6 ธ.ค. 2020 เวลา 11:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ประเทศไทยอยู่ตรงไหนของ S Curve ใหม่
4
ผมได้มีโอกาสอ่านเอกสารล่าสุดของ KKP Research ชื่อ “เศรษฐกิจไทยกลับไม่ได้ ไปไม่ถึง หากไม่พึ่งเทคโนโลยี” ซึ่งมี 2-3 ประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจเลยอยากมาเล่าต่อครับ
2
ประเด็นแรกคือเรื่องการผูกขาดของธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งนอกจากจะทำให้ธุรกิจรายเล็กลืมตาอ้าปากได้ยากแล้ว สิ่งที่การผูกขาดทำคือ การทำให้แรงกระตุ้นหรือว่า Incentive ในการทำงานด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) น้อยลง เพราะว่าต้นทุนในการปกป้องตลาดนั้นถูกกว่าการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ
2
มันเลยไปสะท้อนว่า ประเทศไทยใช้งบ R&D แค่ 0.8% ของ GDP ในขณะที่ประเทศอย่างมาเลเซียนั้นใช้ 1.4% ของ GDP คิดเป็นเกือบเท่าตัวของเรา หรืออย่างสิงคโปร์ก็ใช้ 2.1% ของ GDP เป็นต้น
2
การผูกขาดทางธุรกิจนั้นเป็นประเด็นที่ได้รับการจับตามองทั่วโลก เพราะการผูกขาดทำลายระบบนิเวศทางธุรกิจ ที่ควรมีธุรกิจตั้งแต่ระดับรากหญ้า, ธุรกิจขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทั้งระนาบ
7
การมีอยู่ของบริษัทขนาดใหญ่นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ตัวระบบนิเวศต้องเอื้อแก่การแข่งขันที่เป็นธรรม และเอื้อต่อธุรกิจขนาดกลางและเล็กด้วย
4
ในระยะยาวการผูกขาดไม่ดีทั้งกับความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของประเทศ และไม่ดีต่อความสามารถในการเจริญเติบโตของประเทศ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลลบต่อบริษัทขนาดใหญ่เองด้วย
4
ตอนนี้ประเทศมหาอำนาจทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาก็เริ่มมีความพยายามในการลดการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยีอยู่ โดยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Alibaba, Amazon ล้วนเข้าข่ายนี้ทั้งสิ้น
1
ประเด็นคือมูลค่าของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งสะท้อนภาพของประเทศได้ดีเช่นกัน
1
ในประเทศไทยนั้น หากดู Market Capitalization ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จะพบว่ามีเพียง 3% ของมูลค่าตลาดเท่านั้น ที่เรียกได้ว่าอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี ส่วนที่เหลืออยู่ในเศรษฐกิจดั้งเดิม (old economy) ทั้งสิ้น
6
การที่เรามีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีน้อย เป็นตัวสะท้อนภาพของ Technology Savvy ของประเทศที่ต่ำ ซึ่งน่าเป็นห่วงมากๆ ในโลกที่ธีมหลักของการขับเคลื่อนคือการใช้เทคโนโลยี
2
ถ้าเราดูประเทศอย่างไต้หวันที่มูลค่าตลาด 57% อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี ส่วนเกาหลีใต้มี 37% ญี่ปุ่นมี 16% เป็นต้น
5
ผมขอเรียกช่องว่างนี้ว่า Technology Gap แล้วกันนะครับ ซึ่งนับวันมีแต่จะถ่างออกไปเรื่อยๆ และถ้าเราไม่รีบไล่ตามให้ทัน อีก 10 ปี ต่อจากนี้เราจะเป็นประเทศที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
3
ผมคิดว่าประเทศไทยต้องรีบทำ 3 อย่างนี้ให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เราเงยหน้าขึ้นมาอีกทีแล้วตามใครไม่ทัน
5
1. ภาครัฐต้องมี Roadmap ที่จัดเจนเรื่อง S-Curve ใหม่ของประเทศไทย และ Roadmap ที่ว่านี้ทำโดยคนที่เข้าใจจริงๆ รวมถึงต้องมีการตัดสินใจที่เป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ (อย่างตอนนี้หน่วยงานที่ดูแล SMEs ไทย รวมกันทุกกระทรวงคิดว่ามีเกิน 10 หน่วยงาน)
3
2. มีนโยบายที่ดีอย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Execution ที่ดีด้วย ทีมงานที่ลงมาดูเรื่องนี้ต้องมีฝีมือ มีความ รู้ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี มีเอกภาพและมีอำนาจในการทำงานจริง การส่งเสริมการลงทุนด้านเทคโนโลยีนั้นมีเงินอย่างเดียวไม่พอ ต้องใช้เงินให้มีประเสิทธิภาพด้วย
9
3. ยกเลิกกฎเกณฑ์ที่ยุ่งยากในการทำธุรกิจ เช่น ถ้าเราไปดูกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่อง Start Up จะพบว่า Incentive ที่ภาครัฐจะสนับสนุนเรื่องนี้น้อยมาก จึงไม่แปลกที่มี Start Up สัญชาติไทยไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์ และประเทศไทยยังไม่มี Unicorn สักตัวเดียว ในขณะที่เวียดนามกับมาเลเซียมี Unicorn แล้ว ไม่ต้องพูดถึงอินโดนีเซียที่มี Unicorn ไป 5 ตัวแล้ว
3
เมื่อจบวิกฤต COVID-19 ประเทศต่างๆ จะต้องหาที่ยืนใหม่ของตัวเอง ธุรกิจท่องเที่ยวอาจต้องเปลี่ยนรูปแบบไป สินค้าที่เราเคยส่งออกอาจต้องกลับมาคิดเรื่องการเพิ่มนวัตกรรมเข้าไปอย่างจริงจัง เป็นต้น
2
10 ปีต่อจากนี้น่าจะเป็นงานที่ท้าทายมาก เพราะโมเดลธุรกิจเดิมๆ ของประเทศไทยกำลังถูกท้าทายจากทุกทิศทาง หลายอย่างเรายังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
1
แต่ที่แน่ๆ วิธีการคิดแบบเดิมของเรานั้นคงใช้ไม่ได้แล้ว
2
การเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ s-curve ใหม่ จึงต้องทำและต้องรีบทำมากด้วย
1
คราวหน้าผมจะมาเขียนเล่าให้ฟังครับ ว่าธุรกิจอะไรที่ประเทศไทยน่าลงทุน และเรามีความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ด้วย
2
โฆษณา