในการบรรเทาหนี้มากขึ้น รวมถึงเจ้าหนี้เอกชนอย่างเช่นกองทุนป้องกันความเสี่ยงและธนาคาร ขณะที่ประเทศในทวีปเอเชียเป็นเจ้าหนี้อยู่เกือบ 60% ของหนี้ซึ่งกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกจะต้องชำระคืนภายในปีนี้
Zhao Lijian โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนกล่าวในการการบรรยายสรุปเมื่อวันที่ 12 ตุลาคมว่ารัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อระงับการชำระหนี้ชั่วคราวตามข้อตกลงของ G-20 ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาสำหรับการช่วยเหลือประเทศที่ก่อหนี้ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา รวมถึงยังมีมุมมองว่าเจ้าหนี้ทางการค้าและผู้ปล่อยกู้ในระดับพหุภาคีควรจะต้องรับผิดชอบมากขึ้นสำหรับการบรรเทาหนี้ของประเทศยากจน
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลปักกิ่งยังคงมีแนวโน้มที่จะละเว้นจากการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลตะวันตกในการปรับโครงสร้างหนี้เนื่องจากความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นกับสหรัฐฯ และพันธมิตรชาติตะวันตกของอเมริกา
Gabriel Wildau รองประธานอาวุโสของบริษัทที่ปรึกษา Teneo กล่าวในงานวิจัยว่า
“Beijing is likely to oppose the common framework and will instead seek to maintain its flexibility in negotiations with debtor countries, China does not oppose debt relief per se but wants to avoid constraints on its negotiating leverage.”
“ปักกิ่งมีแนวโน้มที่จะต่อต้านกรอบการทำงานร่วมกันและจะพยายามรักษาความยืดหยุ่นในการเจรจากับประเทศลูกหนี้ไว้แทน เนื่องจากจีนไม่ได้ต่อต้านการผ่อนปรนหนี้ แต่ต้องการหลีกเลี่ยงข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากการเจรจา”
การกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม และการติชมในเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เป็นกำลังใจให้เราและเหล่าอาชีพนักเขียนทุกคนในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ขอเชิญทุกท่านร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้ที่ดีด้วยกันกับเรา
World Maker
สามารถติดตาม World Maker ผ่านทาง Facebook ได้แล้ววันนี้ที่
อยากลงทุน อยากมีเงินเก็บอย่างจริงจัง แต่ไม่มีพื้นฐาน World Maker มีคอร์สเรียนดี ๆ มาแนะนำให้ครับ รายละเอียดคลิกเลย !!
โฆษณา