2 พ.ย. 2020 เวลา 11:36 • ครอบครัว & เด็ก
‘ภาษีมรดก’ ต้องศึกษา เงินที่ได้อาจกลายเป็นทุกข์
การวางแผนและทำความเข้าใจ "ภาษีมรดก" เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้ให้ไว ก่อนที่จะสายไปและอาจจะสร้างความยุ่งยากให้กับลูกหลานได้ในอนาคต
2
‘ภาษีมรดก’ ต้องศึกษา เงินที่ได้อาจกลายเป็นทุกข์ | กรุงเทพธุรกิจ
เมื่อมี 'วันเกิด' สัจธรรมชีวิตหนีไม่พ้น 'วันตาย' หรือวันที่เราลาจากโลกนี้ไป แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้เตรียมตัววางแผนในหลายเรื่องๆ โดยเฉพาะเรื่องของ “มรดก” ซึ่งนับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ที่ควรต้องศึกษา และเรียนรู้ไว้ โดยเฉพาะคนที่มีมูลค่ามรดกมากยิ่งต้องเรียนรู้เรื่องนี้ให้ไว เพราะถ้าไม่จัดการมรดกให้ดีก็อาจเกิดปัญหาในอนาคตได้
ไม่ใช่แค่เจ้าของมรดกเท่านั้นที่ต้องศึกษาไว้ แต่สำหรับผู้รับมรดกก็ควรศึกษาด้วยเช่นกัน เพราะประเทศไทยมีกฎหมาย “ภาษีมรดก” ที่อาจจะก่อกวนใจผู้ที่ได้รับมรดก ทรัพย์สินที่ได้อาจจะกลายเป็นทุกข์ ทำให้กุมขมับในภายภาคหน้า
1
ภาษีมรดกในประเทศไทย
คำว่า ‘มรดก’ ในภาษากฎหมายนั้นหมายความว่า เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้น ย่อมตกทอดแก่ทายาททันที ทั้งนี้มรดกไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆ ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ข้อกฎหมายยังระบุว่า ทายาทที่สามารถรับมรดกได้นั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมายกําหนดไว้
ทายาทโดยพินัยกรรม ได้แก่ ผู้รับพินัยกรรม
แต่ถึงอย่างนั้น หลังจากที่รู้ว่าอำนาจและมรดกของผู้ตายตกที่ใคร สิ่งที่ต้องจัดการเป็นลำดับต่อมาคือ การชำระ “ภาษีมรดก”
1
ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดก แต่ละรายได้รับมรดกสุทธิมาในคราวเดียวหรือหลายคราว รวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีการรับมรดก มีหลากหลายข้อ ได้แก่
1
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก มาตรา 1599 - มาตรา 1755
- พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
1
- พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558
1
- พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ ผู้ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับมาจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ได้รับเป็นมรดก หักด้วยภาระหนี้สินอันตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท โดยต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทในอัตรา 10%
ภาษีมรดกในต่างแดน
2
หลายประเทศทั่วโลก มีการจัดเก็บภาษีมรดกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเทศในยุโรป ที่ล้วนแล้วแต่มีกฎหมายภาษีมรดกบังคับใช้มานานหลายสิบปี ขณะที่ประเทศไทยเพิ่งมีการบังคับใช้ในปี 2559 ที่ผ่านมา
1
การจัดเก็บภาษีมรดกในต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
📌 การจัดเก็บภาษีจากกองมรดก หรือ Estate tax ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีจากกองทรัพย์สินของผู้ตาย
📌 ภาษีการรับมรดก หรือ Inheritance tax ซึ่งเป็นการเก็บภาษีกับผู้ได้รับกองทรัพย์สินของผู้ตาย
1
นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษีอีก 1 ประเภท ที่มีการจัดเก็บเช่นเดียวกัน นั่นคือ ภาษีการให้ หรือ gift tax ซึ่งบางประเทศจะจัดเก็บควบคู่ไปกับการเก็บภาษีมรดกด้วย โดย "ภาษีการให้" จะเรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ผู้ตายให้แก่ผู้อื่นก่อนตาย ซึ่งโดยทั่วไปนั้นจะเรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ผู้ตายให้แก่ผู้อื่นก่อนตายเป็นเวลาประมาณ 5-7 ปี
สำหรับประเทศที่มาการเก็บภาษีมรดกในอัตราสูงคือ
📌 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เรียกเก็บร้อยละ 55
2
📌 ประเทศญี่ปุ่น เรียกเก็บร้อยละ 50
📌 ประเทศฝรั่งเศส เรียกเก็บร้อยละ 40
ทั้งนี้เงื่อนไขของการเก็บภาษีจะแตกต่างกันออกไป ในขณะเดียวกันประเทศสิงคโปร์ ก็มีการยกเลิกภาษีมรดกเพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ รวมถึงประเทศออสเตรเลีย ก็มีการยกเลิกเช่นกัน เพราะเหตุจากการหลีกเลี่ยงการจัดเก็บภาษีมรดก ทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเรียกเก็บภาษีมรดกไม่คุ้มค่ากับภาษีที่เรียกเก็บได้
1
โฆษณา