1 พ.ย. 2020 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ศึกข้ามทวีป! เมื่อทัพมองโกลบุกยุโรปยุคศตวรรษที่ 13 มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลกตะวันตกบ้าง
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1211 เจงกิส ข่าน ผู้นำแห่งอาณาจักรมองโกลที่เกรียงไกรได้ยกทัพจากมองโกเลียเข้ายึดครองแผ่นดินยูเรเชียเกือบทั้งหมด และแม้ว่าเจงกิส ข่านเองจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1227 ลูกและหลานของเขาก็ยังทำสงครามเพื่อยึดครองและขยายอาณาจักรไปยังเอเชียกลาง จีน ตะวันออกกลางและยุโรป
อาณาจักรมองโกลยังพยายามที่จะยึดครองโปแลนด์และเยอรมนี แต่โอโกเดอิได้เสียชีวิตลงก่อนในปี ค.ศ. 1241 และความสำเร็จของอาณาจักรมองโกลก็ต้องสะดุดไปพักหนึ่ง แต่ท้ายที่สุดแล้วอาณาจักรมองโกลก็ได้แผ่อำนาจไปครอบคลุมยุโรปตะวันออก แม้จะมีข่าวลือว่าอาณาจักรมองโกลพยายามจะเข้ายึดครองยุโรปตะวันตก แต่ก็ไม่ได้ไปไกลเกินฮังการี
WIKIPEDIA PD
ณ จุดที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของอาณาจักรมองโกล พวกเขายึดครองพื้นที่กว่า 9 ล้านตารางไมล์ ในขณะที่เปรียบเทียบกับอาณาจักรโรมันนั้นเขายึดครองพื้นที่เพียง 1.7 ล้านตารางไมล์เท่านั้น
รายงานเรื่องการโจมตีพื้นที่ต่างๆ ของมองโกลนั้นทำให้ยุโรปหวาดกลัว ทัพของมองโกลใช้ยุทธวิธีการโจมที่รวดเร็วและเด็ดขาดด้วยทหารม้าติดอาวุธที่มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด พวกเขากวาดล้างเมืองที่ต่อต้าน เข้ายึดผลผลิตของเมืองใต้ปกครอง ซึ่งทำให้ชาวยุโรปเกิดความตื่นตระหนก แม้ในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากมองโกลก็เกิดความหวาดกลัวมีการอพยพหนีไปทางยุโรปตะวันตก
WIKIPEDIA PD
ผลกระทบหนึ่งที่สำคัญต่อยุโรปของมองโกลก็คือการที่มองโกลได้พิชิตเอเชียกลางและยุโรปตะวันออกทำให้กาฬโรค ที่เป็นโรคเฉพาะถิ่นที่อยู่ในเอเชียกลางนั้นเดินทางข้ามทวีปไปยังยุโรปโดยไม่ตั้งใจและทำให้เกิดการระบาดจนคร่าชีวิตผู้คนไปถึง 2 ใน 3 ของยุโรป
WIKIPEDIA CC WILLIAM CHO
แม้การรุกรานยุโรปของมองโกลจะก่อให้เกิดความหวาดกลัวและโรคภัยไข้เจ็บขนานใหญ่ แต่ในระยะยาวก็มีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น สิ่งที่สำคัญที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า Pax Mongolica หรือสันติสุขมองโกลที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13-14 เพราะการที่มองโกลขึ้นมาเป็นใหญ่อยู่เพียงผู้เดียวทำให้ไม่เกิดการรบราฆ่าฟันกันอีก มีการเปิดเส้นทางสายไหมระหว่างจีนและยุโรปอีกครั้ง จนเอเชียกลางกลายเป็นภูมิภาคที่สำคัญต่อการค้าระหว่างจีนและชาติตะวันตก เมื่อมีความสงบสุขการค้าขายก็ปลอดภัยและจะได้สะดวกมากขึ้น การค้าจึงยิ่งเฟื่องฟู
1
ภายในกลุ่ม Pax Mongolica ก็มีการสนับสนุนให้แบ่งปันข้อมูลและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม พลเมืองสามารถนับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ พุทธ หรือศาสนาอื่นๆ ได้อย่างถูกกฎหมาย และยังอนุญาตให้พระ หมอสอนศาสนา พ่อค้าและนักสำรวจเดินทางไปตามเส้นทางการค้าได้ เช่น พ่อค้าและนักสำรวจชาวเวนิสที่โด่งดังคือมาร์โค โปโล ที่เดินทางสำรวจเส้นทางสายไหมไปยังจีนและได้เข้าเฝ้าจักรพรรดิกุบไล ข่านด้วย
หนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญของโลกอย่างการผลิตกระดาษ การพิมพ์ การผลิตดินปืนและอื่นๆ ก็ได้ถูกส่งต่อความรู้ไปยังพื้นที่อื่นๆ ของยังเอเชียผ่านเส้นทางสายไหม นักสำรวจ พ่อค้า ผู้แสวงบุญ ผู้ลี้ภัยและทหาร ได้นำความคิดทางศาสนา วัฒนธรรมที่แตกต่างกันเดินทางไปด้วย รวมถึงสัตว์ พันธุ์พืช และมีการแลกเปลี่ยนข้ามทวีป
1
WIKIPEDIA PD
ก่อนอาณาจักรมองโกลจะเรืองอำนาจ ชาวยุโรปและชาวจีนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงการดำรงอยู่ของอีกฝ่าย การค้าที่ก่อตั้งตามเส้นทางสายไหมก่อนคริสตกาลนั้นเป็นของหายาก อันตรายและไม่สามารถคาดเดาอะไรได้เลย เส้นทางการค้าที่ยาวไกล, การอพยพของผู้คนและการขยายตัวของจักรวรรดิมีส่วนทำให้ผู้คนจากต่างวัฒนธรรมได้มีปฏิสัมพันธ์ทำความรู้จักกัน
การติดต่อทางการทูตและภารกิจทางศาสนาเกิดขึ้นในระยะทางไกล พ่อค้าชาวอิสลามสร้างความศรัทธาจากปลายสุดของซีกลักตะวันออกและเผยแผ่ความเชื่อไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาตะวันตก ทางเหนือของอินเดียและอนาโตเลีย
การแผ่ขยายความเชื่อของศาสนาอิสลามทำให้ชาวยุโรปและผู้ปกครองชาวมองโกลนั้นเกิดการตื่นตระหนกจนมีการหาพันธมิตรเพื่อต่อต้านมุสลิมในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ชาวยุโรปพยายามที่จะเปลี่ยนชาวมองโกลให้หันมานับถือศาสนาคริสต์และมีการสร้างชุมชนชาวคริสเตียนในประเทศจีน
1
WIKIPEDIA PD
เส้นทางสายไหมทางบกได้รับการฟื้นฟูอย่างมากภายใต้ Pax Mongolica ผู้ปกครองอาณาจักรทำงานอย่างแข็งขันเพื่อให้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางการค้าที่ปลอดภัย มีการสร้างสถานีขนส่งและจุดพัก มีการใช้เงินกระดาษและขจัดอุปสรรคทางการค้า
ในปี ค.ศ. 1257 ชาวจีนได้แนะนำผ้าไหมดิบให้ชาวอิตาลีได้รู้จัก และในช่วงปี ค.ศ. 1330 พ่อค้าแค่เพียงคนเดียวสามารถขายผ้าไหมได้หลายพันปอนด์ในเจนัว แสดงถึงความนิยมชมชอบต่อผ้าไหมของชาวอิตาลีและชาวตะวันตก
ชาวมองโกเลียซึมซับความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากเปอร์เซีย, อินเดีย, จีนและอาระเบีย ยาและความรู้ทางการแพทย์กลายเป็นพื้นที่แห่งชีวิตและวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองภายใต้การปกครองของอาณาจักรมองโกล และการที่จะให้ทหารมีสุขภาพที่ดีพวกเขาจึงได้สร้างโรงพยาบาลและศูนย์ฝึกอบรมเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนและขยายความรู้ทางการแพทย์ ผลที่ได้ จีนมีการจ้างแพทย์จากอินเดียและตะวันออกกลาง จนมีการถ่ายทอดความรู้ต่อไปยังยุโรป จักรพรรดิกุบไล ข่านก่อตั้งสถาบันการศึกษาการแพทย์แผนตะวันตก และนักประวัติศาสตร์ชาวเปอร์เซีย ราชิต อัลดินได้ตีพิมพ์ตำราแพทย์แผนจีนนอกประเทศจีนเมื่อ ค.ศ. 1313
WIKIPEDIA PD
รัสเซียเองก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่อยู่ใต้การปกครองของมองโกล และเพื่อจะพาตัวเองให้หลุดพ้นจากการปกครองของมองโกล ผู้คนที่พูดภาษารัสเซียจึงได้มีการรวมตัวกัน และในปี ค.ศ. 1480 รัสเซียที่นำโดยแกรนด์ดัสชีแห่งมอสโกได้ต่อสู้เอาชนะและขับไล่ชาวมองโกลออกไปจากอาณาจักรได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกรุกรานอีกหลายครั้งจากชนชาติอื่นๆ แต่ก็ไม่เคยพ่ายแพ้อีกเลย
สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของมองโกลและได้เปลี่ยนโฉมหน้าการทหารและการต่อสู้ก็คือการทำให้ชาวตะวันตกได้รู้จักดินปืนและปืน อาวุธที่ทรงพลังชนิดนี้ทำให้การรบบนหลังม้าด้วยทวนหอกและคมดาบกลายเป็นเรื่องล้าหลังจึงสิ้นสุดยุคอัศวินบนหลังม้าไปโดยปริยาย และอาวุธปืนนี้เองก็ได้ทำให้รัสเซียหนึ่งในชาติที่เคยตกอยู่ในการปกครองของมองโกเลียใช้มันมาเป็นอาวุธเพื่อยึดครองดินแดนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมองโกลมาเป็นของตนได้
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา