19 ธ.ค. 2020 เวลา 02:45 • ประวัติศาสตร์
“.. ปัตตานีเมือง ๓ วัฒนธรรม ..”
... ปัตตานีเมืองงามปลายด้ามขวาน งามนี้มิได้งามแค่เพียงภูมิทัศน์งาม หรือเสื้อผ้าแฟชั่นอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวปัตตานีที่งามเท่านั้น แต่วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ และเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นและดับลง รุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ สวยงามและมีคุณค่า ที่ล้วนเกิดขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้ ชาวพุทธ มุสลิม จีน คริสต์ ความเชื่อ ความแตกต่าง ที่เติบโตและอยู่คู่แผ่นดินแห่งนี้มานานแสนนาน หล่อหลอมให้เป็น “สังคมพหุวัฒนธรรมที่สวยงามและเป็นปึกแผ่น” ...
... ภายใต้ร่มพระบารมีของ บูรพมหากษัตริย์ไทย
“พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” ...
... “ปตานีดารุสซาลาม” อาณาจักรที่พัฒนามาจากชุมชนเล็กๆริมฝั่งทะเล สู่อาณาจักรที่สนิทและมีความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรอยุธยา มีสุลต่านและรายา เจ้าผู้ครอง ...
... ด้วยความที่ “ปตานี” เป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ จึงมีพ่อค้า และชาวต่างชาติมากมายเข้ามายังดินแดนแห่งนี้ เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ศาสนา และตัวอักษร จึงทำให้ดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนที่มีความเชื่อและพหุศาสนาพหุวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน ...
... “มัสยิดกรือเซะ” หรือ “มัสยิดสุลต่านมูซัฟฟาร์ชาห์” มัสยิดเก่าแก่กว่า ๒๐๐ ปี ที่สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา ซุ้มประตูมีลักษณะเป็นวงโค้งแหลมแบบกอทิก และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง มัสยิดแห่งนี้ ถือเป็นตำนานและมหากาพย์ตำนานอันเลื่องชื่อ และ ยาวนาน คู่กับตำนานศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อันยิ่งเป็นเหตุการณ์ที่ย้ำให้เห็นว่านอกจาก พ่อค้าตะวันตกที่เข้ามาสู่ดินแดนแห่งนี้แล้ว ยังมีชาวจีน เข้ามาในดินแดนแห่งนี้ด้วยเช่นกัน ...
... ตำนานมีอยู่ว่ามีชาวจีนชื่อ “ลิ้มเต้าเคียน” มาอยู่เมืองปัตตานี และเข้ารีตรับนับถือศาสนาอิสลาม แล้วไม่ยอมกลับเมืองจีน “หลิมกอเหนี่ยว” น้องสาวเดินทางมาตามพี่ชายให้กลับเมืองจีนเพื่อดูแลมารดาที่ ชราตามประเพณีของชาวจีน แต่ลิ้มเต้าเคียมไม่ยอมกลับ เพราะได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองปัตตานีให้เป็น ผู้ควบคุมก่อสร้าง “มัสยิดกรือเซะ” อยู่ และยังสร้างไม่เสร็จจะขออยู่เมืองปัตตานีต่อไปจนกว่าจะสร้างเสร็จ หลิมกอเหนี่ยวมีความน้อยใจจึงทำอัตวินิบาตกรรมประท้วงพี่ชาย ...
... แต่ก่อนที่นางจะผูกคอตาย นางได้อธิษฐานว่า “แม้นพี่ชายจะช่างที่เก่งเพียงใดก็ขอ ให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ” ...
... ด้วยแรงแห่งคำสาปแช่งของนาง ปรากฏว่า ลิ้มเต้าเคียมสร้างไม่สำเร็จ ได้ทำการสร้างหลังคาและโดมถึงสามครั้ง เมื่อสร้างจวนเสร็จก็เกิดอัสนีบาตฟาดโดมและหลังคาพังทลายลงมาทุกครั้ง ทำให้ลิ้มเต้าเคียมเกิดความหวาดกลัว จึงได้ทิ้งงานก่อสร้างให้ค้างอยู่จนบัดนี้ ...
... ในปัจจุบัน บริเวณสุสานของลิ้มกอเหนี่ยว ก็ได้เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวหรือ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ปัตตานีมาตั้งแต่โบราณ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมือง ปัตตานี เดิมศาลเจ้านี้มีชื่อเรียกว่า “ศาลเจ้าซูก๋ง” ตามหลักฐานที่จารึกอยู่ในศาลเจ้า ตั้งขึ้นในปีปีพุทธศักราช ๒๑๑๗ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา ...
... แม้ศาลเจ้านี้จะตั้งมาเก่าแก่นับได้หลายศตวรรษ แต่ด้วยบุญญาภินิหารของเจ้าแม่หลิมกอเหนี่ยว ศาลเจ้านี้จึงมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นที่ศรัทธาของสาธุชนเสมอมามิได้ขาด ...
... ในปี ๒๔๙๗ ได้มีโครงการสร้างมัสยิดกลางประจำจังหวัดปัตตานีขึ้นในย่านตำบลอาเนาะรู เพื่อสร้างความสามัคคี สันติสุข ความร่วมมือ และศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจในจังหวัดปัตตานี ...
... มัสยิดแห่งนี้ออกแบบโดย “นายประสิทธิผล ม่วงเขียว” สถาปนิกกรมศาสนา รูปทรงภายนอกของมัสยิดมีต้นแบบมาจากทัชมาฮาล ใช้เวลา ๙ ปีในการก่อสร้าง “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๐๖ ให้ชื่อว่า “มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี” และมอบเป็นของขวัญแก่ประชาชนชาวมุสลิมในพื้นที่ ...
... หลังจากนั้นมีการบูรณะซ่อมแซมและต่อเติมเมื่อคราวใช้ต้อนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๖ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้บูรณะปรับปรุงอาคารของมัสยิด ...
... กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองศิริราชสมบัติเป็นปีที่ ๕๐ ใน พ.ศ. ๒๕๓๙ ส่งผลให้ตัวอาคารขยายและต่อเติมออกทั้ง ๒ ข้าง และยังสร้างหออะซานเพิ่มอีก ๒ หอ ในเวลาต่อมา ...
... นอกจากนี้ จังหวัดปัตตานี ยังมีงานและพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงให้ถึงความสวยงามและน่าดึงดูด เช่น “งานชักพระโคกโพธิ์” ที่มีขบวนเรือที่เรียกว่า “เรือพระ” ที่ตกแต่งประดับประดาวิจิตรสวยงาม “งานแห่พระอีก๋ง” หรือแห่เจ้าพ่อเล่าเอี่ยกง เป็นงานประเพณีของอำเภอสายบุรี ซึ่งจัดในวันแรม ๒ ค่ำ และ ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ณ บริเวณศาลเจ้าบางตะโละ ซึ่งตรงข้ามตำบลตะลุบัน หรือบริเวณศาลเจ้าแห่งใหม่ในเขตเทศบาลตำบลตะลุบัน โดยผลัดกันจัดงานสมโภชในแต่ละแห่งปีเว้นปี ...
... มีการจัดขบวนแห่รูปแกะสลักไม้เป็นรูปพระเจดีย์เจ้าพ่อเล่าเอี่ยกงและบริวาร “งานฮารีรายอ” งานพิธีเข้าสุหนัต เทศกาลกวนอาชูรอ ประเภณีลาซัง และอีกมายมาย เป็นต้น ...
“ตรีมอกาเซะ” ซายอ กาเซะ ทุกๆ ท่าน ... ( ขอบคุณ และ เรารักทุกท่านครับ )
ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
โฆษณา