21 พ.ย. 2020 เวลา 13:59 • ประวัติศาสตร์
#เรื่องเก่าเล่าสนุก
#พระราชวิเทโศบายเชิงรุกของรัชกาลที่4,
#หลุยส์วิตตองและความเชื่อมโยงของ2ประเทศ,
สวัสดีครับ เพื่อนๆ
วันนี้ขอนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ และ”หลุยส์วิตตอง”นะครับ,
1)#พระราชวิเทโศบายเชิงรุก,
-พระราชวิเทโศบายเชิงรุกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้กับฝรั่งเศส มีเจตนาที่จะขัดขวางนโยบายขยายอาณานิคมของพระเจ้า
นโปเลียนที่ 3
ไม่ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ การต้อนรับความแข็งกร้าวด้วยการประนีประนอม 2 ครั้งใหญ่ๆ
เกิดขึ้นโดยวิธีออกอุบายให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งเรือรบขนาดใหญ่มารับทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่ออัญเชิญเครื่องมงคลราชบรรณาการจำนวนมหาศาลรวมถึงพระมหามงกุฎสยามอันสูงค่าไปพระราชทาน (พ.ศ. 2404/ค.ศ.1861) และครั้งที่ 2 เพื่อนำช้างกับสัตว์ป่ามีชีวิตจำนวนมากไปเป็นของขวัญเพิ่มเติมอีก (พ.ศ. 2405/ค.ศ.1862)
ล้วนเป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใดทรงกระทำมาก่อน,
ส่งผลให้ผู้นำฝรั่งเศสต้องหันมาเปลี่ยนแปลงท่าทีที่เคยใช้ความรุนแรงมาเป็นการเจรจาแทน และกลยุทธ์ใหม่ที่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ทรงใช้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ทรงเคยปฏิบัติต่อราชสำนักอื่นใดในทวีปเอเชียมาก่อนเลยเช่นกัน
ในการนี้ทรงจัดส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดสำหรับชาวต่างชาติ ชื่อลิยอง ดอนเนอร์ มาพระราชทานพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระองค์และจักรพรรดินียูเจนี ขนาดเท่าองค์จริง 2 รูป
3
นอกจากนั้นยังมีภาพวาดคณะราชทูตสยามเข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นที่พระราชวังฟองเตนโบล แล้วยังมีพระบรมรูปปั้นจำลองส่งมาให้เป็นที่ระลึกด้วย แต่ที่พิเศษที่สุดประกอบด้วยพระแสงกระบี่ 2 เล่ม สลักพระบรมนามาภิไธยย่อ “N III” แทนคำเต็มว่า Napoleon III ซึ่งถึงแม้จะไม่มีความมุ่งหวังโดยตรงก็ตาม
-เกร็ดเพิ่มเติม#1, ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.5 ว่า
“ฝ่ายฝรั่งเศสก็เห็นจะเข้าใจอย่างเดียวกัน พระเจ้าเอมเปอเรอนโปเลียนที่ 3 จึงถือเอาเป็นโอกาสที่จะบำรุงทางพระราชไมตรีให้สนิทยิ่งขึ้น โปรดให้สร้างพระแสงกระบี่ขึ้น 2 องค์ ส่งมาถวายเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2410
พระแสงกระบี่องค์ใหญ่จารึกอักษรว่า ‘ของเอมเปอเรอฝรั่งเศสถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม’ ,
และพระแสงกระบี่องค์น้อยจารึกอักษรว่า ‘ของพระยุพราชกุมารฝรั่งเศสถวายพระราชกุมารสยาม’ ดังนี้”ภาพพจน์ของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 มีผลทางจิตใจและความรู้สึกของเสนาบดีไทยไม่น้อยไปกว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น
พระราชพงศาวดารฉบับดังกล่าวเน้นต่อไปถึงอิทธิพลของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ที่มีต่อพระเจ้ากรุงสยาม
“พระยาสุรวงศวัยวัฒน์กราบบังคมทูลว่า ถ้าไม่ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ [เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์] ขึ้นครองราชสมบัติ น่ากลัวจะมีเหตุร้ายไปภายหน้า ด้วยคนทั้งหลายตลอดจนชาวนานาประเทศก็นิยมนับถือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถว่า เป็นรัชทายาท แม้สมเด็จพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เอมเปอเรอฝรั่งเศสก็ได้มีพระราชสาส์นทรงยินดีประทานพระแสงมีจารึกยกย่องพระเกียรติยศเป็นรัชทายาทมาเป็นสำคัญ ถ้าไม่ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป การภายหน้าเห็นจะไม่เป็นปกติเรียบร้อยได้ มีพระราชดำรัสว่า เมื่อเห็นพร้อมกันเช่นนั้นก็ตามใจ”
1
2)#หลุยส์วิตตองและความเชื่อมโยงของ2ประเทศ,
-ในปี ค.ศ.1852 เมอซีเยอหลุยส์ วิตตอง ได้รับเกียรติสูงสุดให้เป็นผู้ถวายงานจักรพรรดินี อูเฌนี พระมเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งมีพระราชไมตรีอันดีต่อพระเจ้ากรุงสยามฯ โดยในปี ค.ศ.1854 ในกรุงปารีส, และในปี ค.ศ.1885 ได้เปิดร้านสาขาแรกในกรุงลอนดอน ซึ่งหีบหลุยส์วิตตองถูกใช้ในการบรรจุ
‘เครื่องมงคลราชบรรณาการ’ของราชวงศ์เสมอ,
-เมื่อครั้งพระราชโอรสของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ทรงเสด็จฯเยี่ยมเยือนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา,บรรดาหีบบรรจุสัมภาระของพระองค์มีหีบของหลุยส์วิตตองเป็นจำนวนมาก,
-เมื่อระบบขนส่งเริ่มก้าวหน้าส่งผลให้หีบเดินทางเป็นที่ต้องการอย่างมาก การตัดสินใจของเมอซีเยอหลุยส์ วิตตองที่เลือกใช้ผ้าใบเคลือบน้ำยาซึ่งมีคุณสมบัติทนทานและกันน้ำมาห่อหุ้มหีบเดินทางดูจะเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่ทำให้เขามีชื่อเสียง ภายในหีบประกอบด้วยช่องเก็บสัมภาระเป็นสัดเป็นส่วน จัดเก็บได้ทั้งเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่หรูหรา สะดวกและปลอดภัยในการขนส่ง ไม่เพียงผลิตหีบที่ใช้สอยสะดวก เขายังคิดค้นทำหีบเดินทางที่เปิดออกมาเป็นเตียงพับสำหรับยุคสำรวจในแอฟริกาที่สุดแสนจะกันดารด้วย,หีบเดินทางตั้งแต่มีรถไฟ การออกแบบ Steamer Bag ที่พับเก็บได้ในหีบสำหรับการเดินทางโดยเรือ,
-ท้ายสุด มีข่าวเล่าลือกันว่า มีการขนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เศษเนื้อไม้ของ หอกศักดิ์สิทธิ์ มากับกระเป๋าสัมภาระ ของพระราชโอรสจักรพรรดิ
นโปเลียนที่ 3 ติดตัวอยู่เสมอ อีกด้วย
สวัสดี และขอจบ เพียงเท่านี้
ขอบคุณครับ,
ร้อยเรียงข้อมูล (T.Mon)
21/11/2020
ข้อมูสนับสนุนส่วนหนึ่ง
:จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ 20. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพเจ้าจอมเอิบ ต.จ.ว. ในรัชกาลที่ 5, กทม., 2487, พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีถึงราชทูตไทย ณ กรุงปารีส 4 มีนาคม 2410. พิมพ์ในงานอนุสรณ์หม่อมสาย ศรีธวัช ณ อยุธยา. พระนคร, 2512,.Duff, David. Eugenie and Napoleon III. New York, 1978.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา