6 ธ.ค. 2020 เวลา 00:58 • ธุรกิจ
เหมือนญี่ปุ่น? กูรูเตือน! ดาวโจนส์จะพังก่อนเมษา ประชากรศาสตร์ชี้ฟองสบู่ใกล้
แตก
สถานการณ์การระบาดของโควิด19 ทั่วโลกกลับมาน่าเป็นห่วงอีกครั้ง โดยเฉพาะ
สหรัฐที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากวันละ 1 แสนรายกลายเป็นวันละ 1.5 – 2 แสนราย นอกจากนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตก็ขึ้นไปแตะถึง 3 พันรายต่อวัน
หรือในประเทศไทยเองที่สถานการณ์ก็กลับมาน่าเป็นห่วงเช่นกัน หลังเริ่มพบผู้ติด
เชื้อในประเทศ ทำให้ผมรู้สึกกังวลว่าจะควบคุมได้หรือไม่? และจะถึงขั้นต้องปิดเมืองอีกครั้งไหม?
1
อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่กระทบตลาดหุ้นเท่าไหร่ เพราะ
ตั้งแต่มีข่าววัคซีนออกมานั้นทั้งหุ้นไทยและหุ้นนอกก็ยังคงเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ที่กลับมาทำ All Time High ได้อีกครั้งและทะลุ 30,000
จุดไปเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์หลายคนได้ให้เหตุผลกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เนื่อง
จากตลาดหุ้นนั้นเป็นตัวชี้วัดอนาคต ทำให้แม้สถานการณ์ตอนนี้จะยังไม่ดีขึ้น แต่ข่าววัคซีนและผลการเลือกตั้งสหรัฐที่มีความชัดเจนขึ้นนั้น ทำให้ผู้คนมีความเชื่อมั่นว่า
ช่วงเวลาอันเลวร้ายกำลังจะผ่านไปและทุกอย่างกำลังจะดีขึ้น
1
แต่ไม่ใช่สำหรับ Harry Dent นักการเงินชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์ที่ออกมาทำนายอย่างมั่นใจว่า “ตลาดหุ้นสหรัฐกำลังจะทำจุดสูงสุดตลอดกาลภาย
ในเดือนมกราคมปีหน้า แล้วเมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ตลาดหุ้นก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นขา
ลงอย่างรุนแรง โดยดาวโจนส์จะลดไปกว่า 40% (ประมาณ 12,000 จุด) ภายใน
เดือนเมษายนและต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษกว่าดัชนีจะกลับมาอยู่ที่จุดปัจจุบัน
ได้”
4
Harry ให้เหตุผลว่านักเศรษฐศาสตร์มากมายไม่สนใจวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้าง
ประชากร พวกเขาเชื่อว่าทฤษฎี MMT (การพิมพ์เงิน) นั้นจะช่วยให้ทุกอย่างกลับมาดีขึ้นได้ แต่หากคุณย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์คุณจะก็จะรู้ได้ว่าสิ่งที่ขับเคลื่อน
เศรษฐกิจนั้นคือ “การหมุนของเงิน” ไม่ใช่ “ปริมาณเงิน”
การหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจนั้นลดลงเรื่อย ๆ มาตั้งแต่ปี 1998 แล้ว
ซึ่ง Harry มองว่ามันเหมือนเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วง 1918 – 1932
ที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่สุดท้ายก็จบลงด้วยการตกต่ำของเศรษฐกิจครั้ง
ใหญ่หรือที่เรียกว่า The Great Depression
1
โดยสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้การบริโภคลดลงนั้นคือการเกิดของประชากรที่ลดลงมายาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งถ้าคุณไปดูแผนภูมิประชากรของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งใน
ยุโรป อเมริกา และเอเชียในปัจจุบันก็จะพบว่ามันคล้ายกับแผนภูมิประชากรของ
ญี่ปุ่นในปี 1989
เกิดอะไรขึ้นที่ญี่ปุ่นในปี 1989? ตอนนั้นตลาดหุ้นญี่ปุ่นทำ All Time High ที่เกือบ
39,000 จุด แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ฟองสบู่แตกทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาฯ
แม้หลังจากนั้นรัฐบาลจะพยายามใช้การพิมพ์เงินในการแก้ปัญหา แต่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เข้าสู่สภาวะซบเซามายาวนานกว่า 30 ปีและดัชนี Nikkei ก็ยังไม่สามารถ
กลับไปทำ All Time High ได้อีกครั้ง
1
Harry บอกว่าเมื่ออายุเฉลี่ยของประชากรมากกว่า 46 ปีนั้น ให้คุณลองนึกภาพดูว่าตอนที่คุณอายุมากขึ้นคุณก็จะบริโภคน้อยลงและคนส่วนใหญ่ที่อายุมากกว่า 46 ปี
นั้นก็มักจะซื้อบ้านแล้ว ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้นี่แหละที่ผลักดันให้ราคาอสังหาฯ เป็นขา
ขึ้นมาตลอด แต่หลังจากนี้ล่ะ? คนหนุ่มสาวในยุคนี้ที่มีปริมาณน้อยลงกว่าอดีตยัง
ต้องเจอกับราคาบ้านที่แพงเกินจะซื้อไหวแล้วราคาอสังหาฯ มันจะขึ้นต่อได้อย่างไร?
ตลาดหุ้นก็เช่นกัน การบริโภคลดลงนั้นจะผลักดันให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อผลผลิตไม่เพิ่มแล้วบริษัทจะโตได้อย่างไร
2
โควิด19 ไม่ใช่สาเหตุของหายนะหรอกเพราะปัจจัยทุกอย่างมันเกิดขึ้นมานานแล้ว
แต่การระบาดนั้นทำให้คุณรู้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในสภาวะอ่อนแอมากเพียงใด
ไม่ต้องถามว่าตลาดหุ้นจะลงจากเหตุการณ์ไหน? มีข่าวร้ายมากมายเต็มไปหมด
แต่ตอนนี้ตลาดเลือกที่จะรับเฉพาะข่าวดี
แต่คุณต้องระวังให้ดี เพราะเวลาที่ฟองสบู่แตกมาถึง ทุกคนจะเกิดอาการกลัวและ
ขายหุ้นอย่างรวดเร็ว ตลาดหุ้นนั้นลงได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง ต่างจากการล้ม
ละลายของบรรดาบริษัทซอมบี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นตามมาที่จะเป็นไปอย่างช้า ๆ และยาว
นานไปอีกหลายปี
แล้วเพื่อน ๆ คิดอย่างไรกับตลาดหุ้นในตอนนี้บ้างครับ? คุณเชื่อหรือไม่ว่าเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับญี่ปุ่นเมื่อ 30 ปีที่แล้วจะเกิดขึ้นอีกครั้งกับตลาดหุ้นทั่วโลก? โครง
สร้างประชากรคือเบื้องหลังของทุกอย่างจริง ๆ หรือไม่? มีปัจจัยอื่นที่ทำให้ตอนนี้
แตกต่างจากตอนนั้นหรือเปล่า? มาแชร์กันครับ
.
แอดปุง
1
โฆษณา