25 พ.ย. 2020 เวลา 04:19 • อาหาร
อาหารเหนือ ที่คุณไม่ควรพลาด !!
canva
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
มาปล่อยเรื่องอาหาร ไกล้ๆเที่ยง ยั่วน้ำลายเพื่อนๆ ให้อยากกินอาหารนิดนึง 😂😂😂
เนื่องจากฟางเป็นคนภาคเหนือ วันนี้เลยจะมาแนะนำอาหารเหนือ ให้เพื่อนๆได้ลองไปหาทานกันนะคะ
1
ถ้าพูดถึงภาคเหนือ หลายๆคนก็ต้องนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยว บรรยากาศแบบหนาวๆ สาวเหนือสวยๆ 😅 ป่าเขา ยอดดอยสวยๆ ทุ่งดอกไม้ยามหน้าหนาว อะไรแบบนี้ใช่ไหมคะ ?
.
.
แต่ที่ขาดไม่ได้เลย มันต้องนี่เลย 👉 อาหารเหนือ สิคะ !! ใครไม่ลองทาน ต้องลองนะคะ ทานแล้วจะติดใจเลย ขอบอก 🤭🤭🤭🤭 ( โม้เก่งเนอะ 555+ )
แต่ว่าอาหารเหนือ รสชาติอาจจะออกเผ็ด บางคนอาจจะไม่ชอบก็ได้ และด้วยอิทธิพลจากวัฒนธรรมล้านนาและไทยอีสาน อาหารเหนือและอีสานจึงคล้ายคลึงกันพอประมาณ รสชาติอาหารเหนือไม่ได้เผ็ดแซ่บน้ำตาไหลแบบอีสาน แต่ความจัดจ้านจะมาจากเครื่องแกง หรือเครื่องเทศ รวมถึงผักและสมุนไพร ทานคู่กับเนื้อแบบต่าง ๆ จ้า
วันนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าฟางจะแนะนำให้คุณลองทานอะไรบ้าง ? ตามมาเลย !!
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
https://pin.it/4KUnlJ6
1. ข้าวซอยไก่ , เนื้อ
“ ข้าวซอย ” เป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ มีลักษณะคล้ายเส้นบะหมี่ในน้ำแกงกะหรี่ เชื่อกันว่าเป็นวัฒนธรรมอาหารที่ได้รับอิทธิพลมมาจากการทำการค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนฮ่อหรือชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลามในช่วงกลางยุคศวรรษที่ 19 แน่ะ !! เดิมทีเมนูนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ‘ ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ ’ นะจ้าา 😆
1
สำหรับเหตุผลที่เรียกอาหารชนิดนี้ว่า “ ข้าวซอย ” ก็เพราะในสมัยโบราณยังไม่มีเครื่องจักรในการผลิตเส้นบะหมี่ที่ใช้ทำข้าวซอยค่ะ เค้าจึงใช้การทำเส้นสด โดยนำแป้งข้าวสาลี ไข่ เกลือ น้ำ มาผสมกันแล้วนวด จนเข้ากันดี แล้วกดรีดให้เป็นแผ่น แล้วเอามีดมาซอยแผ่นแป้งให้เป็นเส้น จึงเรียกว่า “ ข้าวซอย ” นั่นเองจ้า
2
สำหรับฟาง ความอร่อยของข้าวซอยอยู่ตรงความหอมกะทิ เนื้อวัวที่เคี่ยวจนเปื่อย หรือไก่ที่นุ่ม เส้นทอดกรอบที่เพิ่มความเร้าใจเวลากิน อร่อยที่สุดคือการแนมผักดอง กับหอมแดงฉุนๆ หอมแดงเป็นของชอบพิเศษจนต้องขอเติมอีกเยอะๆ เลยค่ะ 🤭
หากใครได้มีโอกาสมาเที่ยวเหนือ ห้ามพลาดข้าวซอย เลยนะคะ ขอบอกว่า เด็ดจริงค่ะ !! 👍
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
https://pin.it/4b7xd9R
2. ไส้อั่ว
“ไส้” หมายถึงลำไส้ และไส้ที่ใช้ นิยมใช้ลำไส้ของหมู เครื่องในหมูส่วนที่นำมาอาหาร ต้ม ย่าง ทอด จะใช้ลำไส้ใหญ่ สำหรับส่วนที่จะเอามาทำไส้อั่ว จะใช้ลำไส้เล็กค่ะ
“อั่ว” เป็นการประกอบอาหารอย่างหนึ่ง ในที่นี้หมายถึง การแทรก ยัด หรือกรอกเครื่องปรุงใส่เข้าไปในลำไส้ค่ะ
ในสมัยโบราณ ยามเทศกาลงานบุญของทางเหนือ มักจะมีการล้มหมูเป็นตัว และจะมีเนื้อหมูเป็นจำนวนมาก บางครั้งนำมาประกอบอาหารไม่ทัน จึงมีการถนอมอาหารป้องกันการเน่าเสียค่ะ โดยเอามาทำเป็นไส้อั่ว
ไส้อั่วจึงเป็นการนำหมูบดมาผสมกับกระเทียม สมุนไพร พริก และเครื่องแกง ก่อนนำไปกรอกใส่ไส้นั่นเอง ทานเป็นกับแกล้ม หรือจะทานคู่กับข้าวเหนียวเป็นจานหลักก็ได้ค่ะ อร่อยมากขอบอก อิอิ ไปเหนือไม่ได้กินไส้อั่วถือว่ามาไม่ถึงนะคะ อิอิ 🤭🤣
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
https://pin.it/4ANV5F2
3. แกงฮังเล
แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล เป็นอาหารไทยประเภทแกงรสชาติเค็ม - เปรี้ยว แกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า โดยคำว่า "ฮิน" ในภาษาพม่า หมายถึง แกง และ "เล" ในภาษาพม่า หมายถึง เนื้อสัตว์ ค่ะ
แกงฮังเลได้รับความนิยมจากชาวไทยภาคเหนือและแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีนค่ะ
แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามาค่ะ
เมนูนี้มักทำเลี้ยงระหว่างเทศกาลงานฉลองต่าง ๆ เช่น งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ ตำนานกล่าวว่าแกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากพม่า เพื่อนบ้านของไทยและอินเดีย ซึ่งก็พอจะช่วยให้เข้าใจได้ว่า ทำไมผงแกงฮังเลถึงมีส่วนผสมใกล้เคียงกับผงมาซาลา (masala) หลังจากคลุกเคล้าเนื้อหมูและเครื่องเทศให้เข้ากันดีแล้ว ให้นำไปเคี่ยวอย่างน้อย 40 นาที ตัวแกงจะเริ่มส่งกลิ่นหอมของเครื่องเทศและสมุนไพร ทั้งมะขาม ขิง และกระเทียมดอง แม้ไม่มีกะทิแต่ก็เข้มมันจนบางสูตรใส่สับปะรดลงไปด้วยเพื่อตัดเลี่ยน
เมนูนี้ของโปรดฟางเลยค่ะ อิอิ 🤭 รสชาติของแกงจะออกเค็มๆ เปรี้ยวๆ หวานนิดๆ อร่อยมากเลย ถ้ามีโอกาสไปเหนือ ลองสั่งมาทานดูนะคะ อร่อยแน่นอนจ้า 😊
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
https://pin.it/4pcXpgz
4. น้ำพริกหนุ่มกับแคบหมู
น้ำพริกหนุ่ม เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป ทำจากพริกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าพริกหนุ่มอาจจะใช้พริกหนุ่มที่แก่จัดหรือยังไม่แก่จัดก็ได้ค่ะ แต่ส่วนมากใช้พริกหนุ่มที่ยังไม่แก่จัด หอม และกระเทียม นำมาย่างและโขลกส่วนผสมและเกลือ รับประทานกับแคบหมู ผัก ข้าวเหนียว บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือค่ะ
หรือลองเปลี่ยนจากแคบหมูมาเป็นผักสดหรือผักต้มแทนบ้างก็ได้เพื่อให้ได้สารอาหารครบหมู่ค่ะ อร่อยไม่แพ้เมนูอื่นๆ เลยนะคะ ต้องหาทานเลย 👍
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
https://pin.it/3oNsq9F
5. น้ำพริกอ่อง
“น้ำพริกอ่อง” เป็นน้ำพริกพื้นบ้านของภาคเหนือ มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า
เมื่อก่อนนั้น ทางภาคเหนือยังไม่มีน้ำพริกอ่องค่ะ อาหารที่มีมาก่อนน้ำพริกอ่อง ก็เช่น หนมเส้นน้ำเงี้ยว หรือขนมจีนน้ำเงี้ยว นั่นเองค่ะ
เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อก่อนมีชาวพม่าชื่อ " นายอ่องหม่อง " อยากจะกินหนมเส้นน้ำเงี้ยว จึงทำการตำน้ำพริกเพื่อจะทำเป็นน้ำเงี้ยว กำลังเตรียมส่วนผสม คั่วพริก คั่วหอม กลิ่นหอมๆ กำลังได้ที่ ระหว่างนั้น ลูกนายอ่องหม่องก็ร้องไห้ เพราะหิวข้าว นายอ่องหม่องบอกให้ลูกเงียบก็ไม่เงียบซักทีค่ะ เอาแต่ร้องไห้ เพราะหิวข้าวมาก
นายอ่องหม่องโมโห จึงตักน้ำพริกที่กำลังทำ ยังไม่เสร็จมาให้ลูกชายกิน 😅 แน่นอนค่ะว่ารสชาติน้ำพริกตอนนั้น มันเผ็ดมาก นายอ่องหม่องเลยเก็บผักมากินกับน้ำพริก ปรากฏว่ารสชาติมันอร่อย รู้สึกติดใจ เลยลองเอาไปให้ชาวบ้านแถวนั้นกิน ก็เกิดติดใจ
เลยพากันเรียก " น้ำพริกปู่อ่อง " พอนานวันเข้า ก็เรียกเพี้ยนไป ให้สั้นลง เหลือเพียง น้ำพริกอ่อง จึงเรียกติดปากกันมาถึงทุกวันนี้ค่ะ 😅😂😂
น้ำพริกอ่องมีมะเขือเทศเป็นส่วนผสมหลัก เป็นอีกหนึ่งน้ำพริกของชาวล้านนาที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย  ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือ มีรสชาติที่ครบ ทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้ค่ะ ใครได้ลองเป็นต้องติดใจในรสชาติแน่นอน หากมาเหนือต้องสั่งน้ำพริกอ่องมาทานนะคะ เด็ดมาก 👍🤤
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
https://pin.it/3XmREq0
6. ขนมจีนน้ำเงี้ยว
น้ำเงี้ยว คือ น้ำแกงรสชาติเค็มเผ็ด มีรสเปรี้ยวจากมะเขือเทศ สำหรับใส่ขนมจีน หรือ เส้นก๋วยเตี๋ยว เช่นเดียวกับน้ำก๋วยเตี๋ยว หรือขนมจีนน้ำยาค่ะ
ซึ่งชาวไทใหญ่มักจะเรียกน้ำเงี้ยวนี้ว่า น้ำหมากเขือส้ม ซึ่งถ้าใส่ขนมจีน ก็เรียกว่า เข้าเส้นน้ำหมากเขือส้ม
คำว่า น้ำเงี้ยว นี้มีผู้เรียกว่า น้ำงิ้ว เนื่องจากในการปรุงนั้นใช้เกสรดอกงิ้วป่า ซึ่งเป็น งิ้วชนิดดอกแดงตากแห้ง (ในภาษาเหนือ งิ้ว จะหมายถึง ต้นนุ่น ได้ด้วย มักจะเรียกว่า งิ้วดอกขาว) ใส่ลงไป ซึ่งหมายถึงดอกเงี้ยวเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำน้ำเงี้ยวเลยค่ะ
นำน้ำเงี้ยวราดเส้นขนมจีน เพิ่มรสชาติด้วยการโรยกระเทียมเจียว ผักกาดดอง มะนาว และแคบหมู แค่ฟังก็น้ำลายสอแล้ว ใครยังไม่ลองต้องลองนะคะ อร่อยมากๆ 🤤
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
1
https://pin.it/7iqiGd0
7. กระบองทอด
กระบองทอด เป็นอาหารทานเล่นของคนเหนือที่ตอนนี้กำลังหาทานได้ยากค่ะ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพม่าไทใหญ่ ซึ่งชาวไทใหญ่จะเรียก  “ ข่างปอง ”  คนเมืองฮ้อง “ ก๋าบองทอด ”  ทำไมถึงเรียกก๋าบอง ก็เพราะเวลาเอาไปทอดแล้วมันเป็นรูป กากบาท ไขว้กัน คนเมืองจึงเรียกก๋า (ก๋า = กากบาท) 😂 จนภายหลังเพี้ยนเป็นกระบองนั่นเองค่ะ
2
คนรักของทอดต้องร้องถูกใจสิ่งนี้ 😂 กระบอง คืออาหารว่างที่คนภาคอื่นอาจไม่คุ้น มันคือ ผักชุบแป้งทอด กรอบนอก นุ่มใน เผ็ดเล็กน้อยจากพริกแกงที่ผสมในแป้ง ปกติมักใช้ฟักทอง แต่อาจจะใช้ผักอย่างอื่นเช่น มะละกอ หัวผลี หรือหัวหอมก็ได้ค่ะ อร่อย 🤤แต่อย่าทานเยอะนะคะ เดี๋ยวอ้วน 😅😂😂
1
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
https://beautyinfoo.com/lannafood-0200/
8. ไข่ป่าม
เป็นเมนูอาหารที่มีเฉพาะภาคเหนือ ซึ่งมีขั้นตอนการทำง่ายๆ โดยทำขึ้นจากไข่ไก่ปรุงรส ปรุงไข่ด้วยเกลือป่น ต้นหอมซอย หรือดัดแปลงให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มส่วนผสมอื่นๆ เช่น เนื้อหมู ทำให้สุกด้วยวิธีป่าม
โดยเทไข่ลงบนใบตองที่ห่อเป็นกระทงหลายๆ ชั้น แล้วนำไปปิ้งบนไฟอ่อนๆ คอยเติมน้ำใส่ใบตองชั้นล่างเพื่อไม่ให้ใบตองไหม้ จนกระทั่งไข่สุกเหลือง มีลักษณะคล้ายไข่เจียวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของใบตอง บางคนเห็นแล้วก็ เรียกว่า ไข่ทอดตอง ค่ะ อร่อยมากๆ 👍
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
https://www.technologychoban.com/thai-local-wisdom/article_43764
9. ข้าวกั้นจิ้น
ข้าวกั้นจิ้น เป็นอาหารของชาวไทใหญ่ที่แพร่หลายในล้านนา และด้วยเพราะเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อย สามารถที่จะพกพาเดินทางไปไหนๆ ได้สะดวกค่ะ
กั้น เป็นคำกริยาในภาษาล้านนา แปลว่า นวด เพราะขั้นตอนของการทำนั้นต้องนวดข้าวให้เข้ากับเลือดด้วยค่ะ
ข้าวกั้นจิ้น เมนูนี้จัดเป็น ข้าวตอน (แปลว่า อาหารกลางวัน กิ๋นข้าวตอนแล้วก๋า หมายถึง กินข้าวเที่ยงแล้วหรือยัง😅) ยอดนิยมของคนเหนือเลยก็ว่าได้ค่ะ ซึ่งต้นตำหรับดั้งเดิมนั้นเขาจะใช้เนื้อวัวทำ แต่ปัจจุบันผู้คนไม่ค่อยกินเนื้อวัวกันแล้ว บรรดาร้านอาหารจึงดัดแปลงมาใช้เนื้อหมูแทนค่ะ
ฟางเชื่อว่ามีหลายๆคนยังไม่เคยลองแน่นอน หากขึ้นเหนือลองหาทานดูนะคะ รับรองว่าต้องถูกปากแน่นอนค่ะ 👍😊
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
1
www.teeapat.com
10.ลาบดิบ
เมนูนี้ แนะนำลำดับสุดท้ายเลยแล้วกัน 🤣🤣 เพราะมันออกจะโหดไปหน่อย 555+ ดิบมาเลย 😂
สมัยก่อน แต่ยุค ล้านนา ถือว่า ลาบ เป็นอาหารที่นิยมทำกินกันในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยง หรือในเทศกาลต่างๆ ส่วนประกอบหลักของลาบ คือ เนื้อหมูสด บางบ้านนิยม บริโภค วัว ควาย ก็ เรียกว่า ลาบวัว ลาบควาย
เมื่อต้องการนำมาทำ ก็จะใช้เนื้อสด นำมาสับให้ละเอียดคลุกเคล้ากับเลือดสดและเครื่องในต้มหั่นซอย ปรุงด้วยเครื่องปรุง ประกอบด้วยพริกแห้งเผา และเครื่องเทศต่างๆ
ลาบกินกับผักสดนานาชนิด โดยเฉพาะประเภทสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมแรงๆหน่อยค่ะ และเรียกผักที่นำมากินกับลาบว่า “ ผักกับลาบ ” ปัจจุบัน นิยมรับประทานลาบหมู มากกว่าลาบวัว ลาบควาย ลาบที่ยังไม่สุก เรียกว่า ลาบดิบ
ถ้าต้องการรับประทานแบบสุก ก็นำไปคั่วกับน้ำมันพืชเล็กน้อย หรือไม่ใส่น้ำมันก็ได้ตามชอบ เรียกว่า ลาบคั่ว แซ่บมาก !! 😂😂 ฟางกินลาบคั่วนะคะ ลาบดิบ ไม่ไหว ขอผ่านค่ะ 😅😂😂
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
รอบนี้คัดสรรมา 10 เมนูก่อนนะคะ จริงๆแล้วมีเมนูพื้นเมืองอีกหลายแมนูเลย แต่คาดว่าหลายๆท่านอาจจะยังไม่รู้จัก เอาไว้รอบหน้าหากฟางว่าง ฟางจะหาเมนูพื้นบ้านจริงๆของทางเหนือมาลงนะคะ 😁😆
แต่รอบนี้ที่กล่าวมาทั้งหมด ฟางเชื่อว่ามีหลายๆคนต้องเคยทานมาบ้างแล้ว และอาจจะติดใจชอบอาหารเหนือไปแล้วก็มีใช่ไหมคะ ? 😂
หากมีโอกาสได้ขึ้นไปเที่ยวทางภาคเหนือ ลองสั่งอาหารเหล่านี้มาทานกันดูได้นะคะ รับรองว่าทุกคนต้องติดใจในรสชาติอาหารบ้านฟางแน่นอนค่ะ 😊
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
โฆษณา