23 พ.ย. 2020 เวลา 02:36 • การศึกษา
ดร.อามเพฑกร (Dr.B.R.Ambedkar) จากประเทศอินเดีย เป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนากลับมาสู่อินเดีย
หลังจากที่กองทัพต่างศาสนาบุกเข้าอินเดีย แล้วประกาศว่าใครตัดคอพระสงฆ์มาได้ให้นำมาขึ้นเงินรางวัลได้เลย พระทุกรูปที่หัวเกลี้ยง ๆ โล้น ๆ มีค่าหัวหมด ผ่านไป 7 วันพระสงฆ์หมดไปจากอินเดีย ไม่หนีก็ต้องสึกเพราะอยู่ไม่ได้อยู่ต้องตายแน่ ๆ
พอพระสงฆ์หมดไปจากอินเดีย พระพุทธศาสนาก็หมดไปด้วย จนกระทั่งในประเทศอินเดียแทบไม่มีชาวพุทธหลงเหลืออยู่เลย
ดร.อามเพฑกร เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2434 ในวรรณะจัณฑาลคือ เกิดนอกวรรณะนั่นเอง ในอินเดียมี 4 วรรณะใหญ่คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร ถ้าใครแต่งงานกันข้ามวรรณะ หรือทำผิดพลาดขึ้นมาจะถูกเรียกว่า “จัณฑาล” ทันที ซึ่งถือว่าเป็นคนชั้นต่ำที่สุดในสังคม
ดร.อามเพฑกร เกิดมาในวรรณะจัณฑาล และยังเป็นลูกคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 14 คน อาศัยที่พ่อแม่ของ ดร.อามเพฑกร รักลูกมาก จึงพยายามให้เขาได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียน แต่ ดร.อามเพฑกร ก็ต้องเจอเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนดูถูกเพราะว่าเขาเป็นจัณฑาล
คนอินเดียสมัยก่อนเชื่อว่า ถ้าใครเผลอมองคนวรรณะจัณฑาลเข้าต้องเอาน้ำล้างตาทันที และไม่ใช้ข้าวของร่วมกันกับคนจัณฑาล เพราะถือว่าเป็นเสนียดจัญไร
หากใครมีโอกาสได้ไปประเทศอินเดีย ก็ไม่ต้องแปลกใจที่เห็นว่าร้านอาหารหรือร้านกาแฟทั่วไปเขาไม่ล้างจานหรือแก้วกาแฟที่ใช้แล้ว แต่เขาเตรียมผนังที่เป็นแผ่นหินไว้สำหรับโยนแก้วกาแฟใส่เพื่อให้มันแตก เมื่อแก้วที่ใช้แล้วทุกใบแตก ก็หมายความว่าแก้วที่ทุก ๆ คนใช้จะเป็นแก้วใบใหม่ที่เพิ่งใช้ครั้งแรกเสมอ
เพราะเขากลัวว่าถ้าเป็นแก้วที่ใช้แล้ว คนที่ใช้ก่อนเขาอาจจะเป็นคนจัณฑาล ไม่ว่าจะเอาแก้วไปล้างอย่างไร เสนียดก็ยังติดแก้ว พอตนเองมาดื่มแก้วต่อจากเขา เสนียดจะเข้าตัว ร้านทั่วไปจึงต้องมีที่ให้ลูกค้าขว้างแก้ว
1
ดังนั้น แก้วที่ใช้ในร้านจึงเป็นแก้วแบบหยาบ ๆ เพราะใช้ครั้งเดียวแล้วขว้างทิ้ง พอมีความถือเนื้อถือตัวขนาดนั้นอะไรมันก็แย่ไปหมด เราเรียนหนังสือ เพื่อนในห้องเรียนก็เป็นเพื่อนกันหมดใช่ไหม แต่ ดร.อามเพฑกร ไม่ใช่เลย เขาถูกเพื่อนในห้องเรียนดูถูก นักเรียนคนอื่น ๆ ได้นั่งเรียนบนโต๊ะเก้าอี้ที่จัดเตรียมไว้ แต่ ดร.อามเพฑกร ต้องปูกระสอบนั่งเรียนกับพื้นห้อง
1
ถามว่า ถ้าเป็นตัวเราที่ต้องไปโรงเรียนแล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้ เราจะยังอยากไปเรียนหนังสือหรือไม่ หากโดนดูถูกขนาดนี้ เราจะคิดเลิกไปโรงเรียนหรือไม่
ไม่ว่าจะถูกดูถูกเหยียดหยามและลำบากแค่ไหน ดร.อามเพฑกร ก็ไม่ท้อ เพราะเขามี “ศีล” คือ มีวินัยในตนเองเต็มที่ ตั้งอกตั้งใจเรียน ลำบากเท่าใดก็สู้ไม่ถอย
2
“สุตะ” คือ ความรู้ ดร.อามเพฑกร ตั้งใจจะกอบโกยความรู้จากครูบาอาจารย์ให้ได้มากที่สุด เด็กที่มาจากครอบครัววรรณะสูง ๆ แต่งตัวสวย ๆ ระหว่างที่คุณครูสอนอาจจะเผลอหลับบ้าง คุยกันบ้าง แต่ ดร.อามเพฑกรเก็บเกี่ยวความรู้จากคุณครูทุกรายละเอียด เงี่ยหูฟังทุกถ้อยคำของครูบาอาจารย์ ตั้งใจจด ตั้งใจทบทวนเพื่อให้ได้ความรู้ที่ดีที่สุด
1
“จาคะ” คือ สละอารมณ์ที่ไม่ดีให้หลุดไปจากใจ ใครเขาจะดูถูกอย่างไร ดร.อามเพฑกร ก็ไม่สนใจ ไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้นที่เขาต้องโดนดูถูก ช่วงพักดื่มน้ำก็ห้ามจับถูกก๊อกน้ำ เขาต้องวานเพื่อนที่พอจะมีน้ำใจช่วยเปิดก๊อกน้ำให้ แล้วตัวเองก็เอียงศีรษะไปรับน้ำ อ้าปากให้น้ำเข้าคอ เนื้อตัวห้ามโดนก๊อกโดนท่อโดยเด็ดขาดเพราะคนอื่นเขาไม่ยอม เขากลัวว่าเสนียดจัญไรจะติดตัว
2
ถามว่า ถ้าเป็นตัวเราต้องไปอยู่ในโรงเรียนอย่างนี้ คิดว่าเราจะกัดฟันทนเรียนต่อไปไหม เราจะรู้สึกหดหู่จนกระทั่งเลิกเรียนหรือไม่ แต่ ดร.อามเพฑกร ไม่คิดอย่างนั้น เขาสละอารมณ์บูด ๆ หลุดไปจากใจ นี่คือ “จาคะ”
1
ดร.อามเพฑกร มุ่งมั่นจะเอาความรู้เพียงอย่างเดียว เรื่องอื่น ๆ ไม่ใช่ประเด็น ยิ่งเขาเจออย่างนี้ ยิ่งเพิ่มความตั้งใจที่จะฝึกฝนตนเองให้ได้ แล้วมุ่งหาวิธีการนำความรู้ที่มีมาใช้ประโยชน์ หมั่นขบคิดหาวิธีการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมอินเดีย โดยคิดว่าเขาจะต้องทำอย่างไรบ้าง
1
ต้องเปลี่ยนกติกาบ้านเมืองอย่างไร แล้วเขาก็คิดได้ว่าต้องแก้ไขที่รัฐธรรมนูญก่อน เพราะรัฐธรรมนูญคือกรอบใหญ่ของประเทศ คนทุกวรรณะต้องเสมอภาคกัน อย่างน้อยโดยกฎหมายสูงสุดของประเทศก่อน ส่วนธรรมเนียมหรือค่านิยมของประชาชนก็ค่อย ๆ แก้กันไป
1
พอ ดร.อามเพฑกร เรียนจบมัธยมปลาย พ่อแม่ไม่มีกำลังส่งให้เรียนต่อแล้ว แต่ผลการเรียนของเขาดีเยี่ยม คนวรรณะสูง ๆ ในโรงเรียนยังสู้ไม่ได้เลย แล้วโชคดีที่มีมหาราชาเป็นคนดีมีน้ำใจ ต้องการส่งเสริมคนวรรณะต่ำให้ได้เรียนสูงขึ้น จึงให้ทุนการศึกษาแก่ ดร.อามเพฑกร ซึ่งมีผลการเรียนเป็นอันดับ 1 จึงได้รับทุนจนเรียนจบปริญญาตรี
2
คนที่เตรียมตนเองพร้อม พอโอกาสมาถึงจึงจะคว้าโอกาสนั้นได้ แต่คนที่มัวตัดพ้อโชคชะตาชีวิตของตนเองว่าทำไมเราต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วไม่ขยันเรียน ถึงคราวได้โอกาสเขาให้ทุนก็อด
2
ดร.อามเพฑกร ทุ่มเทในเงื่อนไขที่เอื้อให้ ถึงคราวมีคนให้ทุนศึกษาต่อเขาก็ได้รับมัน พอมีผู้มีทรัพย์มีอำนาจและเป็นคนดี ต้องการให้ทุนชาวอินเดียไปเรียนต่อต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในสหรัฐอเมริกา ดร.อามเพฑกร ก็ได้รับทุนนั้นทันที เพราะเขามีผลการเรียนดีเยี่ยมที่สุดในขณะนั้น
1
จากคนที่โดนดูถูกสารพัด กลายเป็นคนที่ได้รับโอกาสไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง ที่นี่ไม่มีการกดขี่ด้วยวรรณะ ทุกคนเสมอภาคกัน ดร.อามเพฑกร เรียนหนังสือด้วยความสุข และซึมซับความเสมอภาคว่า เขาจะต้องนำกลับมาสู่สังคมอินเดียให้ได้
1
ดร.อามเพฑกร เรียนจนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แล้วกลับมาเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เขาได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ก็ยังหาความรู้เพิ่มเติมไม่หยุดจนจบปริญญาโท ปริญญาเอก และได้ปริญญาบัตรมาวางเรียงกันเป็นสิบ ๆ ใบทั้งสายวิทย์และสายศิลป์
ดร.อามเพฑกร เป็นที่ยกย่องนับถือว่าเป็นคนฉลาดจริง มีความรู้ดีจริง สุดท้ายได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม และได้เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญของประเทศอินเดีย เมื่อได้รับเอกราชแล้วบัญญัติลงไปชัดเจนว่า คนทุกชั้นวรรณะมีความเสมอภาคกัน ห้ามดูถูกเหยียดหยามกัน
2
เขาผลักดันจนกฎหมายสูงสุดของประเทศบัญญัติห้ามแบ่งชนชั้นด้วยวรรณะ แล้วนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา คือ “ตราธรรมจักร” ลงไปในธงชาติอินเดียด้วย และได้นำตราสิงห์จากหัวสิงห์ที่เป็นหัวเสาหินอโศกที่พระเจ้าอโศกมหาราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกในพระพุทธศาสนามาจัดสร้างเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติอินเดีย
6
เนื่องจากระหว่างที่ ดร.อามเพฑกร ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขาพยายามศึกษาปรัชญาคำสอนทั้งหมดแล้วพบว่า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีที่สุดที่ให้มนุษย์ทุกคนเสมอภาคกัน
2
ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นวรรณะใดก็แล้วแต่ เมื่อมาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วถือว่าเท่ากันหมด เกิดใหม่ในพระธรรมวินัยของพระบรมศาสดา คนจะสูงต่ำอยู่ที่ทำตัว ไม่ได้อยู่ที่การเกิด เกิดในวรรณะสูงแล้วเป็นคนสูงนั้นไม่ใช่จะสูงจะต่ำอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติของแต่ละคน
2
ดร.อามเพฑกร ยอมรับนับถือคำสอนของพระพุทธศาสนา แล้วเป็นผู้นำคนชนชั้นวรรณะศูทรและจัณฑาลประกาศปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นับถือพระพุทธศาสนา ประชุมใหญ่ครั้งหนึ่งพร้อมกัน 5 แสนคน
2
จากที่ในประเทศอินเดียแทบไม่มีชาวพุทธหลงเหลืออยู่เลย กลับมาประกาศปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ 5 แสนคนในคราวเดียว ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความฮือฮามาก โดย ดร.อามเพฑกร นำประกาศ ดังนี้
1
1.ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระวิษณุต่อไป ทุกคนประกาศตาม
2.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระราม พระกฤษณะเป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป
3.ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป
4.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป
5.ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้นคือคนบ้า
3
ทั้ง 5 แสนคนปฏิญาณตนพร้อมกันในคราวเดียว เหมือนเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ไม่น่าเชื่อว่าฆราวาสเพียงคนเดียวสามารถเป็นผู้นำคนมาปฏิญาณตนพร้อม ๆ กันได้ แล้วยังมีคนนับถือพระพุทธศาสนาตามมาอีกกว่า 30 ล้านคน
ที่ต้องการชี้ให้เห็นอย่างหนึ่งคือ คนที่เกิดมาในวรรณะจัณฑาลอยู่ในภาวะต่ำที่สุด และอยู่ในภาวะที่ถูกกดดันอย่างสุด ๆ แต่เมื่อรู้จักมองตนเองและพัฒนาตนเองอย่างจริงจังก็สามารถพลิกตนเองขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ เป็นประธาน
การร่างรัฐธรรมนูญ และได้รับการเคารพยกย่องจากคนทุกชนชั้นวรรณะในประเทศได้ นี่คือประโยชน์ของการมองตนเอง แล้วพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง
พวกเราทุกคนถือว่าอยู่ในภาวะที่ดีกว่า ดร.อามเพฑกรมาก ถ้าเรารู้จักมองตนเองและพัฒนาตนเองจริง ๆ แล้วล่ะก็ขอให้มั่นใจว่า เราจะสามารถทำสิ่งที่ตนเองปรารถนาสำเร็จได้อย่างแน่นอน
1
เจริญพร
โฆษณา