20 ธ.ค. 2020 เวลา 04:26 • สุขภาพ
" นิ้วล็อค " ฟางเชื่อว่ามีหลายๆคนเคยเป็นแน่ๆ เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวล้ำของโทรศัพท์มือถือ เดินไปทางไหนก็พบเห็นแต่คนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนแบบที่ต้องสัมผัสหน้าจอ โดยใช้นิ้วเลื่อนไปเลื่อนมา บางคนใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างบ้าคลั่ง ใช้ทั้งวันแทบจะไม่วางลงเลย ใช้จนเกิดอาการ “ นิ้วล็อค ”
trigger finger
และในปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนที่ทำงานใน Office มีอาการนิ้วล็อคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของโรค ออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากว่าคนกลุ่มนี้ต้องใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เลยทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้นั่นเองค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
นิ้วล็อค (Trigger Finger)
trigger finger
คือ อาการที่นิ้วเกิดล็อคเมื่องอนิ้ว แล้วไม่สามารถกลับมาเหยียดตรงได้ง่าย เกิดจากการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วก็จะเกิดอาการล็อค ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
🌼🌼 อาการของนิ้วล็อค 🌼🌼
นิ้วล็อค
นิ้วล็อคมักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง ทั้งนี้ อาการนิ้วล็อคอาจเกิดขึ้นกับนิ้วหลายนิ้วได้ในเวลาเดียวกัน หรืออาจเกิดขึ้นได้กับนิ้วมือทั้ง 2 ข้างด้วย โดยอาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อนิ้วใดนิ้วหนึ่งพยายามงอในขณะที่มือต้องออกแรงทำบางอย่าง เมื่อนิ้วล็อค อาจจะเกิดอาการดังนี้ค่ะ
🌵 รู้สึกดังกึกเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว
🌵 เกิดอาการนิ้วแข็ง ซึ่งมักเกิดขึ้นตอนเช้า
🌵 รู้สึกตึงและรู้สึกเหมือนมีบางอย่างนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อค
🌵 นิ้วล็อคเมื่องอนิ้ว ซึ่งเกิดขึ้นทันทีที่ยืดนิ้วกะทันหัน
🌵 นิ้วล็อคเมื่องอนิ้วโดยไม่สามารถยืดนิ้วกลับมาได้
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
🌼🌼 สาเหตุของนิ้วล็อค 🌼🌼
เอ็นคือพังผืดที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกไว้ด้วยกัน ซึ่งเอ็นและกล้ามเนื้อที่มือและแขนจะช่วยให้นิ้วมืองอและยืดได้ โดยเอ็นแต่ละส่วนถูกล้อมรอบไว้ด้วยปลอกหุ้มเอ็น อาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วอักเสบหนาตัวขึ้น ซึ่งทำให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วไม่สามารถยืดหรืองอได้ตามปกติค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
🌼🌼 ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อค 🌼🌼
🌵 อาชีพแม่บ้านผู้ที่ใช้งานมืออย่างหนัก ในการหิ้วของหนัก ซักผ้า หรือการทำงานบ้านอื่นๆ ทำให้นิ้วมือต้องเกร็งอย่างหนักก็สามารถทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ค่ะ
🌵 ผู้ชายที่ทำอาชีพที่ต้องใช้กำลังจากนิ้วมือ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสาว พนักงานโรงงาน ช่างซ่อมที่ต้องใช้ไขควง ช่าง นักกีฬากอล์ฟ  นักกีฬายูโด กลุ่มนี้ก็มีความเสี่ยงได้เช่นกันค่ะ
🌵 ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณเนื้อเยื้อที่มือ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ้วล็อคได้เช่นกันค่ะ
🌵 และยังมีอีกหลายๆอาชีพที่ใช้นิ้วมือมากๆ เช่น  ช่างไฟฟ้า ช่างโทรศัพท์ ช่างก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างปูน ช่างตัดเสื้อผ้า ช่างทำผม  ช่างเจียระไนพลอย คนส่งน้ำขวด คนส่งแก๊ส เสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อกได้ค่ะ แนะนำว่าควรใช้เครื่องทุ่นแรงแทนการหิ้วหรือยก ใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับเวลาใช้อุปกรณ์ช่าง ไม่กำหรือบีบเครื่องมือนานๆ จะป้องกันโรคนิ้วล็อกได้อีกทางค่ะ
ถึงแม้ว่าโรคนี้จะมีกลุ่มเสี่ยงชัดเจน แต่ผู้ป่วยที่พบมากจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีอายุประมาณ 40-60 ปีค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
🌼 4 ระยะของอาการ “ โรคนิ้วล็อค ”
คนส่วนใหญ่มักมีอาการที่นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง สาเหตุมาจากผังผืดยืดหุ้มบริเวณข้อนิ้ว เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการปวดมาก นิ้วมือไม่สามารถงอได้ ทำให้หยิบจับอะไรไม่ถนัด และจะมีอาการปวดตลอดเวลา โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ค่ะ
🌼 ระยะที่ 1 มีอาการปวด โดยเริ่มปวดบริเวณโคนนิ้วและมีปวดมากขึ้นเรื่อยๆ เมือลองกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่จะยังไม่มีอาการสะดุด
 
🌼 ระยะที่ 2 มีอาการสะดุด เมื่อขยับนิ้ว งอ หรือเหยียดตรง จะมีอาการสะดุดจนรู้สึกได้ รวมไปถึงอาการปวดที่เพิ่มมากขึ้น
 
🌼 ระยะที่ 3 มีอาการล็อค นิ้วมือล็อคไม่สามารถเหยียดออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างแกะออก
 
🌼 ระยะที่ 4 มีอาการบวมอักเสบ นิ้วมือบวมอยู่ในท่างอที่ไม่สามารถเหยียดตรงได้ และมีอาการปวดมากเมื่อพยายามใช้มืออีกข้างช่วยในการเหยียดตรง    
 
เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา อย่าปล่อยให้นิ้วมือของคุณมีอาการถึงระยะที่ 4 นะคะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
🌼🌼 “ โรคนิ้วล็อค ” รักษาได้ 🌼🌼
นิ้วล็อค
ผู้ป่วย “โรคนิ้วล็อค” บางรายอาจสามารถมีอาการที่ดึขึ้นได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษา แต่หากปล่อยให้อาการรุนแรง จะได้รับการรักษาจากแพทย์หลากหลายวิธีด้วยกันค่ะ เช่น
1. รักษาด้วยการบำบัด
🌵 พักผ่อน พักมือจากการออกแรง หรือแบกน้ำหนักมาก ซ้ำกันเป็นเวลานาน โดยเว้นกิจกรรมดังกล่าวอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ค่ะ
🌵 ประคบร้อนหรือเย็น การได้แช่น้ำอุ่นในช่วงเช้าจะช่วยบรรเทาอาการได้ หรือประคบเย็นที่ฝ่ามือก็ช่วยได้เช่นกันค่ะ ลองดูนะคะ
🌵 อุปกรณ์ดามนิ้ว อุปกรณ์จะช่วยพยุงนิ้วให้ตรง ไม่งอหรือเหยียดจนเกินไป และช่วยให้นิ้วได้พักอีกด้วยค่ะ
🌵 ยืดเส้น การออกกำลังกายเบาๆ อาจช่วยให้นิ้วเคลื่อนไหวได้ปกติขึ้นค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
2. รักษาด้วยยา  ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวด แต่ยาชนิดนี้ไม่สามารถบรรเทาอาการบวมได้ค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
3. กระบวนการทางการแพทย์อื่นๆ เมื่อการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล อาจจะต้องรับการรักษาดังนี้
🌵 ฉีดสเตียรอยด์ โดยฉีดเข้าเส้นเอ็นบริเวณนิ้ว
🌵 ใช้วิธีผ่าตัด โดยกรีดโพรงเอ็นที่หุ้มอยู่ให้เปิดออก ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันอาการก็ดีขึ้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดพังผืดและกลับมาเป็นอีกได้ค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
🌼🌼 วิธีลดความเสี่ยงการเป็นโรคนิ้วล็อค 🌼🌼
1. หลีกเลี่ยงการหิ้ว หรือยกของหนัก เพื่อถนอมนิ้วมือค่ะ
 
2. พักมือ เมื่อใช้งานโทรศัพท์หน้าจอสัมผัสเป็นเวลานาน ควรพักเป็นระยะ เช่นใช้งาน 45 นาที และพัก 10 นาทีค่ะ
 
3. ควรใช้เครื่องทุนแรง หากจำเป็นต้องทำงานที่ใช้มือ กำ หยิบ  บีบ หรือ ยกค่ะ
4. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เพราะทำให้มือเมื่อยล้า หรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อบ้างค่ะ
5. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นค่ะ
6. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ควรแช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำแบในน้ำเบาๆ ( ไม่ควรกำมือแน่นจนเกินไป ) จะทำให้ข้อฝืดลดลงได้ค่ะ
7. หลีกเลี่ยงการซักผ้าด้วยมือ หรือบิดผ้าให้แห้งมากๆ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือมากๆ เพื่อให้กำแน่นๆ
🌷🌷 หมายเหตุ 🌷🌷 ควรพักการใช้งานในส่วนที่เกิดอาการนิ้วล็อคค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
🌼 ท่าออกกำลังกาย 3 Step ป้องกันโรคนิ้วล็อค 🌼
1. กล้ามเนื้อบริเวณแขน มือ นิ้วมือ โดยยกแขนระดับไหล่ ใช้มือข้างหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น - ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย แล้วทำใหม่ 5-10 เซต/ครั้ง
2. บริหารการกำ - แบมือ โดยฝึก กำ-แบมือ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อนิ้ว และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ โดยทำ 6-10 เซต/ครั้ง ( แต่กรณีนิ้วล็อคไปแล้วงดทำท่า 2.2 นะคะ )
3. หากเริ่มมีอาการปวดตึงแนะนำให้นำมือแช่น้ำอุ่นไว้ 15-20 นาทีทุกวัน ( วันละ 2 รอบ เช้า - เย็น ) หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์และทำการรักษาทางกายภาพต่อไปค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
นอกจากกลุ่มคนทำงานที่ออฟฟิศจะเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อคแล้ว บุคคลอื่นๆ ก็มีโอกาสประสบกับปัญหานี้ได้เช่นกัน เพราะการเล่นโทรศัพท์ หรือเล่นเกมเป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของอาการนิ้วล็อคได้ !
หากคุณพบอาการผิดปกติ ฟางแนะนำให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นหนักถึงขั้นรักษายากนะคะ !
ด้วยความปรารถนาดีจาก Admin เพจ เรื่องดีดี
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
อ้างอิง
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา