20 ธ.ค. 2020 เวลา 04:28 • ข่าว
การเรียนรู้การกระจายวัคซีนโควิด-19 สู่การป้องกันของแต่ละประเทศ
อาศัยหลักการตามความเสี่ยง หรือบริหารตามความเหลื่อมล้ำ
ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารวางแผนให้ประชากรได้รับวัคซีน มีแนวคิดใดบ้าง
1.กลุ่มที่เสี่ยงที่สุดต่อการเสียชีวิต ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีภูมิคุ้ม กันของร่างกายไม่ดีเพียงพอ ถ้าได้รับเชื้อโรคโควิดโดยตรงอาจเสียชีวิตในเวลา อันรวดเร็ว การป้องกันการเสียชีวิตด้วยการให้ฉีดวัคซีนก่อนกลุ่มอื่นๆ น่าจะเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง
#ผู้สูงอายุ หลายประเทศแบ่งช่วงอายุของผู้สูงอายุไม่เท่ากัน (ใกล้เคียง)
เช่น อินโดนีเซีย แบ่งช่วงวัยหนุ่มสาว ที่จะได้รับวัคซีนก่อนกลุ่มอื่น อยู่ในช่วงอายุ 18-59 ปีและจัดให้เป็นกลุ่มที่จะได้รับวัคซีนก่อนกลุ่มอื่นๆ โดยมีแนวคิดตามคำจำกัดความ ว่า ช่วงอายุของคนกลุ่มนี้คือกลุ่มที่ถูกทดสอบวัคซีนในช่วงทำการทดลอง อีกทั้งเป็นกลุ่มที่ผลตอบสนองต่อการฉีดช่วงทดลองวัคซีนดี จึงสมควรอนุญาตให้ฉีดก่อนเพราะน่าจะปลอดภัย รวมถึงประชากรส่วนใหญ่ของประเทศก็คือประชากรกลุ่มนี้
และประธานาธิบดีโจโค ยังตอบอีกว่าเขายินดีที่จะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน(แต่ไม่ระบุว่าจะฉีดวัคซีนที่ผลิตจากประเทศใด จีน อังกฤษ อเมริกา เพราะรัฐบาลสั่งจองจากหลายประเทศ😋😅)
1
2.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ คืออีกกลุ่มที่มีความสำคัญ เดิมกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ควรได้รับวัคซีนก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ป่วยและเป็นกำลังหลักในการช่วยเหลือผู้ป่วยอื่นได้ ตามหลักการช่วยชีวิต เราที่แข็งแรงจะต้องฝ่าวิกฤตช่วยผู้อ่อนแอ เหมือนการให้ออกซิเจนบนเครื่องบิน เราต้องสวมออกซิเจนให้ตัวเองพร้อมก่อนไปช่วยผู้ที่ลำบาก เพราะถ้าพะวงจะไปช่วยคนอื่น แต่ทำไม่สำเร็จ คือตายหมด กลุ่มนี้เป็นพวกที่ต้องสัมผัสโดยตรงกับเชื้อโรค การมีภูมิคุ้มกันระยะยาวย่อมสร้างโอกาสที่จะให้การช่วยเหลือประชาชนได้ และไม่กลัวตายซะเอง (ตามหลักการ แม้ยังไม่ได้รับวัคซีนก็น่าจะมีการป้องกันที่ดีกว่าประชาชนจึงน่าจะมีการปนเปื้อนติดเชื้อในคนกลุ่มนี้น้อยกว่า แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ กับเหตุการณ์พยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในASQ)
การเตรียมบุคคลากรให้พร้อมคือกลยุทธ์ที่ใช้เป็นตัวหลักในการบริหารวัคซีนในเบื้องต้นของหลายๆประเทศ ประเทศเราที่ผ่านมาก็ใช้หลักการนี้
แต่เนื่องจากคุณสมบัติอันร้ายแรงของเชื้อโรคใหม่ องค์ความรู้ยังไม่เพียงพอ และวัคซีนที่เกิดขึ้นอาจมีเวลาในการทดสอบยังไม่ครบถ้วนปลอดภัย หรือมีความมั่นใจว่าจะปลอดภัยสูงสุด
ติดเชื้อกระจายวัคซีนบางประเทศกำลังมาไทยรอก่อนนะ
เจ้าหน้าที่ของรัสเซียหลายกลุ่มก็ออกมาคัดค้าน ปฏิเสธไม่ขอรับวัคซีนก่อน(ทั้งที่ควร) มีเกี่ยงให้ท่านปูตินออกมาฉีดสร้างขวัญกำลังใจก่อน
แต่ข่าวเดิมๆว่าท่านปูตินและบุตรสาวได้เข้ารับการฉีดวัคซีนในช่วงที่วัคซีนได้รับการอนุมัติไป แล้วก็เลยสับสนว่าความจริงคืออะไร วัคซีน
จากรัสเซียเชื่อถือได้จริงหรือ คนรัสเซียพื้นที่ยังออกมาเกี่ยงแล้วเราละ
รวมถึงวัคซีนจากจีน ก็มีข่าวประชาชนออกมาคัดค้านไม่ต้องการจะฉีดเพราะขาดความเชื่อมั่น ทั้งที่รัฐบาลก็ประกาศความสำเร็จกันโครมๆ
ขอบคุณภาพจากคลินิกการลงทุน
กับภาพของคนที่ผ่านการฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการหน้าบิดเบี้ยว
จากอาการ Bell's palsy ไปตามๆกัน มันดูน่าสยดสยองไม่เบา
ถ้าวัคซีนคือความหวังสุดท้ายที่จะไขว่คว้า กับคำถามว่า โควิด-19
เป็นโรคที่รักษาหาย เราควรจะฝากความหวังกับอะไรดี
1.รอวัคซีนอย่างอดทน ระหว่างที่รอก็ดูแลตัวเองยกการ์ดสูง (ปฏิบัติตัวในการป้องกันขั้นสูงสุด)
2. ถ้าพบอาการป่วยที่บ่งชัด หรือสงสัยว่าอาจป่วยจากโควิดขึ้นมาก็รีบรักษา และป้องกันไม่ให้ตัวเองแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นๆ เพราะโรคนี้รักษาหาย ท่องไว้ อย่าตระหนกให้เกินไป 😥😱🤮
3.มีคำถาม เกิดขึ้นกับบางคน ถ้าเป็นโรครักษาหาย แล้วทำไมต้องไปกลัวอะไรนักหนา กังวลจนไม่เป็นอันทำมาหากิน อดข้าวนะที่ตาย จะมาล็อคดาวน์ที่นั่นที่นี่ คนจะคลุ้มคลั่งบ้าตายเพราะครอบครัวจะอดตาย🤔
อธิบายได้ว่า
1.เพราะเมื่อติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการในช่วงแรกแต่สามารถเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่คนอื่นที่ร่างกายอ่อนแอกว่า และคนเหล่านั้นอาจป่วยเพราะไม่สามารถด้านทานต่อเชื้อโรคได้ดีเท่าหลายคน ก็คือผู้สูงอายุ หรือคนที่มีโรคประจำตัวรวมถึงกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
เป็นที่มาของการถกเถียงในหลายประเทศ ว่าจะใช้วัคซีนกับกลุ่มอายุน้อย แต่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือกลายเป็นพาหะ เพราะหวังผล
จากการเกิด Herd Immunity เพราะกลุ่มนี้มีร่างกายแข็งแรงถึงพบภาวะแทรกซ้อนก็อาจหาย(ขนาดสัมผัสเชื้อโดยตรงยังไม่ตายกับวัคซีนน่าจะปลอดภัย=ความเชื่อ กำลังอยู่ในกระบวนการศึกษา)
ก็คงต้องติดตาม และสร้างขวัญกำลังใจให้ตัวเอง และสร้างแนวป้องกันให้กับตัวเอง ครอบครัว คนที่ต้องสัมผัส ในระดับสูงสุด ยืดเวลาในการป้องกันไม่ให้ตัวเองติดเชื้อให้นานที่สุด
Mask (แมส) ที่มีระดับความปลอดภัย ตั้งแต่ต่ำสุดถึงสูงสุด อันนี้อธิบายได้ว่า หน้ากากผ้า แล้วไล่ถึง หน้ากาก N95 ตามระดับความรุนแรงที่จะต้องเผชิญในชีวิต
แอลกอฮอล์ล ต้องมีพร้อมใช้ เช็ดถู ตั้งแต่มือสัมผัสไปจนถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน อาชีพอะไรก็พกพาทำความสะอาด เขาไม่ติดก็จะปลอดภันต่อเราด้วย ท่องไว้ ทั้งเจลล้างมือ รวมถึงการล้างมือนานๆ 20 วินาที(อย่าประมาท) ล้างบ่อยๆ แล้วหาโลชั่นมาทาเสริมถ้ามือหรือผิวแตก เลือกเอา
สถานที่ไม่ให้ไป หรือสถานที่เสี่ยง จำเป็นต้องไปก็ไป ไม่จำเป็นก็อย่าไปจะเที่ยวไหนก็ไปแต่พยายามคิดก่อน หลีกเลียงฝูงชน คนรวมกันแออัด
คิดเองนะว่าความคุ้มค่าปลอดภัยอยู่ตรงไหน เราพร้อมเผชิญความเสี่ยงหรือไม่ที่จะป่วย หรือเสียคนในครอบครัว
ชอบกดไลค์แชร์ติดตาม🙏💗
ขอบคุณภาพจากBD
ลองหาบทความเก่าที่แนะนำการปฏิบัติเคยสร้างขึ้น
โฆษณา