21 พ.ย. 2020 เวลา 02:45 • อสังหาริมทรัพย์
รู้จัก ‘สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ คืออะไร และมีทรัพย์สินใดบ้าง
17
ชวนทำความรู้จัก "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" หรือชื่อก่อนหน้านี้ที่หลายคนอาจคุ้นหูมากกว่าอย่าง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" คืออะไร? มีความเป็นมาอย่างไร?
6
รู้จัก ‘สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ คืออะไร และมีทรัพย์สินใดบ้าง
หลังจากราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้ง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็นรองผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการบริหารกิจการของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หน่วยงานดังกล่าว จึงกลับมาอยู่ในความสนใจของสังคมอีกครั้ง
15
ทั้งนี้ ตามข้อมูลที่ระบุบนเว็บไซต์ http://www.crownproperty.or.th ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ 173 ถนน นครราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ 10300 ว่า จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมาย โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ได้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561
7
แม้ตามกฎหมาย สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จะได้รับการจดทะเบียนในฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 ก็ตาม แต่ที่จริงแล้ว หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเคียงคู่ประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่สมัยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ทรัพย์สินในราชอาณาจักรไทยเป็นของพระมหากษัตริย์
5
การจัดการทรัพย์สิน "พระมหากษัตริย์" มีตั้งแต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ (The Crown Property Bureau) ระบุว่า การบริการจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการปกครองในระบอบที่มีพระกษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีวิวัฒนาการเคียงคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยมาโดยตลอด นับตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยยังปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ทรัพย์สินในราชอาณาจักรไทยเป็นของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงอยู่ในฐานะพระเจ้าแผ่นดินแต่เพียงพระองค์เดียว
11
อย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์ไทยทรงพยายามแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินแผ่นดิน โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 การค้าขายกับต่างประเทเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก จึงได้ทรงเก็บสะสมกำไรที่ได้จากการค้าสำเภา ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ไว้ในถุงผ้าสีแดง และเรียกกันว่า "เงินถุงแดง" ไว้ข้างพระแท่นที่บรรทม เรียกว่า "เงินข้างที่"
11
ต่อมาเงินมีจำนวนมากขึ้น ก็เก็บไว้ในห้องข้างๆ ที่บรรทม จึงเรียกว่า "คลังข้างที่" โดยได้พระราชทานให้ไว้เป็นทุนสำรองให้แก่แผ่นดินสำหรับใช้ในยามบ้านเมืองเกิดภาวะคับขัน
9
และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2426) ที่สยามเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส จึงได้นำเงินถุงแดงมาสมทบ เพื่อเป็นการชดใช้ค่าเสียหายและค่าประกันแก่ฝรั่งเศส จนสามารถรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไว้ได้
20
สมัย ร.5 แยก “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ออกจาก “ทรัพย์สินของแผ่นดิน” เด็ดขาด
2
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคแห่งการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการคลังใหม่ และมีการจัดทำ "งบประมาณแผ่นดิน" เป็นครั้งแรก เพื่อให้รายรับและรายจ่ายของแผ่นดินเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน ซึ่งการจัดทำงบประมาณในครั้งนี้ได้มีการแยกทรัพย์สินส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินของแผ่นดินอย่างเด็ดขาด
3
โดยทรงมอบหมายให้ "กรมพระคลังข้างที่" เป็นผู้จัดการดูแลพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อรายได้ของแผ่นดินมากขึ้น เนื่องมาจากการปฏิรูปทางการเงินในปี พ.ศ.2433 ซึ่งมีการจัดตั้ง "กระทรวงการคลัง" ขึ้นมาเป็นครั้งแรก ส่งผลให้จำนวนเงินที่ได้รับการจัดสรรของกรมพระคลังข้างที่ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
8
จุดเริ่มต้นมาลงทุน "อสังหาริมทรัพย์"
ในช่วงแรก รายได้ของกรมพระคลังข้างที่ นำไปเป็นค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาพระราชวัง และค่าใช้จ่ายในการเสด็จไปทรงศึกษาต่อยังต่างประเทศของพระราชโอรสเป็นหลัก เมื่อรายได้มากขึ้นจึงมีเงินเหลือจ่ายจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว จึงเกิดการริเริ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนและให้โอกาสในการทำการค้าขาย
7
นอกจากนี้เมืองสำคัญในต่างจังหวัดยังได้มีการสร้างตลาดขึ้น เพื่อนำค่าบำรุงตลาดไปใช้ในการพัฒนาระบบสุขาภิบาลและสาธารณูปโภคพื้นฐานในเขตศูนย์กลางเมืองใหม่เหล่านี้ ควบคู่พร้อมไปกับการตัดถนนของกระทรวงโยธาธิการ ดังที่กล่าวข้างต้นนี้ ถือได้ว่าเป็นรากฐากของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน
6
"สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" ปัจจุบันในฐานะ "นิติบุคคล"
ตามประวัติศาสตร์ที่อ้างอิงจากเว็บไซต์สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้ระบุถึงประวัติของ "สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" ว่า มีจุดเริ่มต้นมาจาก “กรมพระคลังข้างที่” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ตามความใน พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479
4
ต่อมามีการปรับปรุงและยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ อีก 3 ครั้ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสม จนกระทั่งล่าสุดได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” ตามความใน พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2561 โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานในพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่จัดการ ดูแล รักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมาย
7
โฆษณา