27 พ.ย. 2020 เวลา 10:18 • สุขภาพ
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ความหวังที่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไต สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
 
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ต้องกังวลกับการติดเชื้อ และยังเป็นการลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนได้อีกด้วย
 
การปลูกถ่ายไตถือเป็นวิธีการบำบัดทดแทนไตที่ดีที่สุด เนื่องจากการผ่าตัดมีอัตราการประสบความสำเร็จสูง ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย เดินทางท่องเที่ยว มีครอบครัวได้เช่นเดียวกับผู้ที่มีสุขภาพดีทั่วไป และมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือดหรือล้างไตตลอดชีวิต
4 ข้อดี เมื่อผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่ บำรุงราษฎร์
หากต้องผ่าตัดปลูกถ่ายไต ให้นึกถึงบำรุงราษฎร์ เพราะเหตุผล 4 ข้อนี้
1. บำรุงราษฎร์ให้การดูแลคนไข้แบบเฉพาะบุคคลและครบองค์รวม เมื่อผู้ป่วยหรือญาติมีความกังวลใจสามารถติดต่อสอบถามพยาบาลผู้ประสานงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. บำรุงราษฎร์พร้อมด้วยทีมแพทย์ ทีมพยาบาลที่มากด้วยประสบการณ์และมีศักยภาพสูงในการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ซับซ้อน
3. บำรุงราษฎร์มีระยะเวลาการรอคิวเปลี่ยนไตสั้นไม่ต้องรอนาน เพราะมีทีมแพทย์ผ่าตัดอวัยวะเป็นของตนเอง
4. ผู้ป่วยที่ย้ายมาจากโรงพยาบาลอื่นจะไม่เสียคิวจากการขอรับบริจาคกับสภากาชาด
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ชีวิตใหม่หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่ามีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายหลายรายที่รู้สึกว่าช่วงเวลาของการบำบัดทดแทนไตคือวาระสุดท้ายของตนเอง เพราะความเจ็บปวดทุกข์ทรมานจากการฟอกเลือดหรือเสี่ยงติดเชื้อจากล้างไตทางช่องท้องนั้นบั่นทอนคุณภาพชีวิตอย่างมาก แต่หลังจากที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและใจดีขึ้น พึ่งพาตัวเองได้ มีความหวัง มีอนาคต ไม่ต่างจากการได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่าหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจการทำงานของไต (serum creatinine) และรับประทานยากดภูมิคุ้มกันอย่างเคร่งครัด เพราะหากละเลยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยอาจต้องสูญเสียไตใหม่ที่ได้รับและเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา
การผ่าตัดปลูกถ่ายไตอาจมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ดังนี้
ความเสี่ยงจากการที่ร่างกายปฏิเสธไตใหม่ (kidney rejection) จากสถิติการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์พบว่า อัตราการเกิดภาวะปฏิเสธไตใหม่อย่างเฉียบพลัน (acute rejection) พบน้อยกว่า 10% ซึ่งความเสี่ยงในเรื่องนี้สามารถป้องกันได้หากผู้ป่วยได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพียงพอ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นทันทีหลังผ่าตัด ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ เลือดออก การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและการไหลเวียน เช่น ความดันโลหิตต่ำ และปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก
ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลง ทำให้มีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย
ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พบได้ภายหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไตนานๆ ซึ่งมักเกิดจากการบริหารยากดภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคตับอักเสบ โรคมะเร็ง เป็นต้น
Kidney transplants by the numbers
รายงานประจำปี 2562 ของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ระบุตัวเลขที่น่าสนใจของการผ่าตัดปลูกถ่ายไตไว้ดังนี้
ขณะนี้มีผู้รอไตทั้งสิ้น 6,125 ราย อยู่ในสถานะที่พร้อมเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต 5,508 รายหรือร้อยละ 90 ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว 552 ราย หรือร้อยละ 9 ของผู้รอรับไตทั้งหมด
ระยะเวลาเฉลี่ยในการรอปลูกถ่ายไตนับจากวันลงทะเบียนคือ 954 วัน หรือ 2 ปี 7 เดือน 11 วัน
เวลาเร็วที่สุดในการรออยู่ที่ 15 วัน นานที่สุด 6,170 วัน หรือ 16 ปี 10 เดือน 22 วัน
มีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างรอไต 45 ราย
ผู้ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีอายุอยู่ในช่วง 35-49 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 41) รองลงมาคือ 50-59 ปี (ร้อยละ 24)
ผู้ที่ผ่าตัดปลูกถ่ายไตอายุมากที่สุดคือ 78 ปี อายุน้อยที่สุดคือ 10 ปี
Note: ระหว่างปี พ.ศ.2540-2562 บำรุงราษฎร์มีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว 132 ราย แยกเป็นไตที่มาจากผู้บริจาคมีชีวิตในโรงพยาบาลเอง 13 ราย ได้รับไตจากการจัดสรร 119 ราย เฉพาะในปี 2562 ได้รับไตจัดสรร 16 ราย
อัตราการประสบความสำเร็จของการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
บำรุงราษฎร์มีอัตราการประสบความสำเร็จของการผ่าตัดปลูกถ่ายไตสูงเทียบเท่ากับโรงพยาบาลชั้นนำในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรปตะวันตก
จากสถิติผู้ป่วยปลูกถ่ายไตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการรอดของไตที่ทำการปลูกถ่าย (graft survival) ใน 1 ปี สูงถึง 96% 5 ปีอยู่ที่ 83% และ 10 ปีอยู่ที่ 78% ซึ่งอัตราการประสบความสำเร็จนั้นจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นอยู่กับสภาวะทางร่างกายของผู้ป่วย และไตที่ได้รับบริจาคว่ามาจากผู้มีชีวิตหรือเสียชีวิต
โฆษณา