11 พ.ย. 2020 เวลา 04:06 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทย กลับไม่ได้ไปไม่ถึง
หากไม่พึ่งเทคโนโลยี
บทความโดย KKP Research
ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวช้าเพราะไม่มี FAANG
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร เผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาแม้สถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลายลงในหลายประเทศ
แต่ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนโควิด
สวนทางกับในหลายประเทศที่แม้จะยังเผชิญกับสถานการณ์โควิดที่รุนแรงกว่าไทย แต่ตลาดหุ้นกลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า
โดยเฉพาะตลาดหุ้นในเศรษฐกิจที่มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีในระดับสูง ทั้งสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี หรือไต้หวัน ล้วนกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วกว่า (รูปที่ 1)
ความแตกต่างในการฟื้นตัวนี้สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างของตลาดหุ้นไทยที่ยังคงขาดบริษัทชั้นนำที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี
โดยบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกในตลาดหุ้นไทยอาจกล่าวได้ว่าเกือบทั้งหมดอยู่ในภาคเศรษฐกิจดั้งเดิม (Old economy)
1
หรือมีอำนาจตลาดสูงในการดำเนินธุรกิจ (รูปที่ 2)
เปรียบเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศสหรัฐฯ ที่มีกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ 5 แห่ง
1
หรือที่เรียกว่า FAANG
อันประกอบด้วย Facebook, Amazon, Apple, Netflix และ Google (หรือ Alphabet ในปัจจุบัน) เป็นแกนกลาง
ทั้งนี้ สัดส่วนของบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ (Tech stock) มีมูลค่าอยู่ที่เพียง 3% ของทั้งตลาด
ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่น ๆ ในเอเชีย
โดยเฉพาะไต้หวันที่มีสัดส่วนสูงถึงกว่า 50% ของตลาดหุ้น (รูปที่ 3)
ไทยกำลังถูกเพื่อนบ้านแซงหน้าในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ระดับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในภาคการผลิตของไทยในภาพรวมแทบไม่มีการพัฒนาเลยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
และไทยยังคงผลิตสินค้าแบบเดิมที่เริ่มไม่เป็นที่ต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
สะท้อนจากการฟื้นตัวของการส่งออกหลังโควิด
ที่สินค้าเทคโนโลยีเป็นที่ต้องการมากขึ้น ทำให้ประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน รวมทั้งเวียดนาม เริ่มเห็นการส่งออกกลับมาขยายตัวแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา
ในขณะที่การส่งออกของไทยยังคงหดตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
ความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกไทยลดลงอย่างชัดเจน
โดยอัตราการเติบโตของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับเลข 2 หลัก
1
ลงมาที่ระดับต่ำกว่า 5% ตลอดช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา
ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามมีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเติบโตโดยเฉลี่ยกว่า 20% ต่อปีตลอดช่วง 2 ทศวรรษ
2
ที่สำคัญคือ สัดส่วนการส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (High-tech manufacturing products) ของไทยยังคงอยู่ในระดับเดิมที่ราว 23%
และถูกเวียดนามแซงหน้าไปแล้วตั้งแต่ปี 2012
โดยในปัจจุบันอยู่ที่ 40% ของการส่งออกทั้งหมด (รูปที่ 4)
นอกจากนี้ หากมองในแง่ความพร้อมในการพัฒนานวัตกรรม
ข้อมูลจาก World Intellectual Property Organization (WIPO) ชี้ให้เห็นว่า
ไทยอยู่ในตำแหน่งเกือบรั้งท้ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
2
โดยระดับคะแนนรวมของไทยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
1
และล่าสุดอันดับของไทยตกลงมาเป็นที่ 10 ในภูมิภาค โดยมีเวียดนามแซงหน้าขึ้นมา (ตารางที่ 1)
ตอกย้ำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าขณะที่ไทยยังคงมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปอย่างช้าๆ
แต่ประเทศอื่นๆ กำลังเร่งพัฒนาก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญและแซงหน้าของไทยไปแล้ว
1
ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมยังไม่เกิดขึ้นในไทยแม้มีความพยายามผลักดันมากมาย
ที่ผ่านมาแนวคิดของภาครัฐได้เน้นย้ำและตระหนักถึงความจำเป็นในการยกระดับเทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรม
แต่ไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่ได้รับการตอบรับจากภาคเอกชนเท่าที่ควร
ล่าสุดนโยบาย “Thailand 4.0” ที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2015
1
โดยนำเอาโมเดลการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 มาปรับใช้เพื่อยกระดับการผลิตและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของไทย
ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดอุตสาหกรรม S-Curve เดิมที่มีศักยภาพ (ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร) และสร้าง S-Curve ใหม่ (หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอล และการแพทย์ครบวงจร)
ซึ่งถึงแม้จะผ่านมากว่า 5 ปีแล้ว แต่แผนการและขั้นตอนดำเนินงานยังไม่ชัดเจนและยังไม่มีประสิทธิผล
ส่วนหนึ่งจากการที่โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังขาดปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะเร่งให้เกิดการลงทุนทางเทคโนโลยีและการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
KKP Research มองว่าเศรษฐกิจไทยยังขาด 3 ปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการยกระดับทางเทคโนโลยี ได้แก่
(1) Infrastructure:
ไทยยังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านการศึกษาและบุคลากร
1
การขาดแคลนทุนมนุษย์เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของไทย ทั้งในด้านจำนวนและคุณภาพของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร รวมถึงแรงงานด้าน IT (Information Technology)
2
จำนวนนักวิจัยของไทยมีเพียง 1,141 คนต่อประชากรล้านคน
ขณะที่สิงคโปร์และเกาหลีใต้มีจำนวนนักวิจัยสูงถึง 6,915 และ 7,394 ต่อประชากรล้านคน ตามลำดับ สูงกว่าไทยถึงกว่า 6 เท่าตัว (ตารางที่ 2)
นอกจากนี้ ระบบการศึกษาไทยยังผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีได้น้อย
โดยตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา จำนวนผู้จบการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศลดลงเฉลี่ย 1.4% ต่อปี
3
ทำให้ในช่วงปี 2015-2019 ไทยมีสัดส่วนของผู้ที่จบการศึกษาในสาขาดังกล่าวต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
2
การขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมของไทยอยู่ในระดับต่ำ
จากข้อมูล World Digital Competitiveness ปี 2020 ของ IMD พบว่าระดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทยยังรั้งอยู่ในอันดับที่ 39 จาก 63 ประเทศทั่วโลก
1
และแทบไม่เปลี่ยนแปลงตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
1
ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าแม้คะแนนในด้านภาพรวมเทคโนโลยีของไทยมีลำดับที่สูงขึ้น
แต่ในด้านองค์ความรู้ โดยเฉพาะการเรียนการสอน ไทยอยู่ในอันดับท้าย ๆ
ซึ่งสอดคล้องกับคะแนนรวม PISA ด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทยที่ต่ำลง
สะท้อนถึงระบบการศึกษาไทยที่ยังไม่ได้มุ่งเน้นการสร้างความพร้อมด้านบุคลากรสำหรับโลกแห่งอนาคตอย่างเพียงพอ
และชี้ให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการยกระดับด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ซึ่งเป็นหนึ่งใน soft infrastructure ที่สำคัญต่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย
(2) Investment:
ไทยขาดทั้งการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่จะช่วยต่อยอดทางเทคโนโลยี
ประเทศไทยมีการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา และมีบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีระดับรายได้ต่อประชากรใกล้เคียงกัน
ในช่วงปี 2015-2019 ไทยมีเม็ดเงินลงทุนในการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) อยู่ในระดับต่ำเพียง 0.8% ของ GDP
1
ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย (ตารางที่ 2)
และหากเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอย่างเกาหลีใต้ที่มีการลงทุนกว่า 4.5% ของ GDP ถือว่าไทยมีสัดส่วนการลงทุนด้าน R&D ต่ำกว่าถึง 5 เท่า
นอกจากนี้ ประสิทธิภาพของการผลิตนวัตกรรมยิ่งต่ำกว่า
เมื่อวัดจากจำนวนการจดสิทธิบัตรต่อจำนวนประชากร ไทยสามารถผลิตได้เพียง 35 สิทธิบัตรต่อประชากรล้านคน
1
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางขั้นสูง (171 สิทธิบัตรต่อประชากรล้านคน) ถึงกว่า 5 เท่า
1
ขณะที่มาเลเซียมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสูงถึง 126 ต่อประชากรล้านคน สูงกว่าไทยหลายเท่าตัว
1
นอกจากนี้ FDI ในระยะหลังยังไม่เอื้อต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี หลายปีที่ผ่านมาเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ที่เข้ามายังประเทศไทยมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน (ดู KKP Research, “ทำไมต่างชาติขายหุ้นไทย (ไม่หยุด)”) และส่วนใหญ่ยังเข้ามาสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น (รูปที่ 5)
2
ในขณะที่ทศวรรษก่อนหน้า ไทยได้รับเลือกเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของบริษัทชั้นนำของโลก และได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาสู่ภาคการผลิตจำนวนมากซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มผลิตภาพ แต่ไทยก็พลาดโอกาสในการเรียนรู้และต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อสุดท้ายแล้วสามารถสร้างนวัตกรรมที่เป็นของตัวเอง จากความไม่พร้อมด้านบุคลากรและการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา
1
(3) Incentives:
โครงสร้างผลตอบแทนและแรงจูงใจในระบบเศรษฐกิจไทยไม่ได้ให้เอื้อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมในวงกว้าง
จากปัจจัยทั้งหมด KKP Research มองว่าอุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระดับเทคโนโลยีของไทยมาจากระบบผลตอบแทนที่ไม่เอื้อให้เกิดการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D)
ซึ่งโดยธรรมชาติต้องใช้เงินทุนจำนวนมากและมีอัตราการล้มเหลว (failure rate) สูง
โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการสะสมและปกป้องอำนาจตลาด (Market power) ที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าในบริบทของไทย
1
งานวิจัยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน หลายอุตสาหกรรมมีผู้เล่นน้อยราย
2
มีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด (barrier to entry) สูง
และมีการกระจุกตัวของผลกำไรสูง
1
สอดคล้องกับการจัดอันดับด้านระดับการแข่งขันของตลาดในประเทศ (รูปที่ 6)
ซึ่งไทยมีลำดับที่แย่ลงเรื่อย ๆ จากอันดับที่ 58 เป็น 65 ในช่วงปี 2017-2019
งานวิจัยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการมีอำนาจตลาดสูงเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เนื่องจากบริษัทใหญ่ที่มีรายรับและกำไรสูงจากอำนาจตลาด จะไม่มีแรงจูงใจในการลงทุนเพื่อประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนานวัตกรรม
จึงมีแนวโน้มที่จะเลือกแสวงหาและรักษาอำนาจตลาดผ่านกลไกและเครือข่ายต่างๆ ทั้งในและนอกตลาด มากกว่าลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม
ความอ่อนแอในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights)
และกฎระเบียบที่ยุ่งยากสำหรับการตั้งธุรกิจ Startup ในไทยยิ่งเพิ่มต้นทุนของการวิจัยและพัฒนาในประเทศ
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานับเป็นจุดอ่อนที่สุดในด้านกฎหมายทางธุรกิจของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับกฎระเบียบด้านอื่น ขณะที่ไทยถูกจัดอยู่ในอันดับท้ายๆ ของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (รูปที่ 7)
1
สะท้อนต้นทุนที่มองไม่เห็นของการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่ผลลัพธ์ที่ได้อาจถูกนำไปลอกเลียนโดยคู่แข่งและทำให้ผลกำไรที่พึงคาดหวังลดลง
นอกจากนี้ บทบาทของธุรกิจ Startup ที่มีความโดดเด่นในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมและกำลังมีความสำคัญเพิ่มขึ้นทั่วโลก
กลับพบข้อจำกัดด้านกฎระเบียบทางธุรกิจของไทยอยู่มาก ทั้งในแง่
(1) การตีกรอบภาคธุรกิจที่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้อยู่ในวงจำกัด
(2) ความยุ่งยากในการจ้างบุคลากรจากต่างประเทศทั้งในด้านรูปแบบวีซ่าและจำนวนที่อาจจ้างได้ และ
(3) ความเสียเปรียบด้านภาระภาษีของธุรกิจ Startup ที่จดทะเบียนในไทย
โดยเฉพาะภาษีจากการควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions: M&A)
ส่งผลให้ไทยยังไม่มีระบบนิเวศ (ecosystem) ที่เหมาะสมต่อธุรกิจ Startup
และไทยยังมีจำนวนธุรกิจ Startup ค่อนข้างน้อย
ขณะที่มีเม็ดเงินลงทุนด้าน Startup เป็นลำดับท้ายของอาเซียน โดยมีเงินลงทุนจาก VC (Venture Capital funding) เพียง 1.3 แสนล้านดอลลาร์
อีกทั้งยังไม่มี Unicorn หรือ Startup ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า
1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ แม้แต่บริษัทเดียว (รูปที่ 8)
ซึ่งยังห่างไกลจากเป้าหมายของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติที่มุ่งหวังให้ไทยติด 1 ใน 20 ของ Startup Nations
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงติดหล่มหากไม่ปิดช่องว่างทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม
3 ความเสี่ยงที่ไทยจะประสบหากไม่เร่งพัฒนาความพร้อมและความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยี คือ
(1) ธุรกิจเดิมที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองจะล้มหายตายจากไปอย่างไม่ทันตั้งตัว
ตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนของภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีถึง 2 ใน 3 ของมูลค่าตลาด (รูปที่ 9)
ซึ่งอาจสะท้อนได้ถึงความเสี่ยงจากเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมหากภาคธุรกิจเดิมไม่ปรับตัว
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่นำไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้ดีกว่า หรือสามารถเข้าถึงผู้บริโภคในกลุ่มใหญ่ได้กว้างกว่าและลึกกว่าผ่านความเร็วในการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ (business landscape) ในหลายธุรกิจหรืออุตสาหกรรมไปโดยสิ้นเชิง และทำให้ผู้เล่นหลักเดิมทยอยปิดตัวลง (disruption) ตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้วคือ
(1) การเข้ามาของโมเดิร์นเทรด (modern trade)
ในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก แทนที่ร้านค้าแบบดั้งเดิม (mom-and-pop stores)
ซึ่งต่อไปกำลังจะถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมการค้าขายออนไลน์
(E-commerce)
(2) ธุรกิจสื่อดั้งเดิม (traditional media)
เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ รวมถึงสื่อโฆษณา
กำลังถูกแทนที่ด้วยสื่อสังคมออนไลน์หรือ Social media ที่มีความรวดเร็ว
ตรงความต้องการ และข่าวสามารถส่งตรงถึงผู้รับข่าวโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง และ
(3) ธุรกิจธนาคาร
ที่เคยเป็นธุรกิจที่สร้างผลกำไรได้ดีทั้งจากรายได้จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และรายได้จากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม
ถูกท้าทายทั้งจากทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทขนาดใหญ่ในการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์และการออกหุ้นกู้
รวมถึงภูมิทัศน์ทางการแข่งขันและการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
เช่น ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ขจัดค่าธรรมเนียมระหว่างธนาคาร ส่งผลให้ธุรกิจธนาคารมีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น และต้องเร่งลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนรูปแบบธุรกรรมที่เปลี่ยนไป
1
การปฏิวัติยานยนต์ไฟฟ้า (EV Revolution) และเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม (Platform economy)
จะเปลี่ยนเศรษฐกิจในภาคการผลิตและภาคบริการของไทยอย่างมหาศาล KKP Research
โดยเกียรตินาคินภัทร มองว่า แนวโน้มการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี (Electric Vehicle: EV) ที่กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก
และหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนกว่า 30% ของยอดขายรถยนต์ทั่วโลกภายในปี 2030 (รูปที่ 10)
จะกระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่ปัจจุบันผลิตรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE)
และกว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายเป็นการส่งออก การทยอยปรับสายการผลิตไปเพื่อผลิตอีวีจึงเป็นเงื่อนไขจำเป็นในการคงอยู่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ และในอนาคตจะกระทบกับหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งที่อยู่ต้นน้ำและปลายน้ำ
ทั้งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน และโทรคมนาคม
รวมถึงส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงธุรกิจภาคบริการ เช่นธุรกิจจัดจำหน่ายหรือการซ่อมและบำรุงรักษาอย่างมาก
ในอีกด้านหนึ่ง เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มกำลังเติบโตขึ้นต่อเนื่อง และมีสถานการณ์โควิดเป็นตัวเร่ง
ทำให้ E-Commerce เติบโตอย่างก้าวกระโดด และสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจากโมเดิร์นเทรดและห้างสรรพสินค้าได้อย่างมีนัยสำคัญ
เช่นเดียวกันกับแพลตฟอร์มการเรียกรถรับจ้าง การสั่งซื้อและส่งอาหาร ห้องพัก การให้สินเชื่อ หรือแม้แต่การหาคู่ ที่จะปฏิวัติรูปแบบของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
โดยอาศัยอัลกอริทึมหรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ส่งผลให้ผู้ประกอบการเดิมในภาคบริการจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
(2) เศรษฐกิจไทยจะดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้น้อยลง
และความเสี่ยงการย้ายฐานการผลิตออกไปประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น
ไทยกำลังเผชิญสถานการณ์ด้านค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาวะประชากรวัยทำงานที่หดตัว
และยังสูญเสียความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นให้กับประเทศอื่นในอาเซียนที่มีค่าแรงต่ำกว่า
จะเห็นได้ว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ค่าแรงของไทยสูงเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน
รองแค่สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน และสูงเป็นเกือบสองเท่าของค่าจ้างขั้นต่ำของเวียดนาม (รูปที่ 11)
ที่ประชากรวัยแรงงานกำลังขยายตัว ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น และสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปได้มากขึ้น
เวียดนามกำลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางใหม่ของ FDI
ที่จะย้ายเข้ามาในอาเซียนแทนที่ไทย
จากสิทธิประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรีและฐานการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มเติบโตไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
การช่วงชิงอำนาจนำบนเวทีโลกระหว่างสหรัฐฯ และจีน นำมาซึ่งสงครามการค้าและมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน
และส่งผลให้บริษัทข้ามชาติหลายรายที่มีจีนเป็นฐานการผลิตเดิมจำเป็นต้องมองหาฐานการผลิตเพื่อส่งออกใหม่เพื่อลดความเสี่ยงในระยะยาว
กลุ่มประเทศในอาเซียนที่มีห่วงโซ่การผลิตและตลาดผูกพันกับทั้งจีนและสหรัฐฯ จึงกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของ FDI
โดยเฉพาะเวียดนามที่ได้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรป (EVFTA)
หรือแม้แต่ในอนาคตจาก CPTPP ที่เวียดนามเข้าร่วม
ซึ่งคิดเป็นขนาดเศรษฐกิจรวมกว่า 13% ของ GDP โลก
ขณะที่ไทยยังไม่มีความตกลงทางการค้ากับตลาดหลักทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น
แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดยังไม่คลี่คลายดีนักแต่มูลค่าส่งออกของเวียดนามฟื้นตัวกลับมาได้รวดเร็วกว่าไทย
ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญที่ยังขยายตัวได้และเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตทางพัฒนาการทางเทคโนโลยี
สวนทางกับไทยที่มีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในสัดส่วนต่ำกว่า ตั้งแต่ปี 2012 มูลค่าการส่งออกในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของเวียดนามขยายตัวสูงกว่าไทย และปัจจุบันสูงกว่าไทยถึง 3 เท่า (รูปที่ 12)
ความเสี่ยงต่อการย้ายฐานการผลิตออกจากไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านยังสะท้อนได้จากผลสำรวจของ JETRO ล่าสุด
ที่บ่งบอกว่าไทยไม่เนื้อหอมในหมู่นักลงทุนญี่ปุ่นอีกต่อไป
เนื่องจากสิ่งที่นักลงทุนญี่ปุ่นพิจารณาเป็นปัจจัยแรกในการเลือกประเทศที่จะไปลงทุน
ก็คือสิทธิประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี
รวมถึงปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานทางด้าน IT ที่บริษัทญี่ปุ่นมองว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างความสามารถในการเติบโตให้กับธุรกิจผ่านเทคโนโลยี ในปี 2019
1
จะเห็นว่าแรงจูงใจของนักธุรกิจญี่ปุ่นที่จะขยายการลงทุนในไทยต่ำกว่าเวียดนาม ขณะที่เวียดนามน่าดึงดูดกว่าไทยในภาคบริการมาตั้งแต่ปี 2017 (รูปที่ 13)
(3) ไทยจะไม่สามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้
ปัจจุบันไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและจำนวนประชากรวัยแรงงานเริ่มลดลงแล้วนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
ขณะที่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสินค้าส่งออกของไทยเริ่มไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ภายใต้โครงสร้างการผลิตแบบเดิม
ซึ่งเสี่ยงต่อการที่ไทยจะติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle income trap) ไปอีกนานถึงแม้จะอยู่ในระดับนี้มาแล้วเป็นเวลาเกือบ 30 ปี
1
คือไม่สามารถยกระดับรายได้ต่อหัวของประเทศไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงเทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้วได้
หากไม่มีการเร่งลงทุนเพื่อยกระดับทางเทคโนโลยีหรือเพิ่มความหลากหลายของสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดโลก
วิถีทางเดียวที่ไทยจะหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางคือการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมผ่านการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มข้น
เช่นเพื่อนบ้านในภูมิภาคอย่างเกาหลีใต้ จีน หรือสิงคโปร์
ที่ล้วนมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนามากกว่า 2% ของขนาดเศรษฐกิจ สูงกว่าการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของไทยที่มีอยู่ต่ำกว่าเพียง 1% ของ GDP เท่านั้น (รูปที่ 14)
เริ่มต้นนับหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการลดกฎระเบียบ เปิดเสรี และทลายอำนาจผูกขาด
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร มองว่า การยกระดับเทคโนโลยีรวมถึงการสร้างนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมจากการทลายข้อจำกัดทั้ง 3 ประการข้างต้น อันได้แก่
โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะในด้านบุคลากร (Infrastructure)
1
การลงทุน (Investment)
และแรงจูงใจด้านผลตอบแทนทางธุรกิจ (Incentives)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปฏิรูปโครงสร้างแรงจูงใจและผลตอบแทน
ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการยกระดับ R&D และจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการศึกษาและบุคลากร
รวมถึงเหนี่ยวนำให้เกิดการลงทุนตามมา:
(1) ควรลดอำนาจตลาดของผู้เล่นรายใหญ่และลดกฎระเบียบให้ผู้เล่นรายใหม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้
ผ่านการจำกัดหรือยกเลิกระบบสัมปทาน สร้างความโปร่งใสในด้านการขอใบอนุญาตและประมูลงานภาครัฐ และการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการผูกขาด
เช่น พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้าอย่างทั่วถึง รวดเร็ว และเป็นธรรม
อีกทั้งควรลดกฎระเบียบและขั้นตอนทางราชการที่ยุ่งยากและเป็นอุปสรรคต่อการเริ่มต้นธุรกิจของผู้เล่นใหม่
ทั้งธุรกิจรายใหญ่ที่มีศักยภาพในการลงทุนด้านเทคโนโลยี และธุรกิจรายย่อยเช่น Startup ที่มีจุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์ (creativity)
เพื่อสร้างนวัตกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดการยกระดับทางเทคโนโลยีของเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ ภาครัฐควรสนับสนุน “การให้โอกาสอีกครั้ง” (Second Chance)
ซึ่งเป็นแนวคิดที่แพร่หลายในยุโรป เพื่อให้ธุรกิจกล้าที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดและกลับมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้
(2) สร้างระบบการศึกษาที่หลากหลายและมีส่วนร่วมเพื่อสร้างแรงงานที่ตอบโจทย์
ผ่านการเปลี่ยนแนวคิดด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานจากเดิมที่เน้นการท่องจำเพื่อวัดผล เป็นการให้นักเรียน “รู้ลึก” ในด้านทักษะที่จำเป็นต่อโลกแห่งเทคโนโลยีอันได้แก่
คณิตศาสตร์ และการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ (coding) และ ”รู้รอบ” ผ่านภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์
และการปลูกฝังทักษะผู้ประกอบการ (entrepreneurial skills)
เพื่อรองรับกระแสเทคโนโลยีและเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้น
ขณะที่มหาวิทยาลัยของไทยควรพัฒนาหลักสูตรร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อสร้างบัณฑิตจบใหม่ให้มีทักษะทางวิชาชีพและความพร้อมในการทำงานกับองค์กรธุรกิจหลังการศึกษา
เช่นเดียวกับในประเทศเยอรมนีที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและเอกชนในการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ
ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เยอรมนีมีอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
(3) ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทางเทคโนโลยีในประเทศโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งของไทย
ผ่านการสนับสนุนงบด้านการวิจัยและพัฒนาในสถานศึกษาและการสร้างระบบแบ่งปันผลตอบแทน (profit-sharing framework)
ระหว่างภาครัฐผู้เป็นเจ้าของทุน นักวิจัย และเอกชนที่ต้องการนำผลลัพธ์ที่ได้ไปต่อยอด
อีกทั้งสนับสนุนการจดสิทธิบัตรของนักวิจัยไทย การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และดึงดูดนักวิจัยและบริษัทที่มีจุดแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาจากต่างประเทศ
ผ่านการสร้างห้องทดลอง (laboratories) สนับสนุนธุรกิจการจำลองแบบทางอุตสาหกรรม (prototyping) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม
ทั้งนี้ บทบาทของภาครัฐมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาให้เกิดเป็นผลสำเร็จ
ตัวอย่างเช่นในจีนที่ประกาศวาระด้านการขับเคลื่อนนวัตกรรมเป็นครั้งแรกในแผนพัฒนา 5 ปี (2016-2020)
โดยตั้งเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ผลักดันให้เกิดการสร้างนักวิจัยและโครงสร้างที่เอื้อต่อการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
KKP Research มองว่า อุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบและสามารถลงทุนทางเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดโดยง่าย คือ F-A-T-E
อันได้แก่ อาหารและบริการอาหาร (Food) เกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์จากการเกษตร (Agriculture) การท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพ (Tourism and wellness) การค้าออนไลน์ และอีวี (E-commerce and EV) (ตารางที่ 3)
ซึ่งครอบคลุมธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ และการส่งเสริมการลงทุนทางเทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้
#เศรษฐกิจไทย #บริบทแบบไทย #การลดอำนาจตลาด #OldEconomy #KKPReseach #KiatnakinPhatra@Blockdit #Infrastructure #โครงสร้างพื้นฐาน #TraditionalMedia #EV #Revoloution #ตลาดหุ้นไทย #Tourism #Wellness #อุตสาหกรรม #Ecommerce #Prototyping #Ecosystem #Profit #ทักษะผู้ประกอบการ #Entrepreneurial #Skills #เปิดเสรี #ทำลายอำนาจผู้ขาด #โควิด #เกียรตินาคินภัทร #WorldIntellectualPropertyOrganization #WIPO #ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก #สถานการณ์COVID19 #Profit #เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์ม #แนวโน้มการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า #อีวี #ElectricVehicle #เศรษฐกิจในการผลิตและบริการ #KKPAdviceCenter #วิเคราะห์ #facebook #amazon #apple #netflix #google #alphibet #TechStock #FAANG #ธุรกิจใหญ่ #บริษัทชั้นนำ #อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด
โฆษณา