22 ธ.ค. 2020 เวลา 13:44
ไทยจะเป็นเวเนฯ2หรอแม่ ว้าย ???
ตามรอยวิกฤตเงินเฟ้อเวเนซูเอล่าที่มีจุดกำเนิดมาจากความเริ่ด!!💃
6
จำนวนเงินที่เราจ่ายเงินซื้อสินค้าแต่ละครั้งไม่ได้แค่สะท้อนต้นทุนการผลิตสินค้านั้นๆเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงค่าเงินของเราต่อค่าเงินของประเทศที่เรานำเข้าสินค้านั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อแซลมอนที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ตามกลไกคือเราต้องเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์แล้วเอาดอลล่าร์ไปซื้อแซลมอน ถ้าช่วงนี้บาทแข็งเมื่อเทียบกับดอลล่าร์ เราจะซื้อแซลมอนได้ในราคาถูกลงนั่นเอง
16
ในช่วงก่อนปี 2000 เศรษฐกิจของเวเนซูเอล่าถือว่าพรุ่งปรี้ด เป็นที่น่าอิจฉาตาร้อนในหมู่ประเทศในแถบละตินอเมริกาด้วยกัน ด้วยความเริ่สที่เป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลกขณะนั้น เวเนฯสร้างกระแสรายได้เป็นUSดอลล่าร์ได้อย่างมั่นคง ทำให้GDPต่อหัวของประชากรอยู่ในระดับสูง แล้วอะไรทำให้เวเนฯมาอยู่ในจุดที่ต้องแบกเงินสามกิโลเพื่อไปแลกไข่ไก่ครึ่งแผง วันนี้ดบสท.จะมาเม้าแจกแจงให้ฟังเป็นลำดับไปดังนี้
15
1. ด้วยความเริ่ส ในช่วงที่ราคาน้ำมันยังเปรี้ยงปัง ประเทศมีการนำเข้าสินค้ามากกว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือส่งออก ทั้งสินค้าเกษตร โภคภัณฑ์ การแพทย์ ภาคการผลิตในประเทศถูกลดความสำคัญ ก็รวยอะแม่ ซื้อกินสิ จะปลูกทำไมเสียเวลา อุตสาหกรรมต่างๆขาดการแข่งขันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเนื่องจากรัฐบาลออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลกิจการอย่างหนักตามสไตล์สังคมนิยม ทำให้การลงทุนจากต่างชาติและการแข่งขันอย่างเสรีไม่ได้รับการสนับสนุน รัฐบาลใช้จ่ายเงินที่ได้จากการขายน้ำมันไปกับสวัสดิการสังคมอย่างมหาศาล เพื่อต่อสู้ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ โดยมีความตั้งใจเพื่อพัฒนาประเทศและเหตุผลทางประชานิยม..ซึ่งตรงนี้ก็ต้องชม เพราะประชาชนเวเนฯเข้าถึงระบบสาธารณสุขถึง 60% และเวเนฯยังเป็นประเทศที่สองในละตินอเมริกาที่มีคนไร้บ้านน้อยที่สุด👏👏
35
2. เวเนฯพึ่งพาการส่งออกน้ำมันมากเกินไป โดยคิดเป็นสัดส่วน96%ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ในปี2014 เกิดวิกฤตน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบตกต่ำที่สุดในประวัติการ ทำให้เศรษฐกิจเวเนฯหดตัวลงถึง 30%ระหว่างปี 2013-1017 เนื่องจากการส่งออกที่ต่ำลง รายได้ของรัฐก็ลดลงตามราคาน้ำมันดิบโลก ประกอบกับบริษัทน้ำมัน(ที่ถูกทำให้เป็นของชาติทั้งหมดตั้งแต่ปี2007) หรือ PDVSA มีชื่อเสียงด้านคอรัปชันมายาวนาน ทวงคืนพลังงานกันจนภายในเน่าหนอน จนไม่น่าเชื่อว่าเวเนฯผู้มีน้ำมันสำรองอันดับ 1 จะต้องนำเข้าน้ำมันดิบในวันนี้
23
มูลค่าส่งออกดิ่งตามราคาน้ำมัน
3. เมื่อราคาน้ำมันโลกตกต่ำ เวเนฯต้องขายตามราคาตลาด รายได้กลับเข้าประเทศก็เลยลดลง สะท้อนไปยังความต้องการของเงินสกุลBolivar ของเวเนฯที่ลดลงตามไปด้วย ทำให้ค่าเงินโบลิวาร์อ่อนลงหนัก การจะนำเข้าสินค้าเหมือนเคยๆต้องใช้เงินโบลิวาร์มากขึ้นเรื่อยๆเพื่อคงรสนิยมของนอกที่มีมานานสมัยยังเริ่สๆ😂😂
7
4. เมื่อประเทศเริ่มเกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณ ปธน. นิโคลัส มาดูโร่ ที่มาสืบทอดตำแหน่งต่อจากปธน.ชาเวซ ในปี2013 เลยต้องพิมพ์เงินออกมา เพื่ออุดการขาดดุลส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตามปริมาณเงินส่วนเกินในระบบ
10
5. ทีนี้เมื่อมูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นๆ และสัญญาณเงินเฟ้อเริ่มก่อตัวแรง รัฐจึงเข้าไปควบคุมราคาให้ถูกๆ ร้านค้าก็งงสิแม่ รับมาแพงขึ้นแต่รัฐกดราคาขายไว้ เอ้างั้นก็ไม่ขายละกัน เอาของออกจากชั้นวางจนเกลี้ยง สินค้าก็เริ่มขาดแคลน บีบให้คนเล่นของเลยขายแพงๆ เงินเฟ้อก็แย่ขึ้นอีก😅😅
5
ร้านปิดหรอคะย่า..ป่าวลูกเค้าไม่รู้จะขายเท่าไหร่ดีเลยเอาของออกก่อน
6.รัฐบาลเริ่มรู้ว่าโบลิวาร์ถูกขายออกอย่างหนักจากการสูญเสียความเชื่อมัน เลยเข้าควบคุมกลไกการแลกเปลี่ยนสกุลเงินโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่และควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมเสถียรภาพของโบลิวาร์ เช่นการระงับธุรกรรมการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ทำให้เกิดตลาดมืดที่รับแลกดอลล่าร์ขึ้นทุกหัวระแหง กลายเป็นว่าดอลล่าร์ที่แพงอยู่แล้ว ตลาดมืดรับแลกเปลี่ยนเพื่อทำกำไรในราคาสูงเหมือนสินค้าลิมิเต็ดไปอีก นักค้าเงินตลาดมืดก็เดินข้ามพรมแดนไปโคลอมเบียไปกดเงินจะได้ออกมาเป็นดอลล่าร์ในเรทที่ทางการใช้ ข้ามกลับมาขายในเรทตลาดมืดฟันส่วนต่างแบบง่ายๆ ทำให้แทนที่จะควบคุมมูลค่ากลับทำให้โบลิวาร์มูลค่าลดลงไปอีก บริษัทที่มาลงทุนและคู่ค้าจากต่างประเทศถึงกับเบ้ปากรัวๆ โบกมือลาค้าขายบ่ได้แล้วแม่
12
ไป7-11ใช้ถุงผ้าไม่ได้แล้ว ต้องใช้รถบรรทุก
7. ไม่ใช่แค่เงินดอลล่าร์จากเพื่อนบ้าน อาหารก็ต้องไปซื้อเพื่อนบ้านมาขายต่อกัน ดันให้ดัชนีราคาสูงสุดๆ เมื่อข้าวยากหมากแพง ประชาชนเริ่มย้ายถิ่นฐานออกจากประเทศโดยที่รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายกีดกันใดๆ ทำให้สถานการณ์เงินเฟ้อแย่ขึ้นไปอีก เพราะเมื่อรัฐได้เพิ่มปริมาณเงินในระบบจากการพิมพ์เงินแต่ประชากรลดลงเรื่อยๆทำให้ความต้องการเงินโบลิวาร์น้อยลงไปอีกหรืออ่อนค่าตามกลไกพื้นฐาน
7
ตรวจคนไข้มา200คนแล้วยังไม่ได้ค่าข้าวกะเพราเลย ย้ายประเทศสิคะ..รออะไร//พญ.ท่านหนึ่งไม่ได้กล่าว
8. เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น รัฐต้องเพิ่มระดับค่าแรงให้กับประชาชน ซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าสูงขึ้นอีกเป็นloopนรกแตก ที่เราเรียกว่า Wage-price Spiral เพราะค่าจ้างสูงทำให้ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ผลผลิตก็มีต้นทุนสูงขึ้น ในที่สุดทุนสำรองที่ใช้ปกป้องค่าเงินก็หมดลงตามด้วยประกาศลอยตัวค่าเงินเมื่อต้นปี 2018
ปีที่แล้วเวเนฯก็พยายามอย่างหนักที่จะทำให้ประเทศกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งตอนนี้อยู่ในสถานการณ์ขาดแคลนธนบัตร ใช่ค่ะฟังไม่ผิดที่เกลื่อนๆนั่นยังไม่พอใช้เพราะจะซื้ออะไรทีต้องใช้เยอะมากๆ รัฐบาลต้องออกเงินสกุลใหม่ออกใช้ในชื่อใหม่ว่า  bolívar soberano (แปลว่า Strong Bolivar) เพื่อแทนที่สกุลเก่าในอัตรา 1:100,000 หรือพูดง่ายๆคือเค้าตัด0 ออก5ตัวในระบบธนบัตร หรือคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 0.23ดอลล่าร์สหรัฐฯ บ้างก็มีการใช้ดอลล่าร์แทนสกุลเงินหลัก แต่ยังไม่ถึงกับใช้แทน100%
12
รวยแล้วแม่
อะไรทำให้เวเนฯเดินมาสู่จุดนี้ ดบสท.ขอสรุปรวมปัจจัยภายในและภายนอกว่าเป็นเพราะ
1. การพึ่งพาการส่งออกน้ำมันในระดับสูงมาก
2. ทุนสำรองของประเทศหมด
3. ความเป็นสังคมนิยม
4. กู้เงินจากต่างประเทศไม่ได้
5. การแทรกแซงที่มากเกินไปของรัฐบาลต่อราคา สินค้า ธุรกิจ การเคลื่อนย้ายเงินทุน
6. สัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ เช่นการอพยพย้ายถิ่นฐาน การซื้อขายในตลาดมืด
6
วิกฤตค่าเงินเวเนฯจะเกิดที่ไทยได้หรือไม่? ณ ตอนนี้เรามีปัญหาหลายอย่างที่รัฐบาลต้องจัดการแก้ปัญหา ซึ่งเงินเฟ้อโดยการกำกับดูแลของแบงค์ชาติ ดูไม่ใช่สิ่งที่กังวลนัก ปัจจุบันเงินเฟ้อเราอยู่ในระดับต่ำมาก เรียกว่าต่ำจากการที่เราไม่โต ทุนสำรองภายในประเทศอยู่ในลำดับสูงเมื่อเทียบกับ GDP หนี้ที่อยู่ในสกุลเงินต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ และด้วยปัจจัยหลายๆอย่างข้างต้นดบสท.ไม่กังวลว่าเราจะเป็นเวเนฯ2ได้ แต่กลัวเราจะเป็นไทย1จากวิกฤตที่เราไม่รู้ตัวมากกว่า และอย่างเดียวที่ดบสท.อยากจะเหมือนเวเนฯคือนางงามจักรวาลเท่านั้นคร่าาา ขอบคุณค่าา
18
โฆษณา