5 ธ.ค. 2020 เวลา 07:13 • หนังสือ
สรุปหนังสือ: Crisis Wisdom ปัญญาฝ่าวิกฤติ
ณ จุดที่ทุกเหตุปัจจัยเกื้อหนุน นำมาซึ่ง ” วิกฤติการเมืองและความศรัทธา” ณ ขณะนี้
เราควรจะทำอย่างไร?
จะสร้างหนทางสว่าง เพื่อพาตัวตน สังคม และประเทศ ออกสู่วิกฤติ ได้อย่างไร?
บทเรียนในอดีต ที่ได้ถ่ายทอดผ่านหนังสือเล่มนี้ จะช่วยสร้างปัญญา ได้หรือไม่?
1
1. Crisis
เล่าถึงแม่พลอยในเรื่องสี่แผ่นดินที่ไม่ต้องแบกรับภาระทางประวัติศาสตร์ต่อไปเมื่อสิ้นแผ่นดินที่สี่ คุณภิญโญมองว่ามันเป็นความฉลาดของผู้เขียน ในการที่จะคลุมม่านประวัติศาสตร์ปริศนานั้นไว้ พร้อมการจากไปของตัวละครสำคัญ
Crisis ในรากศัพท์ลาติน หมายถึงทางเลือก และการตัดสินใจ ในวิกฤติ จะตัดสินใจต้องมีความกล้า กล้าตัดสินใจเพื่อกำหนดก้าวเดินต่อไปข้างหน้า มันคือการตัดสินใจในช่วง point of no return เป็นช่วงที่จะเพิกเฉยไม่ได้
การไม่ตัดสินใจ ก็ถือเป็นการตัดสินใจรูปแบบหนึ่ง ในจุดที่ยังพอตัดสินใจและพลิกผันสถานการณ์ได้นั้น จึงสำคัญยิ่งยวด หากนิ่งเฉยไป มันอาจไม่มีโอกาสแก้ตัวแล้ว
ในวิกฎติ จะทำให้เราเห็นว่าใครคือผู้กล้า ใครคือผู้ที่ควรยกย่อง หนังสือเล่มนี้จึงจะพาไปศึกษาปัญญาของผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ว่าได้ใช้ปัญญาฝ่าวิกฤติมาได้อย่างไร
วิกฤติที่ยกมาในบทนี้ ก็คือวิกฤติการสวรรคตของรัชกาลที่ 8
รัชกาลที่ 8 ขึ้นครองราชย์ท่ามกลางบรรยากาศที่อำนาจใหม่และเก่ายังไม่สามารถสร้าง equilibrium กันได้ มันจึงเป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยพิษร้าย ต่างฝ่ายต่างจ้องจะล้มอีกฝ่ายให้ได้ – รัฐบาลจากคณะราษฏร์ในขณะนั้น จึงพยายามสร้างความมั่นใจกับคนในประเทศแลประเทศมหาอำนาจ ด้วยการเชิญรัชกาลที่ 8 เป็นกษัตริย์ ซึ่งขณะนั้นรู้กันดีว่าเป็นแค่การจัดฉากของคณะราษฎร์เท่านั้น
ปัญญาชนในวิกฤตินี้ คนแรกที่กล่าวถึงคือ สมเด็จย่า ตั้งแต่การตัดสินพระทัยให้ยุวกษัตริย์ได้เติบโตแบบเด็กธรรมดาๆในต่างประเทศ มิใช่มีชิวิตอย่างราชาแต่เด็ก ซึ่งมันปลูกฝังให้ยุวกษัตริย์เติบใหญ่และดำรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม
อีกคนคือปรีดี พนมยงค์ ผู้ซึ่งเกิดวันเดียวกันกับสมเด็จย่า
3
Climax ก็คือกระสุนนัดประวัติศาสตร์ในพระบรมมหาราชวัง ที่ทำให้สามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองมาพบกัน มันเป็นการพบกันของฝ่ายตัวแทนราชสำนักที่เปราะบาง และตัวแทนนักปฏิวัติที่ก็สุ่มเสี่ยงต่อการพังทลายเช่นกัน – น่าคิดว่า ณ ตอนนั้น ทั้งคู่จะจัดการวิกฤตินี้อย่างไร ทั้งสองฝ่ายนั้น มี choice อะไรบ้าง
2
2. Choice
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดวิกฤติและกลยุทธ์ต่อการจัดการกับมันมากมาย มี Choice มากมายให้ศึกษา เช่น
ใหญ่กับใหญ่จับมือกัน – ตัวอย่างคือตอนที่ Hitler บุกโปแลนแบบสายฟ้าแลบ โดยที่Stalin ก็ไม่เข้ามายุ่มย่าม และได้ส่วนแบ่งดินแดนโปแลนไป คือมหาอำนาจแบ่งเค้กกัน รายย่อยซวยไป
เล็กแลกใหญ่ – ใช้คนน้อยสู้คนมาก ทำให้ได้ยาก แต่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ แต่มันก็มีราคาที่ต้องจ่าย คือเหตุการร์ที่ฟินแลนเอาชนะการบุกรุกโซเวียตได้
เล็กยอมโอนอ่อนผ่อนตามใหญ่ – หากประเทศเล็กๆคิดว่าการปะทะกันจะทำให้ได้ไม่คุ้มเสีย ยอมรักษาชีวิตตัวเองไว้ก่อน ก็ไม่ได้ผิดอะไร
ใช้หายนะและเคราะห์ร้ายของเพื่อนบ้าน สร้างสถานการณ์ให้ตนเองกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ – คือช่วงที่มุสโสลินีแห่งอิตาลีมองว่าเยอรมันน่าจะชนะศึกนี้ เลยรับประกาศตัวเป็นพันธมิตร อิตาลีก็ได้ประโยชน์ ตัวเองก็เป็นผู้นำได้ต่อไป
ยอมเสียน้อย เพื่อรักษามาก – เช่นเหตุการณ์ Dunkirk ที่เชอชิลล่อเยอรมันให้ไปอีกทาง เพื่อรักษากำลังทหารจำนวนหลักเอาไว้ได้
กลยุทธ์แห่งหายนะ – ยอมจ่ายทุกราคา เปิดหน้าแลกกัน ไม่สนว่าจะสูญเสียเท่าไหร่ ใครทนได้นานกว่าชนะ เช่นในตอนที่เยอรมันบุกโซเวียต ก็ยอมเสียทหารโซเวียต ตายไปเป็นล้าน เพื่อถ่วงเวลาจนเข้าหน้าหนาว ให้ทหารเยอรมันพ่ายแพ้ไป
ขณะนั้น ไทยก็มีวิกฤติ ก็คืออยู่ในสงครามแห่งอุดมการณ์ทางความคิด : สมบูรณาญาสิทธิราชย์, ประชาธิปไตย, คอมมิวนิส หรือ เผด็จการทหาร แถมยังอยู่ท่ามกลางสงคราม จากการมาเยือนของญี่ปุ่น
ในด้านสถานการณ์สงคราม เวลานั้นจะตัดสินใจอย่างไร จะสู้ หนี หรือยอมแพ้ มองย้อนไปย่อมเป็นอันชัดแจ้งว่า อย่างหลังนั้นมีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด แต่ ณ จุดที่มีการตัดสินใจ ณ ขณะนั้น คงมองกันไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร
1
ปรีดี ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมกับญี่ปุ่น ก่อตั้งกลุ่มเสรีไทย ติดต่อสื่อสารกับฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นผู้ที่แจ้งไม่ให้เครื่องบินทิ้งระเบิดใส่สถานที่สำคัญของไทย เช่นวังต่างๆ (ขณะนั้น สมเด็จย่ากับครอบครัวอยู่ที่สวิสเซอแลนด์ ซึ่งปลอดภัยดีจากสงคราม) และเสรีไทย ก็เป็นช่วงที่คณะราษฎรและฝ่ายเจ้ากลับมาปรองดองได้ชั่วคราว ดั่งเช่นเจียงไคเช็คและเหมา ที่พักรบชั่วคราวเพื่อต้านกับญี่ปุ่น
นี่จึงเป็นการตัดสินใจ เป็น Choice ที่สำคัญของปรีดี พลิกประเทศเล็กๆที่ไม่มีทางเลือกมากนัก ให้กลับมาชนะในระยะยาวได้ ทำให้ปรีดีถูกแต่งตั้งโดยในหลวงอานันทมหิดล เป็นรัฐบุรุษคนแรกแห่งประเทศไทย
3.Decision
กล่าวถึงความลำบาก ความยาก ภาระที่ต้องแบกไว้ ราคาที่ต้องจ่าย ของผู้ที่จะ “ตัดสินใจ”
1
ตัวอย่างของบทนี้คือ นายพล Eisenhower ที่ต้องตัดสินใจในสำคัญที่สุดในชีวิต คือ ตัดสินว่า จะเลื่อนวันD-day ไปอีก 24 ชม. เพื่อรอให้สภาพอากาศเหมาะสมในการยกทัพสู่หาดนอมังดีหรือไม่ มันเป็นการตัดสินใจที่ห้ามพลาด เพราะมันหมายถึงการแพ้หรือชนะสงครามในทันที
4.Omen
ดาวหางฮัลเล่ย์ถือเป็นสื่งที่มากับลางร้าย เป็นดาวหางที่มาพร้อมกับการสวรรคตของ ร.5 ทำให้ผู้ที่ต้องมาแบกรับภาระต่อคือร.6
ร. 6 ต้องพบกับความลำบาก เหมือนประธานบริษัทคนใหม่ที่ไม่สันทัดงานจัดการบริหารนัก ต้องมารับช่วงต่อบิดาอดีตประธานอย่างฉุกละหุก แถมงบการเงินบริษัทก็อยู่ในช่วงขาลง
จนมาถึงร.7 ที่สถานการณ์ต่างๆไม่ค่อยจะสู้ดีขึ้น ประเทศไทยปี 2475 จึงเป็นประเทศที่กำลังถูกรุมเร้าจาก perfect storm
ท่ามกลางพายุนี้เอง ที่คณะราษฎรนั้นก็ต้องตัดสินใจ ว่าจะลงมือวันใด ด้วยวิธีไหน และจะจัดการหลังจากนั้นอย่างไร ไม่มีใครจะรู้ได้ – และเมื่อตัดสินใจลงมือแล้ว อีกฝ่ายที่ต้องตัดสินใจก็คือ ร.7 ที่คณะราษฎรยื่นคำขาด เพื่ออัญเชิญกลับกรุงเทพ ต้องให้คำตอบในหนึ่งชั่วโมง ถ้าไม่ตอบกลับหรือตอบปฏิเสธมา ก็จะเลือกเจ้านายพระองค์อื่นขึ้นเป็นกษัตริย์แทน
1
จึงเป็นอีกทางแยก ว่าพระองค์ร.7 นั้น จะหนี โอนอ่อน หรือ รบนองเลือด ซึ่ง ณ ขณะนั้นเองแต่ละตัวเลือกย่อมเป็นไปได้ พระองค์จะเลือกอะไรก็ได้ แต่พระองค์ก็เลือกทางสายสอง และกลับไปเผชิญหน้ากับคณะผู้ก่อการ
1
5. Foresee
เหตุการณ์ 2475 นั้น เป็นที่แปลกใจว่าทำไมจึงไม่มีใครระแคะระคายมาก่อน ทั้งๆที่คณะนั้นมีกรณีศึกษามากมายจากต่างประเทศ และก่อนหน้าก็มีกบฏ รศ 130 เป็นตัวอย่างมาแล้ว – อะไรบังตาผู้มีอำนาจ
1
จึงทำให้เมื่อความเปลี่ยนแปลงมาเยือน ก็ปรับตัวไม่ทันแล้ว เสมือนบริษัทใหญ่และอยู่มานาน ที่ถูก Disrupt จากผู้เล่นหน้าใหม่ๆ? อะไรทำให้ผู้มีอำนาจมืดบอด ต่อสายลมการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย?
ภัยคุกคามจากคณะราษฎรนั้น ก็คือ disruption จากตลาดล่าง ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ เพราะที่ผ่านมาการชิงอำนาจนั้นเกิดในตลาดบน คนมีอำนาจ ที่ผ่านมาการพยากรณ์ต่างๆนั้น ก็ล้วนแค่มองในแง่การชิอำนาจกันเองของเหล่าเจ้านายและคนชนชั้นสูง มีการแก้เคล็ดแบบ Flexible เช่น การมีกษัตริย์สองพระองค์ในสมัย ร.4
6. Reality
เค้ารางการเปลี่ยนแปลงช่วงร.7นั้น มันเริ่มตั้งแต่ การล่มสลายของตลาดทุนในอเมริกา ทำมาสู่ The Great Depression และสั่นสะเทือนมาที่สยาม ราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาขาดเงินสด รัฐบาลขาดรายได้จากภาษี คนมีหนี้สินมากมาย รัฐเก็บภาษีเพิ่ม คนชั้นกลางและล่างทนทุก แต่คนชั้นบนยังอยู่สบาย
ร.7 เองน่าจะได้ทอดพระเนตรเห็นความจริงนี้ เพราะได้เสด็จประพาสต่างประเทศมามากมาย มีตัวอย่างเกิดแล้วจริงๆแล้วในหลายๆประเทศ มันจึงเป็นปัจจัยที่เด่นชัด ที่ภาวะเศรษฐกิจอันซบเซา และทุกข์ของคนชนชั้นกลางและล่างนั้น จะมา disrupt สมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเปลี่ยนแปลงนั้น มันจึงไม่ใช่การชิงสุกก่อนห่าม เพราะปัจจัยต่างๆมันห่ามเต็มที่แล้ว ทางออกของบริษัทจึงมีแต่ต้อง disrupt ตัวเองก่อนเท่านั้น ก่อนจะถูกคนอื่นมา disrupt แล้วหายไปอย่างไร้ปราณี
1
แต่ชนชั้นนำสยามยามนั้นคิดน้อย คิดช้าทำช้า เพราะไม่เข้าใจความจริงใหม่ๆ (new reality) ไม่เข้าใจ new paradigm ไม่ปรับตัว จนเมื่อความจริงปรากฎ ก็สายไปแล้ว
7. Strategy
Mike Tyson ชนะน็อคมานับไม่ถ้วน ด้วยการต่อยปลายคางคู่แข่ง แต่เมื่อถูกคู่ชกต่อยเสยปลายคางซะเองก็ไปไม่เป็น แพ้แบบทุลักทุเล เข้าทำนอง หมองูตายเพราะงู
ในไทยนั้น คณะราษฎรกับคณะเจ้าก็สู้กันมายาวนาน 15 ปี แต่เมื่อ ปรีดี – หมอผู้ทำคลอดประชาธิปไตย หมอความผู้ยิ่งใหญ่ – ต้องเผชิญกับคดีใหญ่ ที่หมอความเองก็ไปไม่เป็น อยู่ในชะตากรรมที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก อยู่ในสภาพมึนงง ไปไม่เป็น ตัวปรีดีเองก็เคยยอมรับ ว่าวิธีที่เขาเลือกจัดการกับคดีสวรรคตของร.8 นั้น เข้าทำนองหมองูตายเพราะงู
ปรีดีตกอยู่ในสถานการที่ยากลำบาก เพราะยากที่จะพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ดังเช่นศพทั่วๆไป มันจึงเป็นสิ่งใหม่ นักกฎหมายเผชิญกับการที่ไม่อาจทำได้ตามขั้นตอนกฎหมาย ปรีดีที่ถูกกล่าวหาจากขั้วตรงข้ามว่าล้มเจ้าไปแล้วนั้น จะรักษาสถาบันกษัติร์ ให้สืบสันตติวงซ์ ต่อไปได้อย่างไร
1
ขณะนั้นมีปัญหาสำคัญสองปัญหา หนึ่งคือคดีสวรรคต สองคือการสรรหาผู้ครองราชตามกฎหมาย ซึ่งถ้าปรีดีไม่ซื่อสัตย์ต่อราชวงศ์ และไม่อยากดำรงสถาบันกษัตริย์ไว้ มันคือช่วงที่ประจวบเหมาะอย่างยิ่ง
1
แต่ปรีดีไม่ทำ และในเวลาต่อมา “ปรีดีฆ่าในหลวง” ก็เป็น Fake news ในตำนาน แห่งสยามประเทศ
1
ประกอบกับที่ปรีดีไม่สามารถตอบคำถามเรื่องสวรรคตได้แน่ชัด จึงเจอแรงกดดันทางการเมืองอย่างหนักและต้องลาออกไป
จนเมื่อมีคณะสอบสวนใหม่ คดีมีท่าทีคืบหน้า ก็เกิดการปฏิวัติ โดยสฤษ ธนะรัชต์ เกิดคณะสอบสวนกรณีสวรรคตใหม่ จนไปสู่การจับกุมเฉลียว ชิต บุศย์ ที่ถูกตัดสินประหารชีวิตไปอย่างพิสดาร เป็นปรากฏการที่ Royalist อย่างหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เลือกจะคลุมม่านบังมันไว้ ทั้งที่ท่านน่าจะรู้ดีที่สุด
แต่ผลแห่งการตัดสินใจของปรีดีนี้ ก็นำไปสู่การสร้างรัชสมัยแห่งสถาบันกษัตริย์ไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุด – ปรีดีเลือกทางออกที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ชาติเดินหน้าต่อไปได้ แม้มีราคาที่จ่ายคือตนไม่สามารถกลับมาในไทยได้เลย
8.Wisdom
ทำไมผู้มีอำนาจ จึงยังใช้อำนาจอย่างดื้อดึง ไม่ฟังเสียงคน ทั้งๆที่มีบทเรียนมานับไม่ถ้วน ทั้งที่ประวัติศาสตร์มีบทเรียนมานับไม่ถ้วน คำตอบคือ อาจเพราะความเป็นมนุษย์ ที่ไม่ได้มีเหตุผลอะไร ทำตามใจและอารมณ์เป็นส่วนใหญ่
มหาวิกฤติใหญ่ที่มาถึงแล้วนี้ ก็จะเป็นอีกหนึ่งบท ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ต่อไป
โฆษณา