30 พ.ย. 2020 เวลา 11:42 • ประวัติศาสตร์
• 🇷🇺 รวม 10 fact ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการปฏิวัติรัสเซีย
ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
1) การปฏิวัติรัสเซียที่เกิดขึ้นในปี 1917 นั้น แท้จริงแล้ว ประกอบไปด้วยการปฏิวัติทั้งสิ้น 2 ครั้งด้วยกัน
โดยครั้งแรกคือการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (February Revolution) เป็นการปฏิวัติที่ประชาชนรัสเซียนับแสนคน ได้ชุมนุมประท้วงขับไล่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 โดยการปฏิวัติครั้งนี้ จบลงที่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ทรงสละราชสมบัติ และรัสเซียถูกปกครองโดยรัฐบาลเฉพาะกาล
กลุ่มฝูงชนในนครเปโตรกราด ในการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์
ส่วนการปฏิวัติครั้งที่ 2 คือการปฏิวัติเดือนตุลาคม (October Revolution) โดย วลาดิเมียร์ เลนิน และพรรคบอลเชวิก ได้โค่นล้มอำนาจรัฐบาลเฉพาะกาล ก่อนที่จะเปลี่ยนให้รัสเซียกลายเป็นคอมมิวนิสต์นั่นเอง
วลาดิเมียร์ เลนิน และกลุ่มผู้สนับสนุน ในการปฏิวัติเดือนตุลาคม
2) ถึงแม้ว่าการปฏิวัติทั้งสองครั้งนี้ จะมีชื่อเรียกว่า "การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์" และ "การปฏิวัติเดือนตุลาคม" แต่แท้จริงแล้ว การปฏิวัติทั้งสองนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ หรือตุลาคม แต่ประการใด
โดยการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 8 ถึง 16 มีนาคม 1917 ในขณะที่การปฏิวัติเดือนตุลาคม เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 7 ถึง 8 พฤศจิกายน 1917
สาเหตุที่ทำให้ทั้งสองเหตุการณ์นี้ มีวันเวลาที่ไม่ตรงกัน ก็เพราะว่ารัสเซียในตอนนั้น ใช้ระบบปฏิทินจูเลียนแบบเก่า (Old-style Julian Calendar) ซึ่งมีความล่าช้ากว่าระบบปฏิทินแบบปกติ ที่เราใช้งานกัน
3) วลาดิเมียร์ เลนิน (Vladimir Lenin) แท้จริงแล้ว ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อจริง ๆ ของผู้นำในการปฏิวัติรัสเซียคนนี้ เพราะเลนินมีชื่อจริง ๆ ว่า วลาดิเมียร์ อิลลิช อุลยานอฟ (Vladimir Ilyich Ulyanov) โดยคำว่า เลนิน เป็นชื่อปลอมที่เขาได้ตั้งขึ้น เพื่อหลบหนีจากการจับกุมตัวของเจ้าหน้าที่รัสเซีย
1
ซึ่งคำว่าเลนินนั้น มีที่มาจากชื่อของแม่น้ำเลน่า (Lena) ในไซบีเรีย ซึ่งเคยเป็นดินแดนที่เลนินเคยถูกเนรเทศให้มาอยู่ที่นี่มาก่อน
1
วลาดิเมียร์ เลนิน ผู้นำในการปฏิวัติรัสเซีย (ปฏิวัติเดือนตุลาคม)
4) ในช่วงการปฏิวัติรัสเซีย เมืองหลวงของรัสเซียในตอนนั้นอย่าง นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg) ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เปโตรกราด (Petrograd) แทน เพราะชาวรัสเซียมองว่า ชื่อเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มีความเป็นเยอรมันมากเกินไป
นครเปโตรกราด หรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมืองหลวงของรัสเซียในสมัยจักรวรรดิรัสเซีย
5) ชื่อของพรรคบอลเชวิก (Bolshevik) มีความหมายในภาษารัสเซียว่า "ส่วนน้อย" เพราะ สมาชิกของบอลเชวิกที่เป็นกลุ่มของพวกหัวรุนแรง เป็นสมาชิกส่วนน้อยของพรรคแรงงานสังคมนิยมประชาธิปไตยรัสเซีย (RSDRP)
เลนิน (นั่งอยู่ตรงกลางของภาพ) กับสมาชิกของพรรคแรงงานสังคมนิยมประชาธิปไตยแรงงานรัสเซีย
6) หลังการจากที่บอลเชวิกทำการปฏิวัติได้สำเร็จ พวกเขาก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยตำรวจลับที่มีชื่อว่า "เชการ์" (Cheka) เพื่อทำหน้าที่ปราบปรามผู้ต่อต้านรัฐบาลของโซเวียต ซึ่งเชการ์ก็ได้กลายเป็นต้นแบบสำคัญ ของหน่วยสืบราชการลับอย่าง เคจีบี (KGB)
1
ภาพถ่ายของเจ้าหน้าที่หน่วยเชการ์ ในช่วงปี 1920
7) การก่อตั้งสหภาพโซเวียตในปี 1922 ได้รับการยอมรับจากบรรดาชาติต่าง ๆ ในยุโรป ในช่วงทศวรรษที่ 1920 ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ให้กับยอมรับสหภาพโซเวียต ในปี 1933
8) คำว่า "โซเวียต" (Soviet) ในชื่อของสหภาพโซเวียตนั้น มีที่มาจากคำว่า "сове́т" ในภาษารัสเซีย ซึ่งมีความหมายว่า "สภา"
9) พระเจ้าจอร์จที่ 5 (George V) กษัตริย์แห่งอังกฤษ ทรงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
ทว่าภายหลังจากเกิดการปฏิวัติรัสเซียแล้ว พระเจ้าจอร์จที่ 5 กับรัฐสภาของอังกฤษ กลับปฏิเสธที่จะให้การช่วยเหลือและทำการลี้ภัยให้กับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (ซ้าย) ก้บพระเจ้าจอร์จที่ 5 (ขวา)
10) นวนิยายชื่อดังของ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) อย่าง "แอนิมัลฟาร์ม" (Animal Farm) มีเค้าโครงเรื่องที่อ้างอิงมาจากเหตุการณ์ปฏิวัติรัสเซีย
โดยตัวละคร เมเจอร์เฒ่า (Old Major) ซึ่งเป็นหมูที่เป็นผู้นำของเหล่าสัตว์ในฟาร์ม อ้างอิงมาจาก วลาดิเมียร์ เลนิน
ในขณะที่หมูสองตัวคือ สโนว์บอล (Snow Ball) และ นโปเลียน (Napoleon) ที่ได้แย่งชิงอำนาจกัน ภายหลังจากที่เมเจอร์เฒ่าตาย ก็ได้อ้างอิงมาจากตัวตนของ ลีออน ทรอตสกี้ (Leon Trotsky) และโจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) นั่นเอง
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา