4 พ.ย. 2020 เวลา 17:32 • ประวัติศาสตร์
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีที่มายังไงกันนะ
ตอนพิเศษ พระคลังข้างที่กับการลงทุนธุรกิจในประเทศไทย พ.ศ. 2433 -2475
บทความนี้มุ่งเน้นเสนอบทบาทในการดำเนินงานลุงทุนหาผลประโยชน์รายได้
ในหลายรูปแบบของพระคลังข้างที่ โดยในฐานะสถาบันทางการเงินในองค์พระมหา
กษัตริย์ ภายใต้บรรยากาศการค้าเสรีที่เริ่มขยายตัว เข้ามานับตั้งเเต่การทำสนธิ
สัญญาบาวริ่ง โดยเริ่มต้นตั้งเเต่เมื่อได้มีการเเยกรายได้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากส่วนราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อันเป็นการสิ้นสุดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบบสมบูรณา
ญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพระราชอำนาจในการหารายได้ส่วน
พระองค์ของพระมหากษัตริย์บางประการ
สภาพบรรยากาศทางเศรษฐกิจการค้าภายในประเทศสมัยเริ่มเเรกเมื่อไทยเปิด
ประเทศทำการค้าเสรี บทบาทในการทำการค้าหารายได้ส่วนพระองค์ของพระมหา-
กษัตริย์นับตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ความร่วมมือใรการประกอบกิจกรรมทาง
เศรษกิจระหว่างพระมหากษัตริย์พระราชวงศ์ กับขุนนาง ตลอดจนผลการลงทุนของพระคลังข้างที่ในฐานะสถาบันทางการเงินรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศ
โดยพระคลังข้างที่เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์พระราชทรัพย์ส่วน
พระองค์ ในครั้งเเรกกำหนดให้พระคลังข้างที่มีรายรับในอัตราที่เเน่นอนจากการเเบ่งส่วนเงินผลประโยชน์ของแผ่นดิน ในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้แผ่นดินในเเต่ละปี
สำหรับเงินรายได้พระคลังข้างที่นั้น ถ้าพิจารณาดูเเล้วเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเนื่องจากเงินผลประโยชน์แผ่นดินเพิ่มมากชึ้นทุกปี โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 5 ช่วง พ.ศ.2435 -2447 ปรากฏว่ารายได้แผ่นดินเพิ่มจาก 15 ล้านบาท สูงสุดถึง 45 ล้านบาท เเต่ในทางปฏิบัติจริงๆเเล้ว พระคลังข้างที่มิได้รับเงินครบตามจำนวน 15% ดังที่กำหนด
จำนวนเงินที่กำหนดไว้เป็นเพียงการประมาณรายจ่ายในราชสำนักเเต่ละปีเเละ
กำหนดงบประมาณให้นั้นเอง เพราะบางทีพระคลังข้างที่มิได้ใช้เงินมากเท่าที่
กำหนดไว้เเละการกำหนดจำนวนเงินร้อยละ 15 นี้ได้ยกเลิกไป โดยกระทรวง
พระคลังได้กำหนดงบประมาณรายปีให้ในอัตราปีละ 6 ล้านบาท เเละเพิ่มเป็น 9 ล้านบาทในสมัยรัชกาลที่ 6
เงินรายได้จากงบประมาณนี้ได้ทรงนำมาใช้จ่ายในกิจการส่วนพระองค์ เเละเพื่อการ
ลงทุนจัดหาผลประโยชน์เพิ่มพูนพระราชทรัพย์ในรูปเเบบการค้าใหม่ๆ ที่เรื่มเกิดขึ้น
ในขณะนั้น
ส่วนการจัดดำเนินงานจัดหาผลประโยชน์ของพระข้างที่นั้น อยู่ภายใต้การดูเเลของ
อธิบดีกรมพระคลังข้างที่ในพระบรมราชวินิจฉัยโดยตรงของพระมหากษัตริย์ บทบาทเเละการตัดสินใจดำเนินงานของอธิบดีกรมพระคลังข้างที่ทุกคนมีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินพระทัยของพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์
ถ้าพิจารณาโดยฐานะเเละพระราชอำนาจชองพระมหากษัตริย์ในระบบสมบูรณาญา
สิทธิราชเเล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นประการใดที่ต้องทรงลงมาเป็นผู้ประกอบการเเละหารายได้ด้วยพระองค์เอง เเต่ในสภาพความเป็นจริงเเล้ว ในบางรัชกาลพระมหา
กษัตริย์มิได้มีพระราชอำนาจมากเพียงพอที่จะใช้จ่ายพระราชทรัพย์ได้ดั่งพระราช
ประสงค์มากนัก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลเเละข้อจำกัดหลายประการ
ปัญหาการขาดเเคลนพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เริ่มเกิดขึ้นตั้งเเต่ช่วงสมัยรัชกาล
ที่ 4 ทั้งนี้มูลเหตุสำคัญเริ่มเกิดขึ้นจากความรู้สึกน้อยพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ กล่าวคือ เมื่อสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ใกล้สววรคต ได้ทรงมีพระกระเเสรับ
สั่งครั้งสุดท้ายต่อขุนนางผู้ใหญ่ ทั้ง 3 คน ให้เป็นผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยเลือกตัว
ผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ พร้อมทั้งกำหนดเรื่องการใช้จ่ายเงินในท้องพระคลังที่เหลือสำหรับพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ไว้ด้วย การไม่เเสดงพระราชประสงค์ส่วนพระองค์ที่ชัดเจนในการเลือกบุคคลผู้สืบราชสมบัติเช่นนี้ มีผลให้พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าฯ ทรงมีความน้อยพระทัยเเละไม่ทรงยอมรับพระราชมรดกของ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เป็นพระราชทัพย์ส่วนพระองค์เเม้สักชั่งเดียว
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งเเรก จึงปรากฏว่ามีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อยู่เดิม
100 ชั่งเท่านั้น หลังจากนั้นก็คิดหาวิธิเพิ่มพระราชทรัพย์มาทำทุนหากำไรต่อไป
การลงทุนของพระองค์เริ่มต้นด้วยการนำเงินไปให้ผู้อื่นกู้เอาดอกเบี้ย ซื้อสินค้าฝาก
เรือไปต่งประเทศ ต่อมากิจการภายใจเจริญขึ้น จึงได้เริ่มจับจองที่ดิน 2 ข้างถนน
เจริญกรุงปลูกสร้างตกเเถวรุ่นเเรกให้พ่อค้าเช่ทำการค้า นับเป็นต้นเค้าการลงทุนหา
รายได้ของพระคลังข้างที่ตั้งเเต่นั้นเป็นต้นมา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ก็ทรงประสบ
ปัญหาพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เช่นเดียวกัน ทรงรู้สึกลำบากพระทัยที่พระราช
อำนาจทางการเงินของพระองค์ถูกควบคุมโดยเสนาบดีผู้ใหญ่ในแผ่นดินตลอดมา
เพราะเงินภาษีอากรส่วนต่างๆ ที่เดิมเคยกำหนดให้เเบ่งส่วนขึ้นต่อพระเจ้าอยู่หัว
ร้อยละ 5 นั้นถูกตัดลดปริมาณโดยความเห็นของเสนาบดีผู้ใหญ่ในแผ่นดินมาตั้งเเต่
ต้นรัชกาล
รายได้ส่วนพระองค์ถูกบั่นทอนให้ลดน้อยลงในขณะที่ต้องมีพระราชภาระให้จ่ายเพิ่มมากขึ้นทุกปี การปฏิรุปการคลังแผ่นดิน ตลอดจนการตั้งกรมพระคลังข้างที่เพื่อเเยก
รายได้ส่วนพระองค์เเละจัดหารายได้โดยการนำพระราชทรัพย์บางส่วนมาลงทุนหา
ผลประโยชน์ จึงเริ่มเกิดขึ้นเป็นแบบเเผนเเละขยายขอบเขตกว้างขวางนับตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป้นต้นมา
ผลประโยชน์ที่ได้จัดการลงทุนได้นำมาใช้ในการอุปถัมภ์พระราชวงศ์ ตลอดจน
ข้าราชบริพารฝ่ายหน้า ฝ่ายใน ซึ่งมีจำนวนมากในทุกรัชกาล ไม่เหมือนบรรดาขุนนางทั้งหลายเริ่มได้เงินเดือนประจำเป็นการทดเเทนตั้งเเต่ช่วงสมัยปฏิรูปการปกครองพ.ศ.2435 เเต่บรรดาเจ้านายที่ไม่มีตำเเหน่งทางราชการก็ยังคงมีรายได้เฉพาะจาก
เงินปีที่ได้รับจากพระคลังมหาสมบัติซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก อีกทั้งเจ้านายเหล่านี้ไม่
อยู่ในฐานะที่จะช่วยตัวเองในการประกอบอาชีพค้าขายหาผลประโยชน์ได้คล่องตัว
เหมือนสามัญชน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงได้เตรียมการที่จะจัดหาผลประโยชน์ทดเเทน
เเก่บรรดาพระราชวงศ์ด้วยวิธีต่างๆ นับตั้งเเต่การสนับสนุนเจ้านายหลายพระองค์ให้
ได้เข้ารับราชการ การจัดหาทุนการศึกษาต่างประเทศ เเละการจัดหาผลประโยชน์
เป็นทุนพระราชทานเเก่เจ้านายชั้นพระราชโอรส ตลอดจนการจัดตั้งเป็นกองทุนจัด
หาผลประโยชน์เข้าพระคลังข้างที่เพื่อนำดอกผลมาเฉลี่ยเเบ่งพระราชทานเป็นทุน
เลี้ยงชีพเเก่บรรดาเจ้านายชั้นพระราชโอรสเเละเจ้าจอมซึ่งมีจำนวนมากเป็นต้น
ปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโดยมีการยกเลิกระบบการค้าผูก
ขาดเเละการขยายตัวเข้ามาของระบบเศรษฐกิจเเบบเสรีนิยมนับตั้งเเต่การทำสนธิ
สัญญาบาวริ่ง พ.ศ.2398 เป็นต้นมา เป็นเเรงผลักดันอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดความคิดริเริ่มในการลงทุนหาผลประโยชน์รายได้ของพระคลังข้างที่ ทั้งนี้เพราะช่องทางในการทำการค้าเเละการลงทุนต่างๆที่เปิดโอกาสให้การขยายตัวของระบบ
เศรษฐกิจเเบบทุนนิยม โดยเฉพาะค่านิยมของบรรดาชนชั้นสูงเเละพ่อค้าชาวจีนเริ่ม
เล็งเห็นผลปีะโยชน์ที่จะได้รับจากรูปแบบของระบบเศรษฐกิจเเบบใหม่ที่ชาวตะวัน-
ตกเริ่มนำเข้ามาเผยเเพร่
ความคิดที่สำคัญที่เกิดขึ้นในส่วนของชนกลุ่มนี้คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถนำทรัพย์ที่มีอยู่มาเป็น “ทุนทรัพย์” ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่งอกเงิยมากที่สุด
เเนวความคิดใรการลงทุนหาผลประโยชน์ด้วยการนำทรัพย์ที่มีอยู่มาก่อให้เกิดดอก
ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การกู้เเละนำไปฝากธนาคารเพื่อเอาดอกเบี้ย การซื้อหุ้นทั้งของรัฐ
เเละเอกชนการลงทุนสร้างตึกเรือนให้ผู้อื่นเช่า เหล่านี้ล้วนเป็นเเนวคิดที่ได้รับมาก
จากเเบบเเผนการลงทุนเเบบตะวันตก
เเบบแผนในการลงทุนดังกล่าวเริ่มเป็นที่สนใจของกลุ่มชนชั้นสูงเเละบรรดาผู้มี
ทุนทรัพย์ทั้งหลายในประเทศ โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ในนามของพระคลังข้างที่นับตั้งเเต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมามีบทบาทสำคัญที่สุดในฐานะผู้นำกลุ่มพ่อค้าใน
การดำเนินการลงทุนหาผลประโยชน์รายได้
เริ่มต้นจากการนำพระราชทรัพย์บางส่วนของพระคลังข้างที่ไปฝากธนาคารต่างประ-
เทศเพื่อหวังดอกเบี้ยเเทนที่จะเก็บไว้เป็นทุนนอนเฉยๆดังเเต่ก่อน การออกพระราช
ทรัพย์ให้กู้เอาดอกเบี้ย เเละรับจำนองทรัพย์สิน การซื้อขาย ให้เช่าที่ดิน ตึกโรงเรือน ร้าน ตลอดจนการซื้อหุ้นร่วมลงทุนในกิจการการค้าอุตสาหกรรมหลายประเภท
กิจการเหล่านี้ล้วนเป้นเเนวทางหาผลประโยชน์รายได้ที่อยู่ในความสนใจของ
พระคลังข้างที่ เเละบรรดาผู้มีทุนทรัพย์ในสังคมไทยมาตลอด
การดำเนินงานลงทุนธุรกิจของพระคลังข้างที่ เเยกออกการลงทุนเป็น 2 ประเภท คือ
กลุ่มธุรกิจการเงินเเละพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการที่พระคลังข้างที่ดำเนินการ-
เอง หมายถึง การออกพระราชทรัพย์ให้กู้โดยรับจำนองทรัพย์สิน การซื้อ ขาย ให้เช่าที่ดิน ที่นา ตลอดจนปลูกสร้างอาคารโรงร้าน หรือตลาดให้เช่า เเละกลุ่มธุรกิจอุตสา-หกรรม ซึ่งพระคลังข้างที่อยู่ในฐานะผู้ซื้อหุ้นร่วมลงทุนมากกว่าที่จะเป็นผู้ประกอบ
การเอง ทั้งนี้เพราะกิจการเหล่านี้ต้องลงทุนใช้ความรู้ ความชำนาญพิเศษ อีกทั้ง
เสี่ยงตอการขาดทุนมากกว่า เช่น กิจการธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทเดิน
รถไฟ รถราง บริษัทเดินเรือทั้งในประเทศเเละระหว่าประเทศ
อาคารท่าช้างวังหลวง
The Monarchy เรียบเรียง จากบางส่วนของ วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2531
โฆษณา