17 ธ.ค. 2020 เวลา 07:00 • การเมือง
เพียงข้อเดียวจบปัญหาลงทะเบียน 'คนละครึ่ง'
1
The Serious - Ending the Registration Chaos
ก่อนสิ่งอื่นใดเราคงต้องขอออกตัวอย่างชัดเจนก่อนว่า 'เราไม่ได้สนับสนุน' นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ 'ทำแล้วจบ' เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในเวลาสั้น ๆ และไม่ได้มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอื่นมากนัก
1
แต่ถ้าความจำเป็นคือสิ่งที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจจะทำแล้ว 'การออกแบบนโยบายเศรษฐกิจ' ก็ต้องคิดเรื่องประสบการณ์ของผู้ใช้งานนโยบายให้มาก (User Experience) ซึ่งไม่แตกต่างจากการออกแบบ 'บริการต่าง ๆ' ของธุรกิจเอกชนแม้แต่น้อย
แม้ว่า 'สื่อบางฉบับ' จะลงพาดหัวข่าวตัวเบอเร่อเมื่อไม่นานมานี้ว่า ‘คนละครึ่ง’ คือความสำเร็จของนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกออกแบบโดย 'นักธุรกิจชื่อดัง' ในคราบนักการเมือง จนต้องมีคนออกมาปัดข่าวว่า 'ทั้งหมดนี้คือความคิด นายกฯ ประยุทธ์' เป็นหลัก แต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะเกิดอาการ มองตาปริบ ๆ
จนถึงตอนนี้ก็คงทำได้แค่ร้องเพลง 'ไม่เป็นไร บอกเลยไม่เป็นไร' ของนูโวไปพลาง ก่อน
1
กลับมาที่ข้อเสียของโครงการคนละครึ่งที่ใหญ่หลวงนัก ซึ่งเราได้ 'วิพากษ์' ไปเมื่อหลายเดือนก่อนแล้วคือ 'การออกแบบระบบรวมศูนย์' (Centralized System) นั่นหมายความว่า การประมวลผลทุกอย่าง จะอยู่เพียงที่ใครคนใดคนนึง
มิหนำซ้ำ เนื่องจากเป็นนโยบายที่ต้องใช้ 'งบประมาณ' มันจึงเป็นที่มาถึงข้อจำกัดเพื่อตีกรอบเงินที่จะใช้ เช่น รับลงทะเบียนได้ไม่เกิน 10 ล้านคน ใช้งานได้คนละไม่เกิน 3,000 บาท เพื่อให้จบโครงการแล้วใช้เงินไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท ตามที่ได้ของบไว้ในเฟส 1
ถึงตรงนี้บางอ้อกันรึไม่ ว่าแม้นโยบายจะอยู่ในคราบเทคโนโลยี 4.0 แต่พื้นฐานของแนวคิดนโยบายยังมีกรอบความคิดของราชการบดบังอยู่เนือง ๆ
แล้ววิธีแก้ล่ะ ? เราอาจจะพูดสั้น ๆ แบบที่มีคนดังหลายคนพูดกันไปแล้วก่อนว่า สามารถทำได้โดยการ 'เปิดให้ลงทะเบียนแบบไม่จำกัดจำนวนคน' จนกว่าจะปิดโครงการ
แต่ ๆ ๆ ๆ เราไม่ได้มีเหตุผลว่า 'นี่เป็นภาษีประชาชนทุกคน ต้องให้ทุกคนมีสิทธิ์' นะ แต่เรามีหลักการทางเศรษฐกิจคือ
1. การเปิดให้ลงทะเบียนไม่จำกัดจำนวนคน จะช่วยให้กระจายเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้กว้างขึ้น ตามพื้นที่ของประชาชนที่เข้าร่วม
2. เม็ดเงินจะลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้เต็มที่และเร็วมากขึ้น เพราะบางคนอาจไม่ได้ใช้เงินทั้ง 3,500 บาทก็ได้ จึงเป็นวงเงินเหลือให้กับคนที่มาลงทะเบียนเพิ่มได้อีก
3. สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ จากเดิมที่ทุก ๆ คนจะได้วงเงิน 3,500 บาทไว้ใช้ จะเปลี่ยนเป็นวงเงินสูงสุด เช่นถ้ามีคนลงทะเบียนมาใช้เงินมากขึ้น วงเงินตลอดโครงการ/หัว อาจจะลดลงได้ เพื่อควบคุม 'เงินงบประมาณแผ่นดินที่จะใช้' ตลอดโครงการ
1
เช่น จากเดิมมีงบ 3 หมื่นล้านบาท รับลงทะเบียน 10 ล้านคน คนละ 3,000 บาท แต่ดันมีคนมาลงทะเบียนถึง 20 ล้านคน หมายความว่าอาจจะเหลือวงเงินคนละน้อยกว่า 3,000 บาท แล้วแต่การใช้งาน (ใช้ก่อนได้ก่อน)
1
4. ในแอปเป๋าตัง ก็อาจเพิ่มเพียง 'งบประมาณคงเหลือทั้งหมด' ให้ประชาชนตรวจสอบได้ และในวันท้าย ๆ หากเม็ดเงินหมดก่อนที่เรา ๆ ทั้งหลายจะใช้ครบ 3,500 บาท จะได้ทราบได้ว่า 'ไม่ได้คนละครึ่งแล้วนะ'
เพียงเท่านี้ 'คนละครึ่ง' ก็จะยังตอบโจทย์รัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนเดิม ประชาชนได้ใช้คนละครึ่งมากที่สุด ต่างกันเพียง วงเงิน/หัว อาจไม่ได้คงที่เท่าเดิมขึ้นอยู่กับว่า คนจะมาใช้มากแค่ไหน
แต่ก็นั่นแหละ หากรัฐบาลมีเป้าหมายกระตุ้นเศรษฐกิจ ในพื้นที่วงกว้างอยู่แล้ว การจะลดวงเงิน/หัว ลงสักหน่อย แต่ได้ประสิทธิภาพทั้งในแง่จำนวนคน และอาจจะเรื่องความเร็วในการเบิกจ่าย ด้วยแล้ว ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะมีข้อเสียหายอะไร
แล้วท่านคิดอย่างไร ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยความสุภาพ
#ข้อเสนอคนละครึ่ง #หลักการใหม่คนละครึ่ง
#หยุดใช้อารมณ์ร่วม #ค่อยๆคิด
โฆษณา