11 พ.ย. 2020 เวลา 08:44 • ประวัติศาสตร์
อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม
ตอน "พระสุวรรณมาลาทองคำถัก" เครื่องทองสมบัติกรุงศรีอยุธยา
พี่ท่านหลายคนก็คงทราบกันดีถึงมหาสมบัติในกรุน้อยใหญ่มากมายที่ถูกบรรจุไว้ในองค์พระปรางค์ตามวัดสำคัญต่างๆในเขตกรุงศรีอยุธยากันมาพอสมควรแล้วนะเจ้าค่ะ แต่ฉันเชื่อว่าน้อยคนมากที่จะเข้าใจลึกซึ่งถึงสมบัติเหล่านั้นว่ามันคืออะไร มีรูปแบบและความเชื่อแบบไหน และตอนยังไม่ได้เอามาฝังเขาเอาไว้ทำอะไรกัน
ซึ่งในซี่รีย์ อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม นี้หญิงจะพาพี่ท่านทุกคนย้อนอดีตไปเรียนรู้ถึงข้าวของ เครื่องทองมากมายที่ถูกบรรจุเก้บไว้ในกรุเจ้าค่ะว่า พวกมันคืออะไร มีรูปแบบลวดลายของความศิลปะอะไรบ้าง รวมไปถึงเอาไว้ใช้สอยอะไร ซึ่งในตอนแรกนี้หญิงจะพาไปรู้จักกับเครื่องใช้อันเป็นของสูงของสตรีกันเจ้าค่ะ กับ "พระสุวรรณมาลาทองคำถัก"
"พระสุวรรณมาลาทองคำถัก"
เป็นศิลาภรณ์ประดับศรีษะของสตรีชั้นสูงชนิดหนึ่งเจ้าค่ะ โดยพระสุวรรณมาลานั้นได้มีหลักฐานเป็นเอกสารโบราณกล่าวถึงการใช้ในพระราชพิธีสำคัญในพระราชสำนักอยุธยาเจ้าค่ะ โดยกล่าวถึงตำแหน่งของบุคคลที่สามารถสวมใส่ตามข้อกำหนดในกฎมณเฑียรบาลตราสามดวงในสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง โดยระบุว่า บุคคลที่สามารถสวมพระสุวรรณมาลาได้นั้นจะต้องมีพระอิสริยยศ ดังนี้
- ทรงพระมาลามวยหางหงส์ ได้แก่ พระราชเทวี พระอรรคชายา
- ทรงพระสุพรรณมาลา ได้แก่ สมเด็จพระอรรคมเหสี
2
พระสุวรรณมาลาทองคำถัก
พระสุวรรณมาลาทองคำถักชิ้นนี้ เป็นศิลาภรณ์ศิลปะอยุธยาตอนปลาย ราวพุทธศตวรรณษที่ 20 เจ้าค่ะ โดยมีลักษณะคล้ายหมวกทรงกลม ถักด้วยทองคำสานเป็นแห ขนาดความสูง 11.5 เซนติเมตร กว้าง 18 เซนติเมตร
บริเวณด้านบนตรงกลางถูกถักเป็นลวดลายดอกจันทน์กลีบประดับกระจก แต่ละช่องจะมีลวดลายดอกไม้ ด้านข้างเป็นลายประจำยามในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ส่วนโค้งและด้านหลังนั้นทำเป็นขอบเว้าเป็นการเว้นรอบมุ่มพระเกศาซึ่งจะรวบเกล้าต่ำอยู่ตรงท้ายท้อยนั้นเองเจ้าค่ะ นอกจากนี้รอบพระสุวรรณมาลาจะเป็นขอบทองขลิบเป็นแผ่นเล็กๆ ส่วนบนคาดแผ่นทองเป็นแนวเล็ก 3 แนวเจ้าค่ะ
ลวดลายที่พบบนพระสุวรรณมาลาทองคำถัก
1. ลายกระหนกก้านขด
มีลักษณะเป็นดอกไม้คล้ายดอกโบตั๋นออกเป็นช่อแบบธรรมชาติ พบในบริเวณด้านข้างของพระสุวรรณมาลาทองคำถัก
2. ลายประจำยาม
มีลักษณะเป็นดอกไม้คล้านดอกโบตั๋นบรรจุอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม ลายนี้พบอยู่ด้านหน้าสุดของพระสุวรรณมาลาทองคำถัก
3. ลายดอกจัน หรือ ดอกจันทน์
มีลักษณะเป็นกลีบประดับกระจกดอกไม้คล้ายกลีบบัว ข้างในเป็นวงกลมคล้ายเกสร ประดับอยู่ส่วนบนสุดของพระสุวรรณมาลาทองคำถัก
4. ดอกไม้ประดิษฐ์
มีลักษณะเป็นดอกไม้ที่มีก้านเหมือนตามธรรมชาติ โดยคาดว่าอาจดัดแปลงลวดลาบมาจากดอกโบตั๋น โดยพบบริเวณด้านหน้าในกรอบลายประจำยาม ด้านข้าง และด้านบน
ตัวอย่างลักษณะการสวมใส่พระสุวรรณมาลาทองคำถัก
ขอบคุณภาพจาก : ละครศรีอโยธยา
ขอบคุณภาพจาก : ละครศรีอโยธยา
ขอบคุณภาพจาก : ละครศรีอโยธยา
ขอบคุณภาพจาก : ละครศรีอโยธยา
ขอบคุณภาพจาก : ละครศรีอโยธยา
และนี้ก็คือข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับอมตะศิลป์แผ่นดินสยาม เครื่องทองสมบัติกรุงศรีอยุธยา ที่หญิงนำมาฝากในวันนี้เจ้าค่ะ หากพี่ท่านศึกษาให้ดีจะพบว่า ความงดงามของสยานั้นคือภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้รังสรรค์หรือครีเอทขึ้นมาเป็นมรดรให้กับชาติของเราเจ้าค่ะ ทุกอย่างที่ประกอบส่วนขึ้นส่วนมีความหมาย มีความสมดุลและความลงตัว ทำให้สามรถเรียนรู้และตระหนักได้กว่า คนสมัยก่อนนั้นมีรูปแบบการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ได้อย่างหน้าทึ่งจริงๆเจ้าค่ะ
อย่างไรหญิงก็หวังว่า ทุกคนจะเห็นคุณค่าของตัวเองนะเจ้าค่ะ ซึ่งนั้นก็คือ "คุณค่าในความเป็นไทย" นั้นเองเจ้าค่ะ รักไทยให้มากๆอย่าลืมซับพอทเพจไทยๆด้วยนะเจ้าค่ะ
Le Siam
"สยาม...ที่คุณต้องรู้"
เขียนและเรียบเรียงโดย : Le Siam
อ้างอิง
- วรวิทย์ สินธุระหัส , รูปแบบและรวดลายเครื่องประดับทองคำจากกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555) น.20-29
- กรมศิลปากร, จิตกรรมและศิลปวัตถุในพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พระนคร: กรมศิลปากร, 2501), น.80
- กลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, เครื่องทองกรุวัดราชบูรณะศิลปะแผ่นดิน (กรุงเทพฯ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2550) , น. 95
- สุเนตร ชุติธรานนท์และคณะ, เครื่องทองกรุงศรีอยุธยา ... อมตะศิลป์แผ่นดินสยาม (กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์โมทีฟ, 2543), น. 110
- เรื่องเดียวกัน, น.94

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา